เทคนิคการauditสนามบินทั่วไป


เสี่ยง ไม่ใช่กล้าหรือขลาด แต่เป็นเรื่องฉลาด หรือโง่

 

(1) การตรวจสิ่งกีดขวางที่มีผลต่อมุมร่อนอากาศยานและมุมร่อน PAPI

การควบคุมสิ่งกีดขวางของสนามบิน สนามบินไม่มีเจ้าหน้าที่ช่างสำรวจ ที่สามารถใช้งานกล้องสำรวจ เพื่อคอยตรวจตรา สิ่งปลูกสร้างในเขตปลอดภัยการเดินอากาศรวมทั้งหัวสนามบิน ที่มักจะมีต้นไม้ สายไฟ เสาไฟ เสาอากาศวิทยุ หรือสิ่งแลูกสร้างที่สร้างสูงเกินข้อกำหนด รวมทั้งอุปกรณ์สำรวจ มีราคาสูงไม่สามารถจัดซื้อให้กับสนามบินแต่ละแห่งได้ครบถ้วน ปัญหาดังกล่าว อาจแก้ได้โดยใช้เครื่องตรวจวัดมุมแบบ กล้องปริซึมมือถือ ราคาประมาณ 1,000 กว่าบาท หรือกล้องเรเซอร์ทำหน้าที่วัดระยะทาง และมุมก้มมุมเงย และนำค่าต่างๆมาประมวลผลในตัวเองอัตโนมัติ จนได้ค่าความสูง ซึ่งราคาประมาณ 45,000 บาท ถูกกว่ากล้องซึ่งมีราคาหลักแสนบาท ซึ่งสามารถวัดมุมเงยของวัตถุได้ แต่อาจจะไม่ละเอียดเท่ากล้องราหลักแสนหลักล้าน ซึ่งก็จะช่วยให้สนามบินสามารถควบคุมสิ่งปลูกสร้างได้เอง ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อสนามบินและการปฏิบัติการร่อนลงสู่ทางวิ่ง


  อีกวิธีคือการทำเสาโพลขึ้นเป็นจุดเล็ง อย่างน้อย 2 จุดได้แก่ในแนว Inner Horizontal Surface Left / Right สองจุดเสาใกล้และเสาไกล เพื่อเล็งแนว Divergent การที่เสาสูงต่างกัน สามารถใช้เป็นจุดเล็งเหมือนศูนย์เล็งของปืน ทำให้ทราบมุมเงย และถ้าเราปรับตั้งให้มุมเป็นมุมเงยมาตรฐานของหัวทางวิ่งนั้น ก็จะสามารถช่วยให้สนามบินตรวจสอบหาค่ามุมเงยของวัตถุ และเมื่อหามุมเงยได้  หาความสูงที่เกินได้  สนามบินก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้แบบยั่งยืน แต่จะต้องคำนึงถึงเรื่องค่าระดับผิวพื้นที่ต่างกัน และการทรุดตัวของผิวพื้นในบริเวณที่เราตั้งเสาต่อไป

อีวิธีที่ง่ายและได้ผลชัดเจนคือ การที่เราทราบว่ามุมร่อนหรือมุมเงยของสิ่งปลูกสร้างถาวรที่หัวสนามบิน เช่น เสาอากาศทวนสัญานมือถืออยู่ว่า เสาต้นนี้มีความสูงเท่ากับมุมปกป้องสิ่งกีดขวาง ประมาณ 2องศา (กรณีขออนุญาตใหม่ ไม่เกิน 1.6 องศา) ซึ่งไม่เกินเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ เราก็ใช้วัตถุนี้อ้างอิงได้ คือเมื่อตรวจเห็นว่ามีต้นไม้ หรือสิ่งที่กำลังก่อสร้าง มีแนวโน้มว่าจะสูงเกิน ก่อสร้างเกินเสาทวนสัญญานมือถือต้นนี้ ก็สามารถจะตรวจสอบแจ้งเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อที่จะสายเกินแก้ได้ ถ้าจะให้ชัดเจนขึ้นเรานำรูปถ่ายซึ่งถ่ายออกจากหัวทางวิ่ง แสดงให้เห็นแนวร่อนและสิ่งกีดขวาง โดยถ่ายจากซ้ายไปขวา ห้ามใช้การแพนจากจุดกึ่งกลาง แต่จะเดินถ่ายรูปจากข้างทางวิ่งแต่ละด้าน ยาวตลอดในทิศทางขวางกับทางวิ่ง แล้วใช้โปรแกรมพาโนรามาต่อภาพให้ได้แนวระดับ แล้วกำหนดเส้นควบคุมความสูง ที่เป็นมุมเงย 1.6 องศาเอาไว้สังเกตุวัตถุที่เกินแนวมุมเงยของเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ และกำหนดอีกเส้นหนึ่งมุมเงย 1.93 หรือ 2 องศา ไว้สังเกตุว่าวัตถุใดเกินมุมเงยปกติ 3 องศาของ PAPI ซึ่งทำให้ตั้งมุมร่อนที่ 3 องศาไม่ได้ หรือถ้าตั้งได้ต้องออกประกาศนักบินแจ้งเตือน และใส่รายละเอียดของวัตถุนั้นในข้อกำกัดของผลการบินทดสอบ ว่าวัตถุอยู่ห่างจากหัวทางวิ่งเป็นระยะเท่าไร อยู่ห่างจากแนวกึ่งกลางทางวิ่งด้านไหนเป็นระยะด้านข้างเท่าไร แบบนี้จะต้องทำการตรวจโดยใช้กล้องสำรวจในครั้งแรก หรือขอข้อมูลจากหน่วยงานที่ปฏิบัติการบินทดสอบ แล้วนำมาใส่ในรูปไว้ เพื่อให้สนามบินใช้ตรวจสอบก่อนที่จะถึงวงรอบการบินทดสอบ เห็นจะทำได้ไม่ยากนักครับ

(3) การตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ควรมี Contegency Plan หรือแผนสำรองเมื่อไฟฟ้าสำรองใช้ไม่ได้


พบบ่อยครั้งว่าสนามบินไม่ได้ออกแบบให้มี Isolation Switch ต่อร่วมระบบไฟฟ้าหลัก ที่จ่ายให้ระบบไฟฟ้าสนามบินอยู่ จึงต้องตัดไฟหลักโดยการดึง Drop Fuse ที่เสาซึ่งเคยพบว่า เมื่อทดสอบแล้วเสร็จไม่สามารถกลับไปใช้ระบบไฟฟ้าเดิมได้เพราะเกิดข้อผิดพลาดทำให้ไม่สามารถใส่ Drop Fuse กลับไปได้ แสดงว่าสนามบินยังขาดการบำรุงรักษาฉุกเฉิน โดยขาดการทดสอบตัดไฟหลัก ให้เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าทำงานอัตโนมัติ  แล้วจับเวลาของการที่ไฟสนามบินกลับมาติดใหม่ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรฐานของทางวิ่งที่ให้บริการแบบหนึ่งแบบใดอยู่ ตอนหลังก็เกิดการพัฒนาระบบใหม่เพื่อให้สามารถตัดไฟได้สะดวก


 บ่อยครั้งพบว่าเมื่อทดสอบตัดไฟหลักแล้ว ต่อมาเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสำรองทำงานได้แรงดันไฟฟ้าที่ต้องการแล้ว จะสั่งให้ Switch สลับไปอีกทิศทางเพื่อรับการจ่ายไฟจากเครื่องยนต์หรือไดนาโม ปรากฎว่าขณะ Switch กำลังทำงานหมุนโดยอัตโนมัติไปต่อไฟสำรองนั้น เกิดการอาร์คภายในสวิทช์จนเกิดความร้อนสูงไหม้เสียหาย ทำให้ไม่สามารถสับโยกเปลี่ยนมาใช้ไฟหลักเหมือนเดิม ทำให้ขณะนั้นไม่มีทั้งไฟหลักและไฟจากเครื่องยนต์จ่ายให้ระบบได้ ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ ครั้งนั้นใช้เวลาแก้ไขนานนับชั่วโมง


 จึงถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อน คือภายหลังเราจะขอทดสอบระบบการจ่ายไฟสำรองหลังเที่ยวบินสุดท้ายบวกเวลาที่ต้องสแตนบายรอเครื่องลำนั้น กลับมาลงฉุกเฉิน เพื่อความมั่นใจในความเสถียรในการให้บริการต่อไป

หมายเลขบันทึก: 394677เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2014 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถึงแม้ว่าบางเรื่องยากที่จะเข้าใจหากไม่ได้มีความรู้ในด้านนั้นโดยเฉพาะ แต่อย่างน้อยก็คงได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ดีกว่าไม่รู้อะไรเรย ขอบคุณมากคะ

อ่านแล้วช่วยคอมเม้นหน่อยนะครับ จะได้นำไปพัฒนาเรื่องการจัดการความรู้ครับ

ถึง เพื่อนๆชุมนุมออนไลน์ GoToKnow ทุกท่านที่ได้รับความรู้ไป

ถ้าไปทดลองทำที่ไหนแล้วดี แล้วWorkหรือมีข้อเสนอแนะเสริมความรู้กัน

ยินดีนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ที่นี่นะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท