การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาการศึกษา


การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาการศึกษา
      การศึกษาในปัจจุบัน มุ่งเน้นประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานเพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนสอบได้ตามหลักสูตร แต่ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ  ไม่มีนิสัยรักการอ่าน  การใช้เทคโนโลยีไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
การนำ นวัตกรรม และเทคโนโลยี มาใช้แก้ปัญหาการศึกษา ควรประกอบด้วยปัจจัยหลายด้านรวมกัน คือ 1. บุคคล ได้แก่ ครู   นักเรียน และผู้ปกครอง
      2. การสร้างสื่อและเทคโนโลยี  
    
ครู
     1. ครูควรเป็นผู้พัฒนาตนเอง รักการเรียนรู้  สร้างสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของนักเรียน
     2. ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์   รักการอ่าน รักการเรียนรู้
     3. ใช้สื่อเทคโนโลยีในการพัฒนาการศึกษานอกระบบมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น
    4. อินเตอร์เนตจัดว่าเป็นแหล่งรวมความรู้ที่ใหญ่ที่สุด ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ครูควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับนักเรียน ใช้เวลากับเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง เข้าถึงข้อมูลด้านความรู้มากยิ่งขึ้น (ลดการเล่นเกม ความบันเทิง และแชทให้น้อยลง)
  
 ผู้ปกครองและนักเรียน
    1. ใช้เวลาในการอ่าน  สร้างสมาธิในการอ่านมากขึ้น
    2. แบ่งเวลาให้เหมาะสมในการศึกษา เล่นกีฬา ดนตรี มีงานอดิเรก และ ใช้เวลาเรื่องความบันเทิงน้อยลง
    3. ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมกับนักเรียนในการเลือกสื่อ หนังสือ และการใช้อินเตอร์เนตอย่างถูกวิธี
  
สื่อและเทคโนโลยี
    1. สื่อต่างๆ ที่เด็กสนใจ เช่น วารสารวัยรุ่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ และโทรทัศน์ ควรเน้นการศึกษาและสร้างรูปแบบให้น่าสนใจ ( Edutainment)
    2. ครูควรเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  มีความคิดสร้างสรรค์  กระตุ้นความอยากรู้           อยากเห็นให้นักเรียนสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าต่อจากการเรียนในชั้น
    3. ใช้สื่อเทคโนโลยีในการพัฒนาการศึกษานอกระบบมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 สรุป
           การนำ นวัตกรรม และเทคโนโลยี มาใช้แก้ปัญหาการศึกษาและพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์             ควรพัฒนาหลายๆ ด้านร่วมกัน  พัฒนาคุณภาพสังคม พัฒนาสื่อเทคโนโลยี พัฒนาระบบการจัดการศึกษา พัฒนาสื่อ และครูควรมุ่งเน้นนักเรียนให้รักการเรียนรู้  รักการอ่าน รู้จักคิด วิเคราะห์ ซื่อสัตย์ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม มีความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางสังคม พัฒนาตนเองด้านความรู้  คุณภาพชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขอย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 389754เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2010 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท