วิกฤตน้ำสะอาด: ปัญหาที่ต้องใส่ใจทั่วโลก


World Water Crisis

โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาด (Clean Drinking Water) เราจะช่วยกันได้ยังไงบ้างคะ ???

เพื่อนๆที่ติดตามข่าวบ้านการเมืองอยู่เสมอ..จะสังเกตว่า ทำไมช่วงนี้โลกวิกฤตจังเลย??? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมาตั้งแต่ต้นปี ตัวอย่างเดือนกรกฎาคมที่น้ำท่วมใหญ่ในแคว้นซินเจียงและยูนานในประเทศจีน ทำให้ 24 จังหวัด(จาก 34 จังหวัด) ของจีนถูกน้ำท่วมหนัก คนตายไป 701 คนถือว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์น้ำท่วมในจีนและคน 8 ล้านคนต้องอพยพออกจากพื้นที่  

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานก็เกิดฝนตกหนักชั่วข้ามคืน ส่งผลให้เกือบ 5 พันหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ คนตายและบาดเจ็บสองพันคน ประชาชนอีกกว่าห้าแสนคนต้องอพยพออกจากพื้นที่ ไม่มีเงิน ไม่มีอาหารและน้ำสะอาด เพราะระดับน้ำยังไม่ลดลงแต่ไหลลงสู่ภาคใต้ของประเทศแทน  นอกจากนี้ ยังมีน้ำท่วมหนักในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา น้ำท่วมหนักในแคว้นวิคตอเรียของออสเตรเลีย ดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนักในกัวเตมาลา และน้ำท่วมในเม็กซิโก  ส่วนประเทศไทยของเราก็มีปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด พืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์เสียหายอย่างหนัก



The image “http://worldpresses.files.wordpress.com/2009/09/drinkingpollutedwater2.jpg?w=400&h=331” cannot be displayed, because it contains errors.

บางท่านอาจคิดว่า ฝนตกน้ำท่วมนี่แปลว่าก็มีน้ำมากอยู่ ก็น่าจะดีแล้วนี่ แล้วจะมาห่วงว่าไม่มีน้ำใช้ได้ยังไง?  แต่ลองนึกดีๆค่ะ ว่าน้ำที่ท่วมขังคือน้ำสกปรกมีเชื้อโรคจากห้องส้วมและจากสิ่งสกปรกต่างๆรอบตัว  น้ำนี้ไม่สามารถนำมาใช้กินใช้ดื่มได้ เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ เกิดโรคที่มาจากฉี่สัตว์ (ที่เรียกว่าโรคฉี่หนู) โรคตาแดง น้ำกัดเท้า ไข้เลือดออก ฯลฯ

หากเกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในกรุงเทพฯและปริมณฑล น้ำสะอาดที่ต้องใช้ดื่มกิน หุงต้มทำอาหาร ต้องขาดแคลน วิกฤตกันสุดๆ แน่นอน แล้วเราจะต้องทำอย่างไรกันดีหละเนี่ย?

 

สถิติที่น่าสนใจ

1.1 billion people live without clean drinking water

2.6 billion people lack adequate sanitation (2002, UNICEF/WHO JMP 2004)
1.8 million people die every year from diarrhoeal diseases.
3 900 children die every day from water borne diseases (WHO 2004)
 

Daily per capita use of water in residential areas:

- 350 litres in North America and Japan

- 200 litres in Europe

- 10-20 litres in sub-Saharan Africa

 

Over 260 river basins are shared by two or more countries mostly without adequate legal or institutional arrangements.

 

Quantity of water needed to produce 1 kg of:

- wheat: 1 000 L

- rice: 1 400 L

- beef: 13 000 L

(D.Zimmer,and D.Renault, 2003)

reference: http://www.worldwatercouncil.org/index.php?id=25

คำสำคัญ (Tags): #world water crisis
หมายเลขบันทึก: 391799เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิกฤตน้ำสะอาด

สหประชาชาติประเมินว่า ผู้คนทั่วโลก 1.1 พันล้านคนทั่วโลกขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านคนในปี 2568 โดยมีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ

ความจริงที่ลืมไปประการหนึ่งคือ ก๊อกน้ำแทบทุกแห่งในสหรัฐฯ สะอาด ปลอดภัย และเป็นสิ่งมหัศจรรย์เล็กๆ ของหลายสิ่งบนโลกใบนี้ น้ำก๊อกถูกบดบังจากน้ำในขวดพลาสติก ที่โหมซื้อกันประหนึ่งเตรียมกักตุนเวลาไปทะเลทราย

ชาวอเมริกันดื่มน้ำขวดมากกว่า 8.25 พันล้านแกลลอน หรือมากกว่า 31 พันล้านลิตร ซึ่งเป็นตัวเลขเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 9.5% จากเมื่อปีก่อน ชาวอเมริกันยังเป็นกลุ่มชนที่ซื้อน้ำขวดมากกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำอัดลม และโซดา โดยยอดขายน้ำขวดปีที่แล้ว 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งที่มีน้ำก๊อกฟรีให้กิน ซึ่งนักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม ประจำคณะกรรมการป้องกันทรัพยากรแห่งชาติสหรัฐฯ คนหนึ่งให้ความเห็นว่า กินน้ำขวดสะอาด ปลอดภัย เป็นเรื่องของการตลาดล้วนๆ

ตัวเลขการเติบโตอย่างเป็นปรากฎการณ์ของตลาดน้ำดื่ม ไม่ใช่เรื่องการดูดเงินจากกระเป๋า แต่เป็นเรื่องจริงจังที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขวดน้ำดื่มใช้น้ำมันในกระบวนการผลิตขวด และใช้น้ำมันขนส่งน้ำllllจากแหล่งน้ำไปยังผู้บริโภค ซึ่งแน่นอนว่า ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุสำคัญของโลกร้อน คณะกรรมการป้องกันทรัพยากรแห่งชาติสหรัฐฯ ประเมินว่า การผลิตขวดน้ำดื่มในแต่ละปีปล่อยก๊าซคาร์บอน 4 พันตัน ค่าเท่ากับก๊าซคาร์บอนจากรถยนต์ 700 คัน โดยมีประเทศฟิจิ ฝรั่งเศส และอิตาลี เป็นผู้ผลิตน้ำรายใหญ่ส่งให้สหรัฐฯ

นั่นคือมลภาวะทางอากาศ ขณะที่ขยะจากขวดน้ำพลาสติก มีเพียงเสี้ยวหนึ่งของกองขวดน้ำพลาสติกขนาดมหึมาที่นำไปรีไซเคิล โดยอีกอย่างน้อย 900 ล้านกิโลกรัม ถูกทิ้งขว้าง ด้วยความเข้าใจว่า น้ำก๊อกไม่สะอาดพอที่จะดื่ม การพัฒนาระบบน้ำสาธารณะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องลงทุน โดยเฉพาะในภาวะที่ภัยแล้งจากวิกฤตโลกร้อนกำลังคุกคาม “คนรุ่นใหม่ ต้องคิดถึงน้ำแบบนอกขวด” นั่นคือสิ่งที่องค์กรรณรงค์ไม่ดื่มน้ำขวดคาดหวัง

ประเด็นน่าวิตกของน้ำขวดทำลายสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้รัฐบาลท้องถิ่นซานฟรานซิสโก ออกกฎห้ามเจ้าหน้าที่ใช้เงินงบประมาณซื้อน้ำขวดดื่ม ขณะที่นิวยอร์กทุ่มเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รณรงค์ให้ชาวนิวยอร์กหันกลับไปดื่มน้ำก๊อก ซอลท์เลคซิตี้เรียกร้องไม่ให้ใช้น้ำขวดในงานที่ทางการจัดขึ้น ภัตตาคารของสายการบินชั้นนำสองสามแห่งเริ่มเสิร์ฟน้ำก๊อก และอีกหลายแห่งไม่มีน้ำขวดขายในร้านอาหาร และอีกหลายแห่งเสิร์ฟน้ำก๊อกทั้งแบบธรรมดา และอัดแก๊ส เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเห็นตรงกันว่า จริงๆ แล้ว ต้นทุนขนส่งและหีบห่อที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น ไม่จำเป็น

ผู้ผลิตขวดน้ำพลาสติกกลับรู้สึกว่า กำลังถูกซุ่มโจมตี และไม่ยุติธรรมสำหรับการทำธุรกิจ ทั้งที่กุศโลบายหนึ่งของน้ำขวดคือให้คนกินแทนการติดโซดา สมาคมน้ำขวดนานาชาติอุทธรณ์ด้วยว่า ความจริงแล้ว น้ำขวดไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเป็นทางเลือกหากไม่มั่นใจว่าน้ำก๊อกสะอาดพอ แต่ทำให้ขวดน้ำดื่มเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างที่บริษัทไอซ์แลนดิก วอร์เตอร์ ทำแล้วด้วยการใช้พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ และพลังงานน้ำในกระบวนการผลิต โดยจะลดการใช้พลาสติกในขวดได้ถึง 40% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบที่แท้จริงในการลดต้นทุนสิ่งแวดล้อมของขวดน้ำดื่มพลาสติก เป็นความรับผิดชอบของผู้บริโภค เช่นเดียวกับการรณรงค์ไม่ขับรถ และไม่ใช้เครื่องปรับอากาศนั้นยากกว่าการไม่ดื่มน้ำจากขวดน้ำดื่มพลาสติก ซึ่งง่ายกว่ามาก เพียงแค่เปิดน้ำก๊อกดื่ม

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=253891

กรีนพีซเตือนสถานการณ์วิกฤตน้ำในไทย: ปัญหามลพิษทางน้ำและการขาดแคลนน้ำสะอาด

11 ตุลาคม 2550 Bangkok, ประเทศไทย —

กรีนพีซเตือนประเทศไทยกำลังก้าวสู่สถานการณ์วิกฤตน้ำหากขาดการนำมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำที่มีประสิทธิภาพมาใช้

ด้วยเหตุที่มลพิษทางน้ำเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นตัวการในการทำให้สถานการณ์ขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดในประเทศรุนแรงขึ้น การที่แหล่งน้ำจืดและน้ำใต้ดินเกิดการปนเปื้อนจากสารมลพิษจะทำให้ปริมาณของแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นลดลง ถึงแม้ว่าภาครัฐได้มีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันมลพิษทางน้ำ แต่แนวโน้มของสถานการณ์น้ำในประเทศกลับแย่ลง” พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

เพื่อเป็นการป้องกันการลดลงของแหล่งน้ำสะอาดในประเทศจากการปนเปื้อนสารมลพิษในน้ำ กรีนพีซได้เปิดตัวโครงการน้ำสะอาด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นให้มีการรักษาแหล่งน้ำในประเทศ พร้อมกับเปิดเผยรายงาน สถานการณ์น้ำในประเทศไทย ซึ่งสรุปผลสำรวจการปนเปื้อนของสารมลพิษในแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมบางแห่งของประเทศในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

รายงานฉบับนี้กล่าวถึงผลสำรวจล่าสุดที่พบว่าน้ำเสียที่ปล่อยจากนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองและนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานีมีการปนเปื้อนของโลหะหนักในปริมาณสูง เช่น นิกเกิล สังกะสี และสารประกอบประเภทคลอรีน เช่น ไดคลอโรมีเทน คลอโรฟอร์ม และไตรคลอโรอีเทน และสารเคมีที่มีผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อประเภทอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต ในจังหวัดลำพูนมีการตรวจสอบพบว่าแหล่งน้ำผิวดินซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานบำบัดน้ำเสียนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีการปนเปื้อนของสารประกอบอินทรีย์หลายชนิดรวมถึงอาคริเลสที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร และที่สำคัญ พบการปนเปื้อนของทองแดง แคดเมียมและสังกะสีค่อนข้างสูงในตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในชุมชนบริเวณดังกล่าว

ปริมาณของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานโดยทั่วไปและมากกว่าความเข้มข้นสูงสุดที่กำหนดไว้ของคุณภาพน้ำดื่มไทย “ในขณะที่การศึกษาของเรายังไม่สามารถที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่าสารมลพิษที่มีต้นกำเนิดจากแหล่งอุตสาหกรรมนั้นมีโอกาสปนเปื้อนไปในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคในทุกพื้นที่ แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงการคุกคามของมลพิษอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ การที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้นั้น ควรที่จะมีมาตรการที่นอกเหนือจากมาตรฐานควบคุมปริมาณสารพิษในน้ำทิ้ง เช่น ยกเลิกการใช้สารพิษอันตรายและส่งเสริมการผลิตที่สะอาด” พลาย ภิรมย์ กล่าวเพิ่มเติม

ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เคยทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งหลายครั้งในประเทศว่าการที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤตน้ำต้องรุนแรงไปมากกว่านี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดการกับปัญหาการปนเปื้อนของแหล่งน้ำจากมลพิษภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ กรีนพีซได้เสนอให้รัฐบาลบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมและเน้นให้ความสำคัญเร่งด่วนในเรื่องการผลิตที่สะอาด รวมทั้งผลักดันให้มีมาตรการป้องกันแหล่งน้ำใต้ดินของประเทศให้ปราศจากการปนเปื้อนของสารมลพิษเพื่อเป็นการปกป้องความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำในประเทศ

นอกจากนี้กรีนพีซยังร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จัดการประกวดภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมรณรงค์แรกของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดปัญหามลพิษทางน้ำและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ผ่านทางภาพถ่าย

ชี้ปัญหาน้ำเอเชียวิกฤติ 700ล.ไร้น้ำสะอาดดื่ม

รายงานชี้  ปัญหาแย่งชิงทรัพยากรน้ำในเอเชียจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น  จากสภาวะอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร

เอเชียโซไซตี   (Asia   Society) สถาบันเพื่อความร่วมมือระหว่างสหรัฐ และชาติในแถบเอเชีย-แปซิฟิก  รายงานสถานการณ์น้ำในเอเชียกำลังเข้าขั้นวิกฤติ   ประชากรมากถึง  700  ล้านคน  หรือทุกๆ  1  ใน  5  คน  ไม่มีน้ำสะอาดสำหรับบริโภค  นอกจากนี้  ประชากรมากถึงครึ่งทวีปยังไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐานได้  สาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร  การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของชุมชนเมือง  และการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก

 

 รายงานนี้ยังระบุถึงข้อพิพาทเรื่องน้ำระหว่างอินเดียและปากีสถาน  รวมถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในการจัดการทรัพยากรน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขง  ซึ่งไหลผ่านจีน  พม่า  ลาว  ไทย  กัมพูชา  และเวียดนาม  โดยรายงานชี้ว่า  เมื่อก่อนประเด็นน้ำมักนำมาซึ่งความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง  แต่ต่อไปวิกฤติการขาดแคลนน้ำและแรงกดดันจากปัญหาประชากรที่เพิ่มขึ้น จะรุนแรงอย่างไม่เคยมีก่อน  ดังนั้นจึงไม่ควรประเมินความเป็นไปได้เกี่ยวกับความขัดแย้ง ที่สามารถปะทุขึ้นได้จากทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่ำเกินไป   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่สภาพอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป

ปัจจุบันจำนวนประชากรในเอเชียมีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของโลก  แต่ประชากรกลับมีน้ำสะอาดบริโภคน้อยกว่าทวีปอื่นที่มีประชากรหนาแน่นไม่แพ้กัน  ทั้งนี้  คาดว่าในช่วง  10  ปีข้างหน้า  ประชากรเอเชียจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ  500  ล้านคน

นอกจากนี้  รายงานฉบับนี้ยังเสนอคำแนะนำ  10  ข้อ  สำหรับรัฐบาลประเทศเอเชีย  ในการใช้รับมือกับวิกฤตการณ์น้ำ โดยเน้นย้ำว่าปัญหาน้ำส่วนใหญ่ในเอเชีย เป็นผลมาจากการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีพอ   พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลและเอกชน ของแต่ละประเทศเพิ่มการลงทุนด้านสาธารณูปโภคและการจัดการน้ำ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น.

ที่มา: http://www.thaipost.net/news/180409/3343

เรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องน้ำสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ ถูกแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท