ปัญหาของการบริหารราชการไทยและแนวทางการแก้ไข


ปัญหาของการบริหารราชการไทยและแนวทางแก้ไข

ปัญหาของการบริหารราชการไทยและแนวทางแก้ไข

ปัญหาด้านนโยบาย

  • ปัญหาด้านสมรรถนะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
  • ปัญหาด้านการควบคุม
  • ปัญหาด้านความร่วมมือและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  • ปัญหาด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ปัญหาด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์การหรือบุคคลสำคัญในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
  • ปัญหาด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ปัญหาด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์การหรือบุคคลสำคัญในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

ข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์เชิงนโยบายเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน

  •  หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญต่อการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ
  •  ศึกษาความต้องการของประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศแล้วมากำหนดเป็นนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหา
  •  ก่อนนำนโยบายไปปฏิบัติควรตรวจสอบก่อนว่านโยบายมีทฤษฎีรองรับหรือไม่

ปัญหาด้านโครงสร้าง

  • รวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
  • กระทรวง กรม และกอง ไม่รู้หน้าที่หลักและรองของตน
  • มีระบบการประเมินผลแบบปิด
  • มีกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าหลัง
  • ระบบงบประมาณไม่ได้ผล

             แนวทางแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างที่อาจเป็นไปได้

  •   กระจายอำนาจทางการบริหาร
  •  แปรสภาพกิจกรรมของรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน
  •  นำระบบการประเมินผลแบบเปิดไปใช้ในหน่วยงานของรัฐ
  • ปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าหลัง
  •  ปฏิรูประบบงบประมาณ
  •  ทำลายการผูกขาดของรัฐ

ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล

  • ระบบเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อสร้างเครือข่ายเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเกิดอย่างกว้างขวางในระบบราชการทำให้ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งหลักการของระบบคุณธรรมอย่างแท้จริง
  • ต่างคนต่างทำ ข้าราชการส่วนภูมิภาคดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวง ทบวง กรม เป็นหลักมากกว่าตอบสนองปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่
  • การแก้ไขปัญหา ขาดการประสานงานของเจ้าหน้าที่
  • ข้าราชการพึ่งพาการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางเป็นหลัก ยากที่จะทำงานเชิงบูรณาการ
  • สายงานที่จำแนกไว้มีเป็นจำนวนมาก หลายสายงานมีลักษณะซับซ้อนใกล้เคียงกันมาก ยึดคุณวุฒิทางการศึกษาของข้าราชการจนทำให้ไม่คล่องตัวในการสรรหา โยกย้าย
  • มาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่กำหนดไว้มีขอบเขตกว้างหรือคลุมเครือ
  • มีมาตรฐานกลางเพียงมาตรฐานเดียว (Single Scale) ทำให้ไม่ยืดหยุ่นในการบริหารกำลังคนที่มีหลากหลาย
  • การกำหนดทางก้าวหน้าของแต่ละสายงานยังมีความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม
  • ขาดแคลนและสูญเสียบุคลากรในตำแหน่งทางวิชาการ
  • ค่าตอบแทนภาครัฐต่ำกว่าการจ้างงานในตลาด
  • การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเงินเดือนยังคงอิงระบบอาวุโส
  • ผู้บริหารระดับต่างๆ ไม่สามารถบริหารกำลังคนและกำกับดูแลผลงานของบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในการทำงานขององค์กรในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบบริหารงานบุคคลไม่เอื้อต่อหลักประกันด้านคุณธรรม (Merit based system) ได้อย่างจริงจัง ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมากไม่ได้รับความเป็นธรรม

        แนวทางการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรบุคคลที่อาจเป็นไปได้

  • กำหนดวิสัยทัศน์การทำงานให้ชัดเจน
  • ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานให้สอดคล้องเหมาะสม
  • มองโครงสร้างทรัพยากรบุคคลเป็นรายกลุ่มเช่นโครงสร้างกลุ่มกระทรวงเศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ เป็นองค์รวม เพื่อให้การทำงานเบ็ดเสร็จครบวงจร และเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
  • ปรับบทบาทของราชการให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ เอื้อต่อการทำงานให้กับองค์กรท้องถิ่นและชุมชน
  • จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว
  • สนับสนุนบรรยากาศการเจรจาพาที การคิดใคร่ครวญ ในหน่วยงาน

ปัญหาด้านเทคโนโลยี

ตัวอย่างปัญหาและอุปสรรคในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการบริหารราชการ

  • ปัญหามาตรฐานและรูปแบบในการจัดสร้างและจัดเก็บข้อมูล
  • ปัญหาการกระจายของข้อมูล
  • ความซ้ำซ้อนและความเข้ากันได้ของข้อมูล
  • ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
  • ความถูกต้องและความแม่นยำของข้อมูล
  • การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • ปัญหาการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมของบุคลากรภาครัฐ
  • ข้อจำกัดอื่นๆ

แนวทางในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)มาใช้ในการบริหารราชการ

     แบ่งกลุ่มการประยุกต์ใช้ตามดัชนีคุณค่าหลักของการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ

  • ประสิทธิภาพ
  • ความเสมอภาค
  • ความสามารถในการพัฒนาและการเจริญเติบโตของชุมชน
  • คุณภาพสิ่งแวดล้อม

คอรัปชั่น

  • การคอรัปชั่นภายใต้การบริหารราชการแผ่นดิน
    •  ข้าราชการอิทธิพลกับธุรกิจเอกชน
    •  เงินตามน้ำ
    •  การบังหลวง
    •  การเล่นเส้นสายเพื่อความก้าวหน้าของลูกน้อง

          การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น

แนวทางแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นภายในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหน่วยงานควรทำเองได้ ควรประกอบด้วยวิธีการป้องกันต่าง ๆ เช่น

1.  ปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ของการให้บริการประชาชนให้เรียบง่าย ลดโอกาสที่ข้าราชการจะใช้อำนาจเพื่อการคอรัปชั่น

2.  การจับตาดูเพื่อประเมินพฤติกรรมคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบในหน่วยงานที่มีการร้องเรียนเรื่องการคอรัปชั่นหนาหู หรือมีเหตุการณ์เกิดขึ้น อาจใช้ทั้งระบบจัดตั้งกล้องถ่าย   วีดีโอ และการใช้สายสืบภายในโดยมิบอกเล่าให้ข้าราชการทราบหัวหน้าสำนักงานจะต้องหูตาไวเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้  แสวงหาทางกระจายกลุ่มคนที่อาจรวมหัวกันตั้ง “แก๊ง” ดังกล่าว

3.  ลดโอกาสการคอรัปชั่น โดยการสับเปลี่ยนบุคคล หรือการโยกย้ายหน่วยงานที่ทำบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มจัดตั้ง “แก๊ง”หรือ syndicate ในการคอรัปชั่น

4.  จับตาดูพฤติกรรมของระดับหัวหน้างาน ซึ่งจากประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ พบว่า ข้าราชการระดับหัวหน้ามีแนวโน้มจะคอรัปชั่นสูง แล้วจึงหาวิธีการอันเดียวกัน   จับตาดูพฤติกรรมของข้าราชการระดับรองลงมา

5.  ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องการเงินทุกระดับต้องได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นพิเศษ และควรต้องแจงมูลค่าทรัพย์สินของตนเองและครอบครัวแก่ทางการพร้อมหลักฐานทุกปีเพื่อป้องกันมิให้ร่ำรวยผิดปรกติจากการคอรัปชั่น

6.  ทุกหน่วยงานที่มีปัญหาการคอรัปชั่นต้องมีหน่วยงานวิจัยลู่ทางการคอรัปชั่นในสำนักงาน รวมทั้งศึกษาลักษณะประเภทบุคคลที่มีแนวโน้มจะทำการคอรัปชั่นจากกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว

7.  มีการทำ integrity test หรือการทดสอบเรื่องความซื่อตรงของข้าราชการในหน่วยงานเป็นครั้งเป็นคราว

8. จัดตั้งศูนย์ทำการสำรวจทัศนคติของสาธารณชนเพื่อประเมินผลการทำงานและการคอรัปชั่นของข้าราชการในสำนักงาน

 

บทส่งท้าย คอรัปชั่นมิใช่เอกลักษณ์ของประเทศไทย

ทุก ๆ ประเทศมีปัญหาการคอรัปชั่น  เพราะข้าราชการก็คือมนุษย์ที่มีกิเลส   คล้าย ๆ กันทั้งสิ้น แต่หลายประเทศพยายามแก้ปัญหา โดยกระบวนการหลายขั้นตอนที่ต่อเนื่อง  สร้างวัฒนธรรมของความโปร่งใส ซื่อสัตย์ และการแยกระหว่าง ‘ส่วนตัว’ กับ ‘สาธารณะ’ รวมทั้งการสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และลดแรงจูงใจให้ทำการคอรัปชั่น ความแตกต่างในประเทศไทย คือยังไม่มีรัฐบาลใดมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นอย่างแท้จริง 

หมายเลขบันทึก: 387212เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมอยากได้ขอมูลที่ลึกกว่านี้ครับ เช่น ความเป็นมาของปัญหา ขอมูลของปัญหานั้นๆ ยิ่งมีนักวิชาการที่มาพูดถึงปัญหานั้นๆได้ยิ่งดี ครับ ขอบพระคุณมากๆเลยยยย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท