ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

ตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ


ตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย

มีเพื่อน ๆ นักวิจัยและน้อง ๆ ครู กศน. ต้องการตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพในบทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย  วันนี้ (22 สิงหาคม 2553) เลยนำตัวอย่างที่ผมเคยทำวิจัยไว้มานำเสนอครับ เผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจบ้าง

บทที่  3

วิธีดำเนินการวิจัย

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ แผนชุมชน และศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยกรณีศึกษาเฉพาะบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.(Participatory..Action..Research.:.PAR)โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ การปลุกจิตสำนึกของประชาชนให้ตระหนักว่าประชาชนมีศักยภาพในการพัฒนาด้วยทุนทางสังคมของตนเองและสามารถการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในลักษณะพึ่งตนเองที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการของเวทีชาวบ้าน การประชุมแบบมีส่วนร่วมระหว่างแกนนำชุมชน ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าชุมชนสามารถค้นหาข้อมูลเพื่ออธิบายปัญหาและกำหนดความต้องการในการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชนได้   โดยผ่านการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามผลและการประเมินผล ผลลัพธ์ที่ได้นอกจากได้แผนงานที่ต้องการ แล้วยังทำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการวิจัยได้เรียนรู้กระบวนการ  ในการแก้ปัญหาและการพัฒนาซึ่งเป็นการศึกษาที่สำคัญอย่างยิ่ง.การวิจัยเชิงปฏิบัติการการมี       ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง.ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 

 ขั้นก่อนการดำเนินการวิจัย

                 ขั้นที่  1  การพัฒนากรอบความคิดการวิจัยการพัฒนากรอบความคิดการวิจัย เชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม

 โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากตำรา เอกสารและรายงานการวิจัย เช่น การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานของ ดร.กมล สุดประเสริฐ เอกสารประกอบการอบรม.(PAR)ของ.รศ.ดร.จรรยา เศรษฐบุตร เอกสารประกอบการอบรมเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของ.รศ.ดร.บุปผา.ศิริรัศมี.การวิจัยเรื่องรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในชุมชนบ่องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี ของ รศ.ดร.จรรยา เศรษฐบุตรและคณะ.รายงานผลการนิเทศเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในศูนย์  การเรียนชุมชน.กรณีศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนต้าผามอก.อำเภอลอง.จังหวัดแพร่ ของนางพรประไพ อุทะนุต และรายงานผลการวิจัยเรื่อง การนิเทศเชิงวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ วิธีเรียนทางไกลเหมาะสมกับศูนย์ชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น ของนายทวีป อภิสิทธิ์ ตลอดจนการได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดและประสบการณ์กับผู้มีประสบการณ์ที่เคยทำวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาแล้ว เช่น ดร.สมคะเน ค้ำจุน.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.ดร.วิรุฬห์ นิลโมจน์  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน นายประเสริฐ หอมดี ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์  พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนางสาวสำเนียง เพชรจอม ศึกษานิเทศก์ 9 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง พร้อมทั้งได้หารือ เรื่องกรอบแนวคิดการวิจัยกับผู้มีประสบการณ์การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและที่ปรึกษาดังกล่าวและนำกรอบแนวคิดไปใช้ในการวิจัยต่อไป 

 

 

                ขั้นที่ 2  การคัดเลือกชุมชน

                เนื่องจากบ้านหนองกลางดง เป็นหมู่บ้านหนึ่งของกิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความน่าสนใจในกระบวนการพัฒนาและการแก้ปัญหาชุมชนโดยการใช้กระบวนการของแผนชุมชนเป็นเครื่องมือการพัฒนาและแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน การคัดเลือกพื้นที่สำหรับการวิจัยครั้งนี้จึงคัดเลือกบ้านหนองกลางดงเป็นพื้นที่การวิจัย.โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้   

                1.  เป็นพื้นที่ก้าวหน้าในกระบวนการพัฒนาและการแก้ปัญหาชุมชน   

                2.  เป็นพื้นที่ที่เคยมีปัญหาด้านยาเสพติด  

                3.  เป็นพื้นที่ที่เคยมีปัญหาด้านลักขโมย  

                4.  เป็นพื้นที่ที่ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) แกนนำกลุ่มอาชีพ แกนนำกลุ่มการพัฒนา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่การศึกษานอกโรงเรียนยินดีให้   ความร่วมมือในการวิจัย  

                5.  มีแกนนำในพื้นที่ให้ความสนใจและต้องการเข้าร่วมกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน

                 ขั้นที่ 3  การเข้าถึงชุมชน  

                ผู้วิจัยได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน (นายโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์) แกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูการศึกษานอกโรงเรียนในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน ซึ่งผู้วิจัยเป็นคณะทำงานอยู่ในคณะทำงานประชารัฐจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมกับ นายโชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ซึ่งเป็นคณะทำงานและผู้ประสานงานการจัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่แล้ว ในการเข้าถึงชุมชนผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ในการศึกษาสภาพจริงของชุมชน การพบปะพูดคุยกับ แกนนำชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยและเกิดความไว้วางใจในตัวผู้วิจัย อีกทั้งให้เกิดการยอมรับ.ตลอดจน    มีการประเมินความตั้งใจจริงของแกนนำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องที่จะดำเนินการวิจัยร่วมกัน 

                 ขั้นที่  4  การคัดเลือกแกนนำชุมชน  

                การดำเนินการก่อนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้ทำการคัดเลือกแกนนำชุมชนเพื่อร่วมกระบวนการวิจัยและการดำเนินกิจกรรม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่การศึกษานอกโรงเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันคัดแกนนำชุมชน.โดยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกแกนนำชุมชนไว้ ดังนี้  

                1.  เป็นที่ยอมรับของชุมชน  

                2.  เต็มใจและสนใจเข้าร่วมกระบวนการวิจัย  

                3.  มีเวลาว่างเพียงพอ และสามารถร่วมกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้  

                4.  มีความรู้ในระดับอ่านออกเขียนได้  

                5.  มีที่ภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในบ้านหนองกลางดง  

                ผลการดำเนินการคัดเลือกแกนนำชุมชนตามเกณฑ์ดังกล่าวได้แกนนำชุมชนที่ร่วมกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง.จำนวนทั้งสิ้น 25 คน  

ขั้นการดำเนินการวิจัย  

ขั้นที่  1  ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการวิจัยร่วมกัน  

                เมื่อได้ดำเนินการคัดเลือกแกนนำชุมชนที่เข้าร่วมการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดงแล้ว ผู้วิจัยจึงได้ใช้แนวทางดังกล่าวมาจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ชุมชน โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนชุมชนที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชน นอกจากนั้น ผู้วิจัยร่วมกับผู้ช่วยนักวิจัย ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางการวิจัยร่วมกันโดยดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ    มี ส่วนร่วม กระบวนการจัดทำแผนชุมชน.รวมทั้ง กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับแก้ปัญหาของชุมชน.รูปแบบการให้ความรู้กับแกนนำชุมชนเป็นลักษณะของการทำความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการระดมความเห็นร่วมกัน การให้ความรู้กับแกนนำชุมชนดังกล่าว เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการและกิจกรรมของการวิจัย.รวมทั้ง การสร้างการยอมรับความไว้วางใจและความพร้อมในการให้ความร่วมมือ การชี้แจงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแกนนำชุมชน การสำรวจความสมัครใจและการร่วมมือกันแก้ปัญหาในการวิจัย และการดำเนินกิจกรรมในชุมชน  ผู้วิจัยผู้ช่วยนักวิจัย ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องจึงร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการวิจัยร่วมกัน โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ    การกำหนดบทบาท กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการทำความเข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานให้มีความชัดเจน

สำหรับ การให้ความรู้ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแก่ผู้ช่วยนักวิจัยและ     แกนนำชุมชนนั้น เพื่อให้เห็นภาพรวมของการวิจัย การสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าเป็นการวิจัยที่เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชุมชน.นั่นคือ.ปัญหาหนี้สินที่ต้องใช้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวต้องร่วมมือกัน ตั้งแต่การระดมความคิดในการมองปัญหาร่วมกัน การหารูปแบบของการแก้ปัญหา การหาทางเลือกในการตัดสินใจแก้ปัญหาและกระบวนการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาหนี้สินและปัญหาอื่นในชุมชนได้

 ขั้นที่  2  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง     

                การศึกษาข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง โดยเฉพาะการลงพื้นที่จัดเก็บรวมรวมข้อมูลชุมชนบ้าน    หนองกลางดง ผู้วิจัยและแกนนำชุมชนได้นำแนวความคิดจากการไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่ ณ บ้านคีรีวงค์ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช.และชุมชนบ้านไม้เรียง ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชน โดยนำแนวทางและกิจกรรมของชุมชนที่ได้ไปศึกษาดูงานมาวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียและแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้กับชุมชนบ้านหนองกลางดง เพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน

การศึกษาข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง ผู้วิจัยและแกนนำชุมชนได้วางแนวการศึกษาข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทุติยภูมิจากที่มีอยู่แล้วในเอกสารของหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนและข้อมูลปฐมภูมิจากการจัดเก็บข้อมูลในหมู่บ้านโดยในการจัดเก็บรวมรวมข้อมูลขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและ   ผู้อำนวยความสะดวกในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อคำถามได้มาจากการระดมความคิดเห็นของแกนนำชุมชน โดยมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง คนในชุมชนต้องการรู้ข้อมูลอะไรบ้างและชุมชนต้องการรู้ข้อมูลอะไร ซึ่งได้แบ่งเป็น.3 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านรายจ่ายและด้านหนี้สิน แต่ละครัวเรือน ซึ่งในการเก็บข้อมูลได้ตกลงกันว่าให้แกนนำชุมชนเป็นผู้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามทุกครัวเรือน โดยมีครูการศึกษานอกโรงเรียนและบัณฑิตกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้ช่วยบันทึกข้อมูล  

ขั้นที่..3..ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง 

การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดงนี้ ผู้วิจัยได้  ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการ ได้แก่ การค้นหาแกนนำ และอาสาสมัคร การสร้างจิตสำนึกร่วมให้ชุมชน การเรียนรู้พัฒนาการของชุมชน การค้นหาศักยภาพของชุมชน ศึกษาพื้นที่ต้นแบบ              การกำหนดแผนชุมชน.การประชาพิจารณ์แผนชุมชน การดำเนินงานตามแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง และ

การติดตามผลและการประเมินผล

 

ขั้นที่ 4 ศึกษาการวางแผน และการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง

การศึกษาขั้นตอนการวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ได้แก่การศึกษาว่าชุมชนบ้านหนองกลางดงมีการวางแผนอย่างไรบ้างและมีกิจกรรมอะไรบ้างในการที่จะนำไปแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง  

ขั้นที่ 5 ศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน

บ้านหนองกลางดง

การศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ได้แก่ การศึกษาว่าเมื่อชุมชนบ้านหนองกลางดงได้มีการนำแผนชุมชนและกิจกรรมตามที่กำหนดไปแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดงแล้วมีได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง  

ขั้นที่  6  การติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง

การศึกษาในขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง เป็นการศึกษาว่าแผนชุมชนและกิจกรรมที่กำหนดเพื่อนำไปแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดงในระยะเวลาต่าง ๆ กันนั้นเป็นอย่างไรบ้างและได้ผลอย่างใดโดยกำหนดระยะเวลาการติดตามผลและประเมินผลระยะต่าง ๆ กัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2544 ปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2548

 ขั้นที่  7  เผยแพร่ / ขยายผล  

                เป็นขั้นตอนการเผยแพร่และการขยายผลการนำกระบวนการ และแนวทางของแผนชุมชนเพื่อนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนอื่น โดยชุมชนบ้านหนองกลางดงจัดเป็นศูนย์          การเรียนรู้ของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่เข้ามาศึกษาดูงานและนำกระบวนการ และแนวทางของแผนชุมชนเพื่อนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนของตนเอง  

                โดยสรุป ขั้นตอนการนำแผนชุมชนเข้าสู่กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการระบุปัญหาสำคัญของชุมชนว่า ชุมชนมีปัญหาหนี้สินและรายจ่ายที่ก่อให้เกิดหนี้สินเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดของชุมชน ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินตามวงจรการวิจัย    เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวงจรและวงรอบของการแก้ปัญหา ดังนี้

แผนภาพที่ 2  แสดงขั้นตอนการนำแผนชุมชนเข้าสู่กระบวนการวิจัย

                ซึ่งการดำเนินการในทุกขั้นตอนเปิดโอกาสให้แกนนำชุมชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการในเวที มีการทำความเข้าใจในขั้นตอนต่าง การให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดงตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น 

ขั้นหลังการดำเนินการวิจัย  

                เมื่อมีความมั่นใจว่า ชุมชนบ้านหนองกลางดงมีระบบ มีแนวทางและสามารถบริหารจัดการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเองแล้ว ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องค่อย ๆ ถอนตัวจากชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถวางแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  

ขอบเขตของการวิจัย  

                การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ เป็นการศึกษาภาพรวมของปัญหาหนี้สินของชุมชนว่าสามารถดำเนินการให้ลดลงได้เพียงใด ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมใดบ้าง ปรากฏผลเป็นอย่างไร โดยเป็นการศึกษาวิจัยกรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยได้กำหนดขอบเขตด้านพื้นที่ ขอบเขตด้านเนื้อหาและระยะเวลาในการวิจัย  ดังนี้  

               1.  ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน.เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง.ตำบล ศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   

               2.  ขอบเขตด้านเนื้อหา  

                2.1..ข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง   

                2.2..กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง

                2.3..การวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง

                2.4  การศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง

                 2.5  การติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง

               3. ระยะเวลาในการวิจัย เป็นกระบวนการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูล การติดตามผล       การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลการจัดกิจกรรมตามแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน  เป็นระยะเวลา 5 ปี คือตั้งแต่ ธันวาคม 2544 - ธันวาคม 2549

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วม           ของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน บ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบไปด้วย

                 1. แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยกำหนดประเด็นไว้เป็นการล่วงหน้า (Discussion Guide Line)

                 2. แผนชุมชนบ้านหนองกลางดง  จากข้อมูล ปี พ.ศ. 2544, 2546 และ 2548

                 3. เวทีชาวบ้าน และข้อมูลจากผู้เข้าร่วมเวทีชาวบ้าน

                 4. แผนที่ความคิด.(Mind Mapping) สรุปประเด็นจากเวทีชาวบ้าน

                 5. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

                 6. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

                 7. เอกสารและข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง.เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนด

 

ตารางที่  1  ประเภทของข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล/แหล่งข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือสำรับเก็บข้อมูล

 

ประเภทข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล

เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล

1. ข้อมูลทั่วไปและ

 

    ประวัติของหมู่บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ข้อมูลภาพรวมแผน

 

    ชุมชน ปี 2544,     

 

    2546  และ 2548

 

 

 

3. ภาวะหนี้สิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. การค้นพบและสรุปผลการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก

 

  อบต. ผู้สูงอายุ

 

- สมาชิกสภาผู้นำ

 

  ชุมชน (สภาผู้นำ 59)

 

- เอกสารของ

 

  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

- เอกสารสรุปข้อมูล

 

  ภาพรวมแผนชุมชน

 

  ของหมู่บ้าน ปี 2544. 

 

  2546  และ 2548

 

- กลุ่มผู้มีปัญหาหนี้สิน

 

- แกนนำชุมชน

 

- สมาชิกสภาผู้นำ

 

  ชุมชน (สภาผู้นำ 59)

 

- เอกสารสรุปข้อมูล

 

  ภาพรวมแผนชุมชน

 

  ของหมู่บ้าน ปี 2544. 

 

  2546  และ 2548

 

- กลุ่มผู้มีปัญหาหนี้สิน -แกนนำชุมชน

 

- สมาชิกสภาผู้นำ      

 

  ชุมชน(สภาผู้นำ 59)

 

- ผู้ทรงคุณวุฒิและ 

 

  ผู้เชี่ยวชาญ

 

 

 

- การวิเคราะห์และ

 

  สังเคราะห์ข้อมูล

 

  จากเอกสารที่

 

  เกี่ยวข้อง

 

- การสอบถาม

 

  ผู้เกี่ยวข้อง

 

- การวิเคราะห์และ

 

  สังเคราะห์ข้อมูล    

 

  จากแผนชุมชน     

 

  บ้านหนองกลางดง

 

- การพูดคุยรายบุคคล

 

  และรายกลุ่ม

 

- การวิเคราะห์และ

 

  สังเคราะห์ข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- การสะท้อนความ

 

  คิดเห็นจากผู้ร่วมเวที

 

- ข้อเสนอแนะของ

 

  ผู้ทรงคุณวุฒิและ

 

  ผู้เชี่ยวชาญ

 

 

 

 

 

- เอกสารหน่วยงาน  

 

  ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ข้อมูลแผนชุมชน     

 

  บ้านหนองกลางดง

 

 

 

 

 

 - แบบสัมภาษณ์

 

   ที่ผู้วิจัยกำหนด

 

- ข้อมูลแผนชุมชน     

 

  บ้านหนองกลางดง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ข้อมูลจากแบบ

 

  สัมภาษณ์

 

- ข้อสรุปจากเวที

 

- ผู้ทรงคุณวุฒิและ

 

  ผู้เชี่ยวชาญ

 

 

 

 

  

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล  

                ในการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ ได้มีหลักการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถนำมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน จึงใช้หลักเกณฑ์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล  ดังนี้   

                1.  บันทึกการสัมภาษณ์ที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และเวทีชาวบ้าน  

                2.  รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการตรวจสอบความถูกต้องจากการสัมภาษณ์แกนนำชุมชน สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) และผู้เกี่ยวข้อง  

                3.  บันทึกภาพการจัดกิจกรรมในพื้นที่  

                4.  บันทึกภาพบริบทที่เกี่ยวข้อง  

การวิเคราะห์ข้อมูล  

                การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ได้ยึดหลัก    ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยวิเคราะห์จากผู้ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูล ดังนี้  

                1.  เอกสารและข้อมูลที่ผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเก็บรวบรวมได้  

                2.  ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ สมาชิกสภาผู้นำชุมชน.(สภาผู้นำ 59) แกนนำชุมชน กลุ่มผู้มีปัญหาหนี้สิน และผู้เกี่ยวข้องที่ให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ  

                3.  ข้อมูลจากเวทีชาวบ้านกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัย  

                4.  การสัมภาษณ์แกนนำชุมชน สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) และผู้เกี่ยวข้องในหมู่บ้าน  

                5.  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลบริบทและภาพรวมกิจกรรม  

การเสนอผลการวิจัย

                การเสนอผลการวิจัยในครั้งนี้.ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วม  

ของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน.บ้านหนองกลางดง.ตำบล ศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ 

                1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเสนอโดยใช้ค่าร้อยละ  

                2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยนำเสนอโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 

                สำหรับ การเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของเอกสารการวิจัย ประกอบไปด้วยเนื้อหา ดังต่อไปนี้            

(บทที่ 1,2,3,4,5)

 

หมายเลขบันทึก: 387245เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นแนวทางที่ผมกำลังเรียนรู้อยู่พอดีครับ คงได้รับคำที่ปรึกษาจากท่านเมื่อทำงานแล้วสะดุด งานวิจัยครับ

จะติดตามผลงานท่านครับ

ยินดีให้คำปรึกษาครับท่าน ผอ. โทร. 081-9413869

 

นางสาว มยุรี วงษ์มาลา

สวัสดีค่ะ

เป็นข้อมูลที่ชี้แนะแนวทางในการเรียนของดิฉันต่อไปในภายภาคหน้าค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ

สวัสดีค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ กำลังมองหาอยู่จะนำไปใช้ในการสอบพนักงานราชการ กศน.ชุมพรค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ คุณมยุรี และคุณปนัดดา

ขอบคุณมากคะ

จะใช้เป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาหนี้สินในหมู่บ้านเกษตกร ต่อไปให้เกิดประโยชน์

ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องงานวิจัยกับทุกท่านครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท