macrobiotics จาก อิตาลี มาถึง ฝ่ายโภชนาการ หาดใหญ่


ช่วงเดือน กลาง พค  ถึงกลาง มิย 49  หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ รพ.หาดใหญ่   คุณสุดี  ทองตัน  ได้มีโอกาส ไปศึกษา  หลักการ และ การปรุงอาหาร แบบ macrobiotics

หลังจากนั้น ทีมงาน โภชนาการ ก็ได้จัดบริการอาหารผู้ป่วยเฉพาะโรค ในห้องพิเศษ  ด้วยแนวทาง UPM macrobiotics ซึ่งอนุรักษ์ แนวทางดั้งเดิม ของ ยอร์ซ โอซาว่า   และ มีหลายส่วนต่างจาก แนวทางของ Michio Kushi

เป็นอาหาร จากข้าวกล้อง โรยงา และ มีผัก และ มีปลา พอสมควร  เรา ใช้วัตถุดิบในประเทศ เป็นหลัก

 

ส่วนตัวผม  ก็เปลี่ยนแปลงการกินอาหาร  จากเดิม กินง่าย กินทุกอย่างเป็น กินให้ถูกหลัก กินให้พอดี  คือ กินธัญพืชมาก กินผักเป็นหลัก ทานเนื้อสัตว์น้อยลง 

ผมมีปัญหาปวดขา มากชนิดที่กินยาไม่ทุเลา   ผู้อาวุโส ด้าน macrobiotics  ใช้หลักการตรวจสุขภาพ แบบ Low tech แต่ประทับใจในความแม่นยำมาก  และบอกสาเหตุการเจ็บป่วย มาเกี่ยวข้องกับการบริโภคอะไร ไม่เหมาะสม  เช่น การทานอาหารหรือ สมุนไพร ที่มีรสขม  มากเกินไป  ซึ่งผู้รู้จริง อธิบายว่า รสขม กระตุ้น เส้นลมปราณตับและถุงน้ำดี  ทำให้เสนลมปราณตับ และถุงน้ำดีแกร่งเกิน คือ น่องขวาตึงเกร็งเป็นประจำ จนปวดเรื้อรัง ชนิดทานยาแก้ปวด นวด ขาก็ไม่ได้ผล

เรื่อง พลังร้อน พลังเย็น ใน อาหาร สมุนไพร และ รส  นับว่า ละเอียดอ่อน น่าสนใจ  แต่ละวัฒนธรรมตีความ รหัสภูมิปัญญา ไม่เหมือนกัน

ตัวอย่าง สมุนไพร ไทย รสขม จัดกลุ่มได้เป็น ขม อุ่น  ขมสุขุม และ ขมเย็น 

แต่ทาง macrobiotics จัดรสขม เป็น พลังหยาง

เรื่องนี้ต้องศึกษา ติดตามสังเกตุ  เพื่อหาว่า  เย็นต่ออะไร  ร้อนต่ออะไร  แล้วควรเลือกใช้อย่างไร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 40256เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมาก ๆ เลยครับ

น่าจะจัดเก็บและเผยแพร่ภูมิความรู้ไปใช้มาก ๆ เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท