ครูกุ้งเต้น
นาย นายณัฐทวุฒิ กุ้ง ธรรมชัยภูมิ

โครงงานศิลปะ


โครงงานศิลปะ

บทที่ 1

บทนำ

ชื่อโครงงาน

แจกันประดิษฐ์รักษ์โลก

 

สาระสำคัญ

 

   ขวดเปล่าน้ำอัดลม  หรือ  ขวดน้ำพลาสติกประเภทต่าง ๆ ที่มีรูปแบบสวยงาม  สะดุดตา  สามารถนำมา ประดิษฐ์  ดัดแปลง  ตกแต่งให้สวยงาม  และมีประโยชน์  ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ได้เอง  นอกจากนี้ ยังเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้  กลับมาประดิษฐ์  ตกแต่ง ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิ ทักษะการทำงานประดิษฐ์  ฝึกความสามัคคี การทำงานเป็นกลุ่ม ที่สำคัญยังเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ประดิษฐ์เป็นงานศิลปะ  เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

 

ขวดน้ำอัดลม หรือ ขวดน้ำพลาสติกที่นักเรียนดื่มหมดแล้ว   นำมาขายให้กับธนาคารวัสดุเหลือใช้ของโรงเรียน   มีเป็นจำนวนมาก  วิธีหนึ่งที่เราจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้  ก็คือ   การนำเอากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง  โดยทำเป็นงานประดิษฐ์  ที่มีลักษณะแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร เน้นให้ผู้เรียนเล็งเห็นคุณค่าของเศษวัสดุและเห็นคุณค่าจากของจริง   แล้วผู้เรียนนำมาคิดเพื่อวางแผน  ออกแบบ  จัดเตรียม  วัสดุ  – อุปกรณ์   จนถึงขั้นปฏิบัติงาน   ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน   ฝึกสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง   พร้อมทั้งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   จากการปฏิบัติกิจกรรม   ที่ตนเองและเพื่อน ๆ สนใจ และร่วมงานวางแผนไว้

    

    2

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงงาน

 

1.  เพื่อให้นักเรียนสามารถ  วางแผน  และ  ออกแบบ การประดิษฐ์แจกันจากขวด  น้ำอัดลม หรือ ขวด น้ำพลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้

2.  เพื่อให้นักเรียน สามารถบอกขั้นตอน การประดิษฐ์แจกันที่ทำจากขวดพลาสติก

3.  เพื่อให้นักเรียนสามารถ นำเศษวัสดุเหลือใช้   มาประดิษฐ์  ดัดแลง  ให้มีรูปแบบ

     ที่สวยงาม  แปลกตา  และเกิดประโยชน์

4.  เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

5.   เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้งานศิลปะ ที่แปลกใหม่   มีความสนใจ  และ เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตน

6.   เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยการนำของที่ไม่ได้ใช้แล้ว  นำกลับมาใช้ใหม่

 

สมมติฐาน

                     ขวดน้ำอัดลม   หรือ ขวดน้ำพลาสติก  ที่ดื่มหมดแล้ว  สามารถนำมาประดิษฐ์  ดัดแปลง  ตกแต่งให้เกิดประโยชน์ และสวยงาม

 

ขอบเขตการศึกษาโครงงาน

-         ลักษณะของขวดน้ำอัดลม หรือ ขวดน้ำพลาสติกที่มีรูปทรงที่แปลกใหม่สะดุดตา

-         ชนิดของปูนปลาสเตอร์ที่นำมาใช้ในงานประดิษฐ์

-       อัตราส่วนของน้ำที่ใช้ในการผสมปูนปลาสเตอร์ และเวลาในการแข็งตัวของปูน

 

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

 

        3 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้องและแนวทางการศึกษาค้นคว้า

แผนระยะที่ 1  เริ่มต้นโครงงาน

 

1. ขวดเปล่าน้ำอัดลม  หรือ  ขวดน้ำพลาสติก   ที่นักเรียนนำมาจำหน่ายให้กับ

      ธนาคารวัสดุเหลือใช้ ของโรงเรียน  ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก   เราน่าจะนำมาประดิษฐ์   ดัดแปลง  และตกแต่งให้เกิดประโยชน์ได้

2.   วิเคราะห์    กำหนด  เรื่องที่จะทำโครงงาน  โดยจัดทำเป็นโครงงานประดิษฐ์    ในรูปแบบของแจกัน  และ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ จากการประดิษฐ์ชิ้นงานที่ทำขึ้น

3.   วางแผนในการจัดเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์  ในการดำเนินกิจกรรมโครงงาน  แจกันประดิษฐ์รักษ์โลก

แผนระยะที่ 2  พัฒนาโครงงาน

 

1.   นำวัสดุ-อุปกรณ์  มาลงมือปฏิบัติ  ประดิษฐ์  ดัดแปลง  ตกแต่งลวดลาย  แต้มแต่งสีสันตามความคิดสร้างสรรค์

2.   รายงานผลการดำเนินกิจกรรม  โดยรายงานถึงขั้นตอน   และกระบวนการในการดำเนินงานการประดิษฐ์แจกัน  ที่ทำจากขวดน้ำพลาสติก   และประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

แผนระยะที่ 3  รวบรวม  สรุป

 

1.   การแสดงผลงาน  บอกถึงประโยชน์  และความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงาน

2.   สรุปการดำเนินกิจกรรม  / ข้อเสนอแนะ  ปัญหา และอุปสรรคในการทำงาน  เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อ ๆ ไป

                                                                                                    

6

                                                     บทที่ 3

วัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

 

วัสดุ-อุปกรณ์

 

      

1.  ขวดน้ำอัดลม  หรือ  ขวดน้ำพลาสติกที่มีรูปทรงแปลกใหม่ สะดุดตา และไม่ได้ใช้แล้ว  นำกลับมาใช้ใหม่

2.  มีดคัตเตอร์  กรรไกร

3.  กระดาษกาวน้ำ  กาวลาเท็กซ์ ซิริโคน

4. ไดรเป่าผม  เทียนไข ไฟแช็ค

         5.  ปูนปลาสเตอร์  สีน้ำพลาสติก สีอะคลิริก  สีโปสเตอร์ พู่กัน จานสี

         6.  อื่น ๆ  เช่น น้ำ  เศษผ้า  กระดาษ  สเปรย์เคลือบเงา  และ  วัสดุ

             ที่นำมาการตกแต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                           

 

...แจกันประดิษฐ์รักษ์โลก

 

 

1.  ขวดน้ำอัดลม หรือ ขวดน้ำพลาสติกมีค่า กินหมดแล้วอย่าทิ้ง  เอามาลอกฉลาก                              ออกให้หมด  เราจะได้ขวดพลาสติกใส ๆ

2. ใช้มีดคัตเตอร์  หรือ  กรรไกร  ตัดส่วนปากขวดออก  เก็บส่วนล่างไว้ใช้ใน   ขั้นตอน ต่อไป

3.  ใช้กระดาษกาวน้ำพันรอบก้นขวด  (อย่าให้มีรอยรั่ว )

4.  เตรียมฐานรองพื้น และ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานให้พร้อม

5.  ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำ  เทลงบนก้นขวด และฐานรองพื้นที่เตรียมไว้  ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ( น้ำ 1 ส่วน / ปูน 1 ½ ส่วน )  หรือผสมทีละหลาย ๆ  ขวด  เพื่อความสะดวก  รวดเร็ว  แล้วทิ้งไว้จนปูนแห้ง

5.  แกะกระดาษกาวน้ำออก แต่งขอบปูนให้เรียบ  ทาทับด้วยสีน้ำพลาสติกสีขาว หรือ  สีดำ  ทิ้งไว้ให้แห้ง

6.  ละเลงศิลป์...ตามความคิดสร้างสรรค์   หรือรูปแบบที่เตรียมไว้   แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอีกรอบ

7.  ตกแต่งให้สวยงาม  เคลือบด้วย  แลคเกอร์  หรือพ่นทับด้วยสเปรย์เคลือบเงา  เพื่อเพิ่มความคงทน สวยงาม  และอยู่ได้นาน ...

 

 

 

 

 

16

 

บทที่ 4

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

 

 

1.  ได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัด  และความสนใจของตนเอง

2.  ได้รับการฝึกทักษะ  และความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ ๆ

3.  ได้รู้จักการนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว  มาประดิษฐ์  ดัดแปลง  ตกแต่ง  ให้เกิด

       ประโยชน์ สวยงาม แปลกตา  และยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

 

 

 

บทที่ 5

สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

 

1.  ขวดเปล่าน้ำอัดลม หรือน้ำพลาสติกที่มีรูปทรงแปลกใหม่ สะดุดตา  สามารถนำมาประดิษฐ์ได้เลย โดยไม่ต้องแต่งเติม หรือ ดัดแปลง

2.  ปูนปลาสเตอร์  นิยมใช้แบบเย็น  คือ มีลักษณะที่แข็งตัวช้า  แต่จะมีความคงทน และแข็งแรงทนทานกว่าปูนร้อน   ปูนร้อนจะแข็งตัวเร็ว  แต่จะมีความเปราะง่าย    (  ปูนร้อนจะมีขายตามท้องตลาดทั่วไป   แต่   ปูนเย็นจะมีจำหน่ายเฉพาะที่   เช่น  บ้านด่านเกวียน  จังหวัดนครราชสีมา )

 

 

 

 

17

บรรณานุกรม

 

 

                                                                             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4

 

ก๊าซ  ตัวการที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

 

1.  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

    ถ้าก๊าซนี้ถูกปล่อยสู่อากาศ จะเกิดการเผาไหม้น้ำมันยานพาหนะ และอุตสาหกรรมต่าง  ๆ  ซึ่งเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

2.  ก๊าซมีเทน

     เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสภาพที่ปลอดออกซิเจน เช่น การเน่าเปื่อยของซากพืช ซากสัตว์ในบริเวณที่มีน้ำขังอยู่

3.  ก๊าซคลอโรฟลูออไรคาร์บอนส์

    นอกจากก๊าซซีเอฟซี  จะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ก๊าซที่ปกป้องโลกแล้ว เราใช้ก๊าซชนิดนี้ได้อีกหลายรูปแบบ เช่น สารทำความสะอาด เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น  ยาฆ่าแมลง  และกระบวนการผลิตโฟม

4. ก๊าซโอโซนระดับพื้นผิวโลก

     ก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสูง จะช่วยปกป้องโลกจากพิษภัยของรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์

5. ก๊าซไนตรัสออกไซด์

    กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดสารนี้มากขึ้นจนเป็นอันตราย  เช่น  การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม  การเผาผลาญเชื้อเพลิงประเภทถ่าน และถ่านหิน

 

 

 

 

 

 

 

 

5

 

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

 

 

อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น    เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกปิดกั้นความร้อนจากแสงอาทิตย์ ไม่ให้สะท้อนกลับออกไปจากบริเวณผิวโลก  จึงทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และกิจกรรมการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ติดทะเล

สภาวะอากาศรุนแรง     สภาวะอากาศจะแปรปรวน และรุนแรงมากขึ้น   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ  อันจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

 

 

ข้อพึงปฏิบัติเพื่อช่วยให้โลกหายร้อน

 

1. ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง

2. ใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน

3. ลดการตัดไม้ ทำลายป่า และส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทดแทน

4. เลือกการเดินทางที่เหมาะสม

5. ลดการใช้สารซีเอฟซี

6. ลดการใช้ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยไนโตรเจน

7. ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานที่ได้จากธรรมชาติ

8. ลดปริมาณก๊าซมีเทน

9.วัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว และย่อยสลายยาก เช่น ขวดพลาสติก นำกลับมาทำเป็นงานประดิษฐ์ ที่มีรูปแบบสวยงาม แปลกตา และใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โคร
หมายเลขบันทึก: 393919เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท