ปรัชญาเปรียบเทียบค่ะเพื่อนๆ ๆ


ปรัชญาเปรียบเทียบ

ปรัชญาเปรียบเทียบ

Philosophy คือ Science Principles (ความรู้เรื่องหลัก)  เช่น หลักจิตศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ หลักวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาตะวันตกยังหาข้อยุติเรื่องหลักดังกล่าวไม่ได้ และด้วยเหตุนี้ Philosophy จึงเป็นเรื่องโลกียะ ไม่เกี่ยวกับโลกุตตระ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่ว่า โลกนี้คืออะไร? โลกนี้เพราะอะไร? โลกนี้เป็นอย่างไร ปรัชญา (ของตะวันออก) หมายถึง ความรู้อันประเสริฐอันได้แก่ ความรู้อันสุดท้ายซึ่งเมื่อบรรลุถึงแล้วความอยากจะรู้จะหมดไป เพราะไม่มีอะไรเหลือให้อยากรู้อีกต่อไป เป็นความรู้ที่ตัดความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด (อคถํกถี) ความรู้เกิดจากความอยากรู้ ความอยากรู้เกิดจากความไม่รู้ มีลักษณะทั่วไปต่างกันคือ ปรัชญาตะวันตก  เป็นการค้นคว้าหาทางที่จะพ้นไปจากความสงสัย ปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้ภายหลังที่พ้นความสงสัยได้แล้ว

ปรัชญาตะวันตก  เป็นการประติดประต่อความคิดของนักคิดหลายคนเข้าด้วยกัน โดยที่ความจริงแล้วความคิดเหล่านั้นไม่น่าจะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเลย เพราะเป็นความคิดคนละฐานกัน ส่วนปรัชญาตะวันออกนั้น อาศัยความตรัสรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นฐานอันแน่นอนแล้วค่อยขยายตัวออกไปตามสติปัญญาของปรัชญาเมธีนั้น ๆ ในกาลต่อ ๆ มา ในขั้นนี้เรียกว่า มีพฤติการณ์ต่างกัน

Philosophy คือความสงสัย เพราะเรายังสงสัยหาคำตอบไม่ได้ จึงพยายามค้นหาหลักฐานเพื่อให้คำตอบแก่สิ่งที่เราสงสัยนั้น Philosophy จึงเกิดจากความสงสัย มูลรากของปรัชญา คือความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้นคือปรัชญาตะวันออก เกิดจากกาตรัสรู้ของผู้เป็นต้นลัทธิ

การพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัยนั่นเอง คือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันตก การอธิบายความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้น ตามหลักเหตุผลนั้นคือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันออก

ในทางตะวันออก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน ในทางตะวันตก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยหรือความแปลกใจ

ปรัชญาตะวันตก มุ่งสมัชชาภาพแล้วจึงกลับมาปัจเจกภาพ มีวิถีเป็นปฏิโลม ปรัชญาตะวันออก มุ่งปัจเจกภาพแล้วจึงขยายไปสู่สมัชชาภาพ มีวิถีเป็นอนุโลม

การศึกษาปรัชญาตะวันตก  ยังผลให้รู้พฤติการณ์ของธรรมชาติ ยังไม่รู้ถึงตัวธรรมชาติ การศึกษาปรัชญาตะวันออก เป็นการศึกษาถึงแดนเกิดของตัวบุคคล พฤติการณ์ของบุคคลที่ดำเนินอยู่ และอวสานอันบุคคลจะพึงบรรลุในวาระสุดท้าย เท่ากับเป็นการเรียนรู้ชีวิตของเราเองแต่เบื้องต้นจนอวสาน (สวามี)

หมายเลขบันทึก: 397179เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คอบคุณค่ะที่มีมาให้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท