คณะครูและนักเรียน ไทยรัฐวิทยา 63 ไปทัศนศึกษา ณ พระธาตุเรณู และ พระธาตุพนม


คณะครูและนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓ (ชุมชนบ้านคำแดง) ได้จัดทัศนศึกษา ณ จังหวัดมุกดาหาร และ จังหวัดนครพนม เพื่อกราบไหว้พระธาตุเรณู และ พระธาตุพนม

ประวัติพระธาตุเรณู
จังหวัด นครพนม

 

          ประวัติพระธาตุเรณู พระธาตุเรณู ประดิษฐานอยู่ ณ วัดธาตุเรณู ตําบลเรณู อําเภอเรญูนคร จังหวัดนครพนม สร้างพ.ศ ๒๔๖o ฝ่ายสงฆ์มีท่านอาญาครูอินทร์ เจ้าอาวาส เเละท่านอาญาครูสงฆ์รองเจ้าอาวาสเป็นประธานฝ่ายฆราวาสมีขุนเรณูนิติกร กำนันตำบลเรณูขุนโพนทองธรรมราษฏร กำนันตำบลโพนทองเป็นหัวหน้า ได้ชักชวนชาวบ้านทั้ง 2 ตำบลแสนพันด้วยก่อสร้างพระธาตุขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน โดยจำรองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2483) ทุกอย่างแต่ขนาดเล็กกว่าเป็นทรงเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 8.33 เมตร เท่ากัน ทั้ง 4 ด้าน สูง 35 เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูน พระธาตุเรณูเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ พระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงินเพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินทองหน่องาของมีค่าเจ้าเมืองและประชาชนที่ศรัทธาบริจาค นายช่างผู้ทำการก่อสร้างชื่อ นายเม้า เป็นคนอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ทำการก่อสร้าง 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อด้วยอิฐหนาสองช่วงแผ่นอิฐเสร็จในปี พ.ศ.2561 ยังไม่ทันจะฉลองสมโภชพอถึงเดือน 6 ฝนตกหนักฟ้าผ่าลงที่พระธาตุหักพังทะลายจนหมดสิ้นเป็นที่เศร้าเสียใจกันทั่ว ครั้งที่ 2 ท่านพระครูทั้ง 2 ท่านและท่านขุนทั้ง 2 ที่ออกนามมาแล้วพร้อมด้วยราษฏร ทั้ง 2 ตำบลรวมทั้งชาวตำบลแสนพัน ได้ประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระธาตุขึ้นมาอีกครั้งให้ได้คราวนี้ก่ออิฐหนาให้ได้สี่ช่วงแผ่นอิฐทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อยทั้งรูปปั้นลวดลายต่างๆด้วยจึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ. 2463 เป็นปีแรก
ที่มา : กัณฑ์อเนก ขาวพิมพ์
http://www.plapak.net/forums/index.php?showtopic=547

อุโบสถจตุรมุขวัดธาตุเรณู

 

      อุโบสถจตุรมุขวัดธาตุเรณู เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ภายในกว้าง 7.20 เมตร ยาว 23 เมตร รอบนอกกว้าง 28 เมตร ยาว 41 เมตร สร้างด้วอิฐถือปูนเสริมเหล็กทั้งหลังมุงด้วยกระเบื้องแบบสุโขทัยช่อฟ้าใบระกาหน้าบรรณ์(จั่ว) คันทวยแท่นพระประธาน๙มประตูหน้าต่างติดลวดลายด้วยกระเบื้องเครือบดินเผาสูงจากพื้นดินถึงหลังคา 13.70 เมตร สูงจากพื้นภายในถึงเพดาน 6 เมตร ตัวอุโบสถประกอบด้วยเสา 44 ต้น ช่อฟ้า 12 ตัว ใบระกา 24 ตัว คันทวย 28 ตัว ลูกนิมิต 9 ลูก ใบเสมา 8 ใบ ประตูใหญ๋ 4 ช่อง หน้าต่าง 8 ช่อง หน้าบรรณ์(จั่ว) 4 หน้า หน้าต่าง 8 ซุ้ม แท่นพระประธาตุ 1 แท่น อาสนะสงฆ์ไม้สัก 10 ที่ ธรรมาสน์ บุสบกทองกลางโบสถ์ 1หลังระเบียงบันใด 8 ราว โต๊หมู่บูชาลายทองหมู่ 9 รวม 3 ชุด โคมไฟระย้า 3 ชุด หลอดไฟเพดาน 50 ดวง ดาวบนเพดาน 53 ดวง พัดลมติดตั้งข้างฝาผนัง 12 เครื่อง บานประตู 8 บาน หน้าต่าง 16 บาน เหล็กดัดสเตนเลสหน้าต่าง 8 ช่อง หน้าต่างกระจกผลัก 16 บาน แผ่นหิน แกรนิตปูพื้นภายในโบสถ์กำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้านและอื่นๆสิ้นค่าก่อสร้างไปแล้ว 10 ล้านกว่าบาท ด้วยทรัพย์ของผู้มีศรัทธาบริจาคถวายขณะนี้การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจะต้องก่อสร้าง
ต่อไปอีกจะให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2552 นี้กำหนด พิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ปิดทองในวันที่ 6-10 มีนาคม 2552 ตรงกับวันขึ้น 11-15 ค่ำเดือน 4
ที่มา : กัณฑ์อเนก ขาวพิมพ์
http://www.plapak.net/forums/index.php?showtopic=547

รูปบรรยากาศของคณะครูและนักเรียนที่ร่วมกันเวียนเทียนพร้อมกราบไหว้พระธาตุเรณู เพื่อเป็นศิริมงคลแก่คณะครูและนักเรียนทุกคน

 

ถ่ายภาพประกอบ : อภิชาต ธิมาชัย

ประวัติพระธาตุพนม
จังหวัด นครพนม


     “พระธาตุพนมเริ่มจากการก่ออิฐดิบ ก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม ยอดเป็นรูปฝาชีสูง 1 วา ภายในขุดลึกลง 2 ศอก ใช้ไม้คันธรส ชมพู นิโครธ ไม้รัง เผาอยู่ 3 วัน 3 คืน แล้วจึงนำหินหมากคอม ก้อนกรวดในแม่น้ำมาถมหลุม อัญเชิญพระอุรังคธาตุประดิษฐาน เมื่อ พ.ศ. 8”
     ประวัติพระธาตุพนมจากตำนานพระอุรังคธาตุ กล่าวถึงสมัยพุทธกาล พระพุทธองคืพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในบริเวณเมืองดอยนันทกังรี (หลวงพระบาง) ค้นแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทร์) ท่าแขก เมืองรุกขนคร (บ้านหลักศิลา ต.พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม) หนองหานหลวง (สกลนคร) และอุดรธานี
     พระองค์ได้ทรงทำนายถึงการเกิดเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นชุมชนที่ค้ำชูพระพุทธศาสนา เป็นที่สักการะของปวงชนสืบไปในภายภาคหน้า พระพุทธอง๕ได้ทรงทำนายถึงการกลับชาติมาเกิดของพญาศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธเจ้าไปรับบาตรในเมืองของตน เมื่อเสร็จแล้วก็ถือบาตรมาส่งพระพุทธเจ้าถึงดอย กัปปนคีรีหรือภูกำพร้า สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในขณะนั้น ด้วยอานิสงส์ผลบุญนี้เอง เมื่อพญาศรีโคตรบูร ได้กลับชาติมาเกิดในเมืองสาเกตนคร ที่อยู่ทางทิศใต้มีนามว่า “สุริยกุมาร” แล้วกลับชาติมาเกิดครั้งที่สองเป็นพญาสุมิตตธรรม เจ้าเมืองมรุกขนคร (นครที่อยู่ในป่าไม้รวก) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ฝักใฝ่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก
     ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น พระพุทธองค์ทรงทำนายต่อไปว่าจักย้ายไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่ของพญาปลา (ตรงที่พระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้เรียกว่า รอยพระบาทเวินปลาปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งตรงข้ามตัวเมืองนครพนม) แต่เมืองนั้นมิอาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน จักเป็นเมืองน้อยขึ้นต่อเมืองใหญ่ ที่เจ้าพญาผู้มีอาจบุญญาธิการเสวยราชสมบัติครอบครองนั้นแล
     พญาสมิตตธรรมเจ้าเมืองมรุกขนคร จะเป็นผู้มีโอกาสสถาปนาพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ณ ภูกำพร้าริมฝั่งแม่น้ำโขง อันจะเป็นผลบุญให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารไปได้
     พระพุทธองค์ได้เรียกพระมหากัสสปะ มาจากนครราชคฤห์มาสั่งเสียว่า เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้วให้นำพระอุรังคธาตุของพระองค์มาไว้เหนือภูกำพร้า ในขณะเดียวกันที่พุทธองค์เสด็จไปในที่ต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์ก็ทรงประทับรอยพระพุทธบาท ไว้เป็นสัญลักษณ์ของการสถาปนาพระพุทธศาสนา ที่พระบาทโพนฉัน พระบาทเวินปลา พระธาตุเชิงชุม และดอยนันทกังรีด้วย (บริเวณหนองคาย นครพนม สกลนคร และหลวงพระบาง)
     เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว ล่วงเข้าในปี พ.ศ. 8 พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุจากแคว้นกุสินารายณ์แห่งชมพูทวีปมาที่ดอนแท่น (อ.พรรณานิคม สกลนคร) เพื่อจะเดินทางต่อไปยังภูกำพร้าตามที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ขณะเดินทางพญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงกับพญาคำแดงเจ้าเมืองหนองหานน้อย พระญาติออกมาต้อนรับ
     พญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงใต้ ขอพระมหากัสสปะประดิษฐานพระอุรังคธาตุไว้ ณ องค์เจดีย์ที่ได้สร้างเตรียมไว้ล่วงหน้า คือพระธาตุภูเพ็กและพระธาตุนารยณ์เจงเวง (พระนางนารายณ์เจงเวงพระมเหสีสร้างไว้)  แต่เมื่อได้รับฟังเหตุผลด้วยเป็นการฝืนคำสั่งของพระพุทธเจ้าจากพระมหากัสสปะเถระเจ้าแล้วก็เชื่อฟังโดยดี และยังนำทางไปสู่ภูกำพร้าแคว้น ศรีโคตรบูร
     แต่อย่างไรก็ตามพระมหากัสสปะก็ได้ให้พระอังคารธาตุบรรจุไว้ ณ พระธาตุนาเวงหรือนารายณ์เจงเวงที่เมืองหนองหานหลวง ที่ในคราวพระพุทธเจ้ามาโปรด พญาสุวรรณภิงคารและพระมเหสีก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ให้รอยพระพุทธบาท มอบเพื่อมเหสีพระองค์ไว้ให้สักการบูชาพญาสุวรรณภิงคารได้สร้างพระเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาททั้งสี่ไว้เป็นที่สักการบูชา คือ พระธาตุเชิงชุม วัดธาตุศาสดาราม อ.เมือง จ.สกลนคร ปัจจุบันและยังได้พระอังคารธาตุไว้สักการบูชาอีก
     เมื่อพระมหากัสสปะมาถึงบริเวณภูกำพร้าแล้วพญานันทเสนเจ้าเมืองศรีโคตรบูร (เป็นเจ้าเมืองสืบต่อจากพระเจ้าศรีโคตรบูรผู้เป็นพระเชษฐา) ได้ให้การต้อนับเป็นอย่างดี ก็มีท้าวพญาจากแว่นแคว้นสำคัญ 5 แคว้น ในภูมิภาคนั้นมาขอร่วมบุญสร้างอูบมุงประดิษฐานพระอุรังคธาตุด้วย โดยก่อกำแพงองค์ละด้านในทิศที่แคว้นของตนตั้งอยู่ ดังนี้
     1.  พญาจุลณีพรหมทัติ ผู้ครองแคว้นบริเวณหลวงพระบางสิบสองจุไทย ก่อด้านทิศตะวันออก
     2.  พญาคำแดง ผู้ครองแคว้นหนองหานน้อย ก่อด้านทิศตะวันตก
     3.  พญานันทเสน ผู้ครองแคว้นโคตรบูร ก่อด้านทิศเหนือ
     4.  พญาอินทปัฐนคร ผู้ครองแคว้นเขมรโบราณ ก่อด้านทิศใต้
     พระมหากัสสปะได้ผู้นำการก่อสร้าง โดยใช้อิฐดิบขนาดเท่าฝ่ามือของท่านเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ท้าวพญาทั้งหลายจึงให้ขุนนางที่ตามเสด็จ จัดการปั้นอิฐดิบขนาดมาตรฐานขึ้น ก่อเป็นรูปตาสี่เหลี่ยม ก่อกำแพงอูบมุงกว้างด้านละ 2 วา สูงขึ้นมาด้านละ 1 วา ส่วนพญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงได้เป็นผู้ก่อยอดรูปฝาชีสูงขึ้นอีก 1 วา ส่วนในอูบมุงนั้น ขุดลึกลงไปอีก 2 ศอก เช่นกัน
     ข้างในอูบมุงเป็นโพรง มีประตูเปิดปิดทั้ง 4 ด้าน ผนังของ อูบมุงเปิดประตูไว้ทุกด้าน เมื่อก่อเสร็จเป็นสถูปแล้วจึงสามารถเอาไม้ฟืนพวกไม้คันธรส ชมพู นิโครธและไม้รังมาใส่ทุกประตู แล้วเผาอยู่เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน อูบมุงจึงสุกดี จึงนำหินหมากคอม ก้อนกรวดในแม่น้ำมาถมหลุม
     หลังจากนั้นท้าวพญาทั้ง 5 จึงได้บริจาคสิ่งของข้าวของเงินทองของมีค่าจำนวนมากบรรจุไว้ภายในอูบมุงเพื่อเป็นพุทธบูชา
     ต่อจากนั้นพระมหากัสสปะจึงอัญเชิญพระอังคธาตุประดิษฐานไว้ในอูบมุงปิดประตูไว้ทั้งสี่ด้าน ขณะนั้นเององค์พระธาตุก็คลี่ผ้ากัมพลที่ห่อหุ้มออก เสด็จมาประดิษฐานบนฝ่ามือของพระมหากัสสปะ เป็นนิมิตเตือนพระมหากัสสปะให้รู้ว่า พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้นำพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานหรือบรรจุไว้ ณ ภูกำพร้าเท่านั้น มิได้ตรัสสั่งให้สถาปนา เสด็จแล้วพระธาตุจึงกลับไปสู่ที่ประดิษฐานในอูบมุงตามเดิม
     เมื่อสร้างพระสถูปอูบมุงเสร็จแล้ว ท้าวพญาทั้ง 5 ได้ให้ข้าราชบริพารไปนำเอาหลักหินจากเมืองสำคัญ ๆ ที่เป็นเมืองพุทธประวัติจากอินเดียและลังกา (เมืองกุสินารายณ์ เมืองพาราณสี เมืองตักศิลา เมืองลังกา) นำมาปักไว้ที่มุมทั้งสี่ทิศ ทั้งยังสร้างรูปสัตว์อัจมูขี (สัตว์ประหลาด) ไว้ที่มุมทิศตะวันออก-ตกด้านเหนือ-ใต้ด้วย
     ส่วนพญาสุวรรณภิงคาร ให้สร้างรูปม้าอาชาไนยโดยให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าพระธาตุเสด็จมาทางทิศเหนือ และพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้
     ส่วนพระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่งตั้งคู่กันให้หันหน้าไปทางทิศเหนือเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า ต่อไปภายหน้าพญาศรีโคตรบูร (องค์ที่ถือบาตรให้พระพุทธเจ้าเมื่อกลับชาติมาเกิด) จะได้สถาปนาองค์พระธาตุ เพื่อสืบสานศาสนาต่อไปในอนาคต
     เมื่อพระมหากัสสปะ พระอรหันต์ และท้าวพญาทั้ง 5 เสด็จกลับไปแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวง ก็เสด็จลงมาฉลองพระธาตุเป็นการใหญ่ พระอินทร์ได้มอบหมายให้พระวิสสุกรรมเทวบุตรและพระธรรมกถิกเทวบุตร ลงมาสลักลายผนังอูบมุงทั้งสี่ด้าน โดยใช้มีดควักสลักลาย ด้ามแก้วมรกตยาว 9 วา ส่วนพระธรรมกถิกเทวบุตร ถือขวดแก้วน้ำทิพย์ลงมาด้วย
     เทพทั้งสองสลักผนังอูบมุงภายนอกตั้งแต่เวลาค่ำถึงเที่ยงคืน โดยเริ่มสลักจากผนังด้านทิศตะวันออกก่อน ก่อนสลักลายได้ใช้น้ำมันร่างลวดลายก่อน แล้วจึงสลักเป็นรูปและความหมายดังต่อไปนี้
     ด้านทิศตะวันออก สลักรูปพญา จุลณีพรหมทัติทรงช้างรูปราชบุตรทรงม้า
     ด้านทิศตะวันตก สลักรูปพญาคำแดงทรงช้าง รูปเสมาอำมาตย์ขี่ม้า รูปบริวารในหมู่ลายดอกมันทวลี
     ด้านทิศเหนือ สลักรูปพญานันทเสนทรงช้างพระอนุชาทรงม้า รูปบริวารในหมู่ลายดอกไม้
     ด้านทิศใต้ สลักรูปพญาสุวรรณภิงคารไว้ในผนังทุกด้าน ที่ผนังส่วนบน สลักรูปสีสุนันทเทวบุตร สีมหามายาเทวบุตรและวิสาขาเทวบุตร ผู้ซึ่งลงมาทำความสะอาดอูบมุงครั้งแรกก่อนการสลักมีส่วนร่วมในกระบวนการสลักเรียงรายไว้ทุกด้าน
     มีการสลักรูปของพญาสุวรรณภิงคารไว้ในผนังทุกด้าน ที่ผนังส่วนบน สลักรูปสีสุนันทเทวบุตร สีมหามายาเทวบุตรและวิสาขาเทวบุตร ผู้ซึ่งลงมาทำความสะอาดอูบมุงครั้งแรกก่อนการสลักมีส่วนร่วมในกระบวนการสลักเรียงรายไว้ทุกด้าน
     หลังจากนั้นได้สั่งให้พระวิสสุกรรมเทวบุตร สลักประวัติพระธาตุพนมไว้ในผนังห้องอูบมุงทั้งหมด และผนังด้านทิศตะวันออก ก็สลักรูปพระอินทร์ นางสุชาดา นางสุจิตรา นางสุนันทา นางสุธรรมา นางโรหิณี นางสาววัตติเกสี นางปติบุปผา นางคันธาลวดี เทพเหล่านั้นอยู่ในท่วงท่านำดอกไม้เสด็จมาบูชาองค์พระธาตุพนม
     ผนังภายในด้านเหนือ จะเป็นรูปบุคคลทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในการบรรจุพระอังคธาตุในครั้งนั้น คือ พญาทั้งหกเริ่มจากพญาศรีโคตรบรูมาจนถึงพญาทั้งห้ารวมทั้งรูปของนางศรีรัตนเทวีมเหสี ของพญาศรีโคตรบูรด้วย ข้างบนสลักเป็นรูปพระมหากัสสปะและรูปพระอรหันต์ทั้งห้า (แทพระอรหันต์ 500 องค์ สะพายบาตรพนมมือ)
     ผนังด้านใต้ จะเป็นรูปพระวิสสุกรรมเทวบุตร รูปพระธรรมกถิก เทวรูป รูปพระสีสุนันทเทวบุตรและรูปสีมหามายาเทวบุตรเทพผู้ร่วมสลักลายทั้งหมด ซึ่งอยู่ในท่วงท่าประนมหัตถ์สักการะองค์พระธาตุเช่นเดียวกัน
     ผนังด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปหมู่เทพและเทพธิดาที่เสด็จลงมาบูชาพระธาตุ รูปสุริยะ และจันทเทวบุตร รูปท้าวจตุโลกบาล รูปพระวิสสุกรรมเทวบุตรที่ลงมาที่ภูกำพร้า
     งานสลักภายในอูบมุงทั้งหมดสลักตั้งแต่ยามค่ำจนถึงเที่ยงคืนจึงเสร็จสมบูรณ์

ที่มา : http://www.moohin.com/pratat/pratat044c001.shtml

รูปบรรยากาศของคณะครูและนักเรียนที่ร่วมกันเวียนเทียนพร้อมกราบไหว้พระธาตุพนม เพื่อเป็นศิริมงคลแก่คณะครูและนักเรียนทุกคน

ถ่ายภาพประกอบ : อภิชาต ธิมาชัย

หมายเลขบันทึก: 389349เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (69)

ผมต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ที่ไม่ได้ถ่ายภาพ ที่ขาจะกลับไปเที่ยวตลาดอินโดจีน เพราะกล้องอยู่กับ ประธานนักเรียน

เรณูนคร ถิ่นนี้ช่างมีมนต์ขลัง ไหว้พระธาตุสำหรับคนเกิดวันจันทร์

ขอบคุณคุณครูโต้งมากมาย

            ขอบคุณคณะครูที่จัดกิจกรรมเพื่อเด็ก เสียดายโอกาสเด็กส่วนหนึ่งที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต สิ่งที่สังเกตพบ เด็กได้ประสบการณ์ใหม่ บางคนตื่นเต้นเมื่อเห็นภูเขา นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ตรงเวลา เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง เมื่อมีโอกาสได้ไปเรีบยนรู้ก็ยังนึกถึงคนที่บ้านซื้อของไปฝาก

พระธาตุพนม สังเกตดูครูคนหนึ่งเสียงทายยกหิน อธิฐานแล้วอธิฐานอีกยังยกไม่ขึ้น พยายามหลายครั้งจึงยกขึ้น คงอธิฐานขอให้ผ่านชำนาญการพิเศษกระมัง หรืออะไรน้า

ชมฝั่งโขง กินข้าเที่ยง ไก่ย่าง แจ่วบอง มองดูเรือสินค้า

ใครว่าเด็กไม่ชอบเสียงเพลง โยกกันมันสุด ก็ ผอ.เล่นเชียร์เขาเลยเอากันสุดมัน

เอาประวัติจังหวัดนครพนมมาฝากครับ

นครพนม พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เลนูผู้ไทย เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

นครพนมเป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบตามชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับเมืองท่าแขก ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ นับเป็นพระธาตุคู่เมืองนครพนม และเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและชาวลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตรกม. ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กม. นครพนม เป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งแต่แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และต่อมาก็ได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาตำนานแห่งประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชตีกรุงเวียงจันทน์ได้ ชื่อของดินแดนนี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มรุกขนคร" และต่อมาได้โปรดฯให้เป็น "นครพนม" เพื่อความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ การปกครอง จังหวัดนครพนมแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก อำเภอท่าอุเทน อำเภอเรณูนคร อำเภอบ้านแพง อำเภอปลาปาก อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอนาทม และกิ่งอำเภอวังยาง อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดงหลวง กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขง เป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ที่มา : http://202.28.94.55/web/322236/2551/project/g7/nakonpanom/Historynp.htm

นิศากร เหลาทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ไปเที่ยวครั้งนี้สนุกมากได้ความรู้มากมาย

ด.ญ ณิชกานต์ แซ่ปัง

สนุกมากค่ะครั้งหน้าขอมัธยมไปอีกนะค่ะท่านผ.อ ม.3ค่ะ

น.ส พรสุดา พรมเปี่ยม

เสียดายจังที่ไม่ได้ไปด้วย

เฮ้อ! เสียด้ายจังที่ไม่ได้ไปด้วย แต่ก็ดีใจที่ครูนำมาลงให้เราได้ดูพระธาตุที่สวยงามนี้ ถึงจะไม่ได้ไปแต่ก็ได้ดู ขอบคุณค่ะ บายนะค่ะ

ณัฐธิดา ชัยประเสริบ

เสียดายมากที่ไม่ได้ไป วันนั้นไม่ได้ไปด้วย

สุทธิดา ศรีสุโพธิื

เสียด้ายทจังที่ไม่ได้ไป พระธาตุสวยมาก น่าสนุกจัง ดูที่ภาพก็สวยแล้ว ขอบคุณค่ะที่ถ่ายภาพมาให้เราดู บายค่ะ

วีรพงษ์ จันทร์บูตร

ผมดีใจที่โรงเรียนได้ไปเที่ยวครับ

พรรณธิภา สุวรรณภักดี

เสียดายจังไม่ได้ไปเที่ยวกับน้องน้อง

ไปเที่ยวครั้งนี้กับเด็กๆสนุกมากนะครับ

และได้ประสบการณ์มากมายอีกด้วยครับ

ขอบคุณ นักเรียนชั้น ม. ๓ ที่แวะมาให้กำลังใจนะครับ รูปภาพมุมกล้องคงไม่สวยเท่าไหร่ (ประสบการณ์ถ่ายภาพยังน้อย)

ภาพเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดของนักเรียนเล็กน้อย

ปล. กรุณาตรวจสอบการพิมพ์ของนักเรียนก่อนเลือกบันทึกด้วยว่าพิมพ์ ขาด ตก บกพร่อง หรือไม่

อยากให้นักเรียนแสดงความรูสึกต่อการไปแหล่งเรียนรู้ นอกจากได้เที่ยวแล้วนักเรียนคิดว่า

๑. ได้ประโยชน์อะไรบ้าง

๒. ครั้งต่อไปอยากไปเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ใด

วรเชษฐ์ วงษ์ไกร ป.๖ ปีที่11

1 ได้รับความรู้เกียวกับวัฒนธรรมไทยแล้วได้ศึกษาแล้วได้ศึกษาด้านภาษาไทย

2 ผมอยากไปศึกษาที่ทะเล

ขวัญฤทัย สมทรัพย์ ป.6 11ปี

ไปเที่ยวครั้งนี้สนุกมากค่ะ ได้ดูพระธาตุที่สวยงาม

ได้ความรู้ในการเดินทาง

ได้ศึกษาวัฒนธรรมประเพณี

ปีหน้าหนูอยากจะไปสวนสัตว์เปิดค่ะ

ด.ญพรพิมล บุตรพรพม ป.6

ตอบ 1 ไปเที่ยวครั่งนี้สนุกมากได้ประโยชน์รายอย่างได้เหินพระธาตุพนมสูงและสวยมาก

2 ปีหน้าอยากไปเที่ยวทะเล

ผมดีใจมากครับที่ผมได้ไปเที่ยวทั้งนี่ และได้เห็นพระธาตุพนม และพระเรณูนคร

ยังได้ไปดูแม่น้ำโขง ที่มูกดาหาร

ปีหน้าผมอยากไปที่่แหล่งประวัติศาสตร์

ด.ช อภิราม นามนตรี ชั้นป.6 12ปี

1 ผมได้รับความรู้เกี่่ยวกับวัฒนธรรมของชาวอีสานเราเอง

2 ผมอยากที่สวนสัตว์

ด.ชรุ่งตะวัน มีแก้ว ป 6

1 ได้ความรู้และสนุก

2 ทะเล

ด.ช.ภูมินทร์ แพงศรี ป.6

ผมก็ดีใจครับผมปีหน้าก็หอยุกไปไห่มครับผม

ด.ช ธวัชชัย ธิมาชัย ป.6 อายุ 11 ปี

ผมได้รับความรู้และได้เห็น เรณูนคร นครพนม และ แม่นํ้าโขง

ครั้งหน้าผมอยากไปเทียวทะเล

ขวัญฤทัย สมทรัพย์ ป.6 11ปี

ถ้าหนูเป็นแก้วหนูจะเป็นแก้วที่ว่างเปล่า

จะพร้อมรับความรู้ที่ครูให้

จะพร้อมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ

จะไม่เห็นแก่ตัว จะเป็นเพื่อนที่ดี

จะเป็นศิษย์ที่ดีของครูค่ะ

รัฐศาสตร์ หวายฤทธิ์ ป.6

ตอบ 1. ไปเที่ยวครั้งนี้สนุกได้ความรู้

2.ปีหน้าไปทะเล

ศราวุธ อยู่พร้อม ป.6

1 ได้ความรู้วัฒนธรรม

2 ทเล

ด.ช.จิรัช เฉลิมชัย ป.6 อายุ 11 ปี

ผมได้เห็น เรณูนคร นครพนม

และ แม่น้ำโขง

ครั้งหน้าผมอยากไปเทียวทะเล

ชาคริต โคตสุวรรณ์ ป6

ผมมีความว่าปีหน้าผมอยากไปที่สวนสัตว์และการไปเทียวครั้งนี้ผมได้เห็นพระธาตุเรณู พระธาตุพระนมผมได้คาวมรู้และได้รับประสบการ

พรพิมล บุตรพรม ป6 11ปี

หนูอยากเป็นแก้วเปล่าเพราะพร้อมรับความรู้ตลอดเวลา

ผมว่าผมอยากให้น้ำครึ่งแก้วเพราะผมจึงจะได้มีสมองอย่าพอดีพองาม

ไปเที่ยวคั้งนี้สนุกมากค่ะ

ได้เห็น พระธาตุพนม ที่สวยมาก

ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยค่ะ

ปีหน้า อยาากไปเที่ยว ชะอำ

ด.ช.วรเชษฐ วงษ์ไกร ชั้น ป.๖ 11ปี

จากภาพแก้วน้ำแก้วนี้ผมอยากเป็นแก้วปล่าว

หรือเพื่อรอรับความรู้

ด.ช ธวัชชัย ธิมาชัย ป.6 อายุ 11 ปี

ผมอยากเป็นแก้วนํ้าป่าว

พระาท้าครูเทนํ้าผมก็เมื่ยครูทคาวมูรู้ไห้ผม

จากภาพแก้วนํ้าผมอยากเป็นแก้วเปล่า

เพือรอรับความรู้

ด.ช.ภูมินทร์ แพงศรี ป.6

ผมว่าแก้วนี้ก็อยากใหัน้ำก็ครับ

ชาคริต โคตสุวรรณ์ป6

ผมเห็นแก้วน้ำแล้วผมก็รู้สึกอยากเป็นแก้วน้ำปล่าวผมก็พร้อมที่จะเติมเต็มไปด้วยน้ำ

ด.ช. จิรัช เฉลิมชัย ป.6

ผมอยากเป็นแก้วน้ำเปล่า

เพราะถ้าครูเทน้ำผมก็เหมือนครูเทความรู้ไห้ผม

ถ้าหนูเป็นแก้ว หนูจะเป็นแก้วเปล่า

จะได้รับความรู้กับครูมากมาย

นิยดา แสนจันทร์ ป.5

ได้เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมต่าง

ปีต่อไปหนูอยากไปภูจ่อก้อ ผาน้ำย้อย

ด.ชธ๊รศดิ์ ไชยประเสริฐ ป.5

ไปเที่ยวที่ พระธาตุเรณู ไปเที่ยวที่นครพระนม และก็ไปเที่ยวที่ตลาดอินโดจีนและได้ดูแม่นํ้าโขงเห็นประเทศลาว เทอมหน้ายากไปภูกระดึง

ดยธิดารัตน์ ทองวัน ป5

เที่ยวสนุกมากและชอบที่สุดคือตลาดอินโดจีน

ด.ญ.ชวัลลักษณ์ คำทอง ป.5

หนูได้ไป นครพนม เรณูนคร แม่นํ้าโขง

และได้ไปตลาดอินโดจีน

หนูภูมิใจตลาดอินโดเพราะว่า

มีของซื้อมากมาย

ฝากพ่อแม่และได้เรียนรู้

ปีหน้าหนูอยากไป หาดบางแสน ค่ะ

และปีหน้าหนูจะไปอีกค่ะ

ธนวัฒน์ นามประกอบ ป.5

ผมได้เห็นแม่นํ้าโขง กับนครพนม

ปีหน้าผมจะไปที่ภูผาเทิบ

ด.ญชลดา ธิมาชัย ชั้น ป.5

ได้ความรู้มากมายและได้ดูสะพานไทยลาวและได้ไปยกหินและอธิษฐาน

ปีหน้าหนูอยากจะไปภูกระดึง

ดญธิดารัตน์ ทองวัน ป5

ปีหน้าอยากไปแผ่นดินลาว

ปีหน้า ผมอยากไปเที่ยวภูกระดึงมากครับเพราะที่นั้นเป็นบ้านย่าผมครับ

ผมดีใจที่ใดไปทัศนศึกษาในและผมอยากไปเที่ยวที่นี้อีก

เนติมา แสนจันทร์ ป.5

ได้ความรู้มากมายและได้วัฒนธรรมและได้เข้าสังคมกับคนอื่นๆ

สิ่งที่หนูอยากคือ ภูจ่อก้อ

ด.ญอนัญญา ธรรมแท้ ชั้น ป.5

สนุกมากได้เห็นสิ่งต่างๆและหนูก็ภูมิใจที่ได้ไปเรียนรู้ครั้งนี้

ปีหน้าหนูอยากจะไป ผาน้ำย้อย ภูจ่อก้อ ภูกระดึง

ธนพล ธิมาชัย ชั้นป.5

ผมได้ความรู้มากมายที่ได้ไป

พระธาตุพนมและพระธาตุเรณูแม่โขง

ตลาดอินโดจีนผมประทับใจมากครับ

ด.ช.ปณิธาน แสนจันทร์ ป.5 11ปี

ขอให้คุณครูพาไปเที่ยวอีกผมอยากไปเที่ยวแม่นํ้าโขน

ด.ญ.ชวัลลักษณ์ คำทอง ป.5

ถ้าหนูเป็นแก้วว่างเปล่า

จะได้รับความรู้จากครูให้

และจะพร้อมรับความคิดเห็นกับเพื่อน

และจะได้รับความรู้ตลอดเวลา

และจะเป็นศิลษ์ที่ดีของคุณครูตลอดไปค่ะ

ดีใจที่ได้มีความรู้กลับบ้านปีหน้าอยากไปเที่ยวเรือจักกรีนรึเบศที่พัทยาค่ะ

ด.ญ ธิดารัตน์ทองวัน ป5

ขอเป็นแก้วเปล่าค่ะ เพื่อให้คุณครูเติมเต็มความรู้จนเต็มแก้ว

ด.ญชลดา ธิมาชัย ชั้น ป.5

ครูเปรียบเสมือนน้ำ นักเรียนเปรียบเมือนแก้วน้ำที่ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวแต่เมื่อได้รับความรู้จากครูก็เหมือนแก้วที่กำลังมีน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย

ด.ช.ณัฐพงษ์ ชัยประเสริฐ ป.5

ผมดีใจมากที่ใด้ไปเทียวที่พธาตุเรณูและพธาตุพนม และตลาดอินโดจีน และลิมน้ำโขง ท้าผมได้ไปอีกผมก็จะไม่รึมอีก

นิยดา แสนจันทร์ ป.5

จากภาพถ้าเป็นแก้วปล่าว

เวลาถ้าน้ำเต็มอยู่เวลาคูรเทมันก็หล่นออกแก้วก็จะไม่ได้ความรู้จากคูร

ด.ญ ธิดารัตน์ทองวัน ป5

ขอเป็นแก้วเปล่าค่ะ เพื่อให้คุณครูเติมเต็มความรู้จนเต็มแก้ว

ผมเลือกแก้วนํ้าที่เต็มเพราะท้าเลือกแก้วปล่าวที่ไม่มีอะไรเลยเหมือนคนไม่มีสมอง

แก้วที่เต็มเหมือนคนมีสมองมากครับ

ด.ช.ธีรศัดิ์ ไชยประเสริฐ ป.5

ถ้าผมเป็นแก้วนํ้าผมจะเป็นแก้วนําที่ว่างปล่าว

ธนวัฒน์ นามประกอบ ป.5

ผมเห็นขวดนํ้ากับแก้วนํ้ามีความสำคัญกันตรงไหนท้าผนเหลือกแก้วปล่าว

ด.ญอนัญญา ธรรมแท้ ชั้น ป.5

หนูอยากให้ครูให้ความรู้ต่อหนู

ด.ช.วันชัย เจริญศิลป์

ผมได็ไปเรฌูนคร นครพนมมีความสนุกมากครับ

ปีหน้าผมอยากไปผานํ้าย้อย

ธิดารัตน์ ทวีศักดิ์ ป5 เลขที่16

หนูอยากให้คุณคูรไปที่่พระมนค่ะ

ด.ช.วันชัย เจริญศิลป์

ผมอยากเป้นแก้วว่างป่่าว

เพื่อให้ครูเติมเต็มคาวมรุ้ให้ผมครับ

ธนพล ธิมาชัย ชั้น ป.5

ผมจะทำแก้วนํ้าให้ดี

เนติมา แสนจันทร์ ป.5

ขอให้ครูเติมเต็มความรู้ให้หนู

ครูขอบขอบคุณนักเรียนชั้น ม. ๓ ป.๕ และ ป. ๖ ทุกคนที่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็นและที่สำคัญนักเรียนชั้น ป. ๕ และ ป. ๖ ที่ช่วยกันตอบคำถามของท่าน Ico32 ผอ.พรชัย อย่างสนุกสนาน  

มาชื่นชมครับ เห็นนักเรียน พนมมือเข้าวัดแล้วชื่นใจครับ

ขอเป็นกำลังใจ มีโอกาสคงมาเยือนครับ

เอาผลงานรูปวาดด้วยโปรแกรม paint ของคนเก่ง ไทยรัฐวิทยา ๖๓ มาฝากครับ
เป็นภาพวาดของ เด็กชาย อภิราม นามนตรี นักเรียนชั้น ป. 6 ภาพนี้พึ่งทำตอนพักเที่ยงวันนี้เอง (2 ก.ย. 53)

เจอกับตัวจริงเสียงจริงแน่นอนครับในการแข่งขันศิลปะหัตถกรรม ของกลุ่มโรงเรียนระดับเครือข่ายสอนแก้วว่องไววิทยา สพท.ยส.เขต 1 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท