อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

ประวัติพระอิศวร (ศิวะ) มหาเทพแห่งการทำลาย


ประวัติพระอิศวร (ศิวะ) มหาเทพแห่งการทำลาย

พระอิศวร (ศิวะ) มหาเทพแห่งการทำลาย

บทบาทความสำคัญ พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล พระองค์จะทรงประทานพรวิเศษให้แก่คนผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงามคนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพผู้จะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้นสามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆได้อย่างมหัศจรรย์นัก หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย หากบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นจะถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ววัน ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ได้เช่นกัน


ลักษณะของพระอิศวร (ศิวะ)

รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้นมีปรากฏมากมายหลายลักษณะด้วยกัน แต่จุดเด่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะก็คือ รูปพระจันทร์เสี้ยวและดวงตาดวงที่ ๓ บนหน้าผาก สร้อยประคำที่เป็นหัวกะโหลกและงูที่คล้องพระสอหรือคอของพระองค์อยู่นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เล่ากันว่า ที่มาของงูพิษที่พระศิวะทรงคล้องคอไว้ประดับองค์เป็นเอกลักษณ์พิเศษนั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียวเพราะพระองค์ไม่ได้ไปจับมาจากพงหญ่าป่าใหญ่ที่ไหน แต่มีผู้ส่งมามาให้พระองค์โดยเฉพาะ คนผู้นั้นก็คือนักบวชผู้นี้มีภรรยาหลายคนแต่บรรดาภรรยาของเขาเกิดมาหลงใหลในเสน่ห์อันล้ำลึกขององค์พระศิวะ ด้วยความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง นักบวชจึงส่งเสือร้ายตัวโตไปจัดการสังหารพระศิวะ แต่ว่าพระศิวะเป็นกลับเป็นฝ่ายพิชิตเสือด้วยพระหัตถ์ของพระองค์อย่างสบาย ๆ แถมยังฉีกเอาหนังสือมาเป็นที่ปูพื้นไว้รองนั่งอีกด้วย เมื่อส่งเสือมาไม่ได้ผล นักบวชผู้เคียดแค้นแสนริษยาก็ส่งอสรพิษร้ายตัวใหญ่มาจัดการพระศิวะ แต่อสรพิษร้ายกับถูกพระศิวะร่ายเวทมนต์สยบเอาไว้ได้โดยที แล้วพระองค์ก็จับเอางูพิษนั้นมาคล้องคอเป็นเครื่องประดับสุดพิศดารไม่ซ้ำแบบใคร นักบวชผู้ไม่ยอมแพ้ยังคงคิดลองของ ส่งอสูรร้ายมาสังหารพระศิวะในเวลาต่อมา และพระศิวะก็ทรงสยบอสูรร้ายตนนั้นได้ด้วยท่าทีลีลาร่ายรำอันน่าพรั่นพรึง ซึ่งสะท้านสวรรค์สะเทือนดิน แม้แต่บรรดาทวยเทพทั้งปวงก็พากันมาเคารพนบนอบยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมหาเทพองค์นี้ มหาเทพองค์อื่น ๆ นั้น ก็ล้วนแล้วแต่รูปลักษณ์มากมายหลายรูปที่แตกต่างกันไป แต่ในรูปที่แตกต่างนั้นก็จะมีส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงกันบ้าง ในรายละเอียดของสีพระวรกายหรือสิ่งของที่ทรงถือไว้ในพระหัตถ์ แต่สำหรับพระศิวะนั้น กล่าวได้ว่ารูปลักษณ์ของพระองค์นั้นค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถสังเกตได้ง่ายไม่สับสนวุ่นวายเหมือนกับจดจำรูปลักษณ์ของมหาเทพองค์อื่น ๆ เป็นแน่ พระศิวะนั้นเป็นเทพที่นิยมประพฤติองค์เป็นโยคีหรือผู้ถือศีล ดังนั้นรูปของพระองค์จึงมักปรากฏเป็นเทพที่ทรงเครื่องแบบที่ค่อนข้างติดดินสักหน่อย เป็นต้นว่า ทรงแต่งองค์คล้าย ๆ พวกโยคะหรือพวกฤาษีสยายผมยาวแล้วม่นมวยผมเป็นชฎาบนศีรษะ ทรงนุ่งห่มด้วยหนังกวางบ้าง หนังเสือบ้าง คัมภีร์โบราณหลายเล่มนั้น กล่าวถึงสีพระวรกายของพระศิวะแตกต่างกันไป บางคัมภีร์ระบุว่าพระวรกายของพระศิวะนั้นเป็นสีแดงเข้มราวกับเปลวไฟหรือโลหิต บางคัมภีร์ว่าพระวรกายขององค์พระศิวะนั้นเป็นสีขาว นวล บริสุทธิ์ ดั่งสีของพระจันทร์ แต่หลาย ๆ คัมภีร์กล่าวไว้ตรงกันว่า พระศิวะนั้นเป็นเทพที่มีพระเนตร ๓ ดวง คือดวงที่ ๓ นั้นจะปรากฏขึ้นอยู่บนหน้าผากขององค์โดยปรากฏเป็นดวงตารูปแนวนอนบ้าง รูปตั้งทรงพุ่มช้างบิณฑ์บ้าง และดวงตาที่ ๓ นี้สามารถมองเห็นอดีตและอนาคตได้อีกด้วย รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละปาง


อาวุธของพระอิศวร (ศิวะ)

อาวุธในปางต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายหลายสิบปางนั้น มักจะปรากฏพระกรแต่ละข้างของพระศิวะนั้นทรงถืออาวุธที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่อาวุธที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์นั้น คือคทา - ที่ยอดเป็นรูปหัวกะโหลก ชื่อ ชัฏวางค์ตรีศูล - ชื่อ ปีนากคันศร - ชื่อ อชคพนอกจากนั้นอาวุธของพระศิวะที่ปรากฏว่าทรงถืออยู่ในหลาย ๆ ปางหลาย ๆ รูปลักษณ์ก็คือ บัณเฑาะว์ พระสังข์ บ่วงบาศ เปลวเพลิง พระขรรค์


 

พาหนะของพระอิศวร (ศิวะ)

โคที่มีนามว่า อุศุภราช คือ โคเผือกที่เป็นพาหนะประจำขององค์พระศิวะโค อุศุภราช นี้บางครั้งก็มีชื่อเรียกกันไปอีกว่า โคนนทิราช ซึ่งกำเนิดที่ไม่ธรรมดาคือโคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพ่อโค แม่โคเหมือนกับโคอื่น ๆ แต่ทว่ากำเนิดเกิดจากมหาเทพเลยทีเดียวเรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่าในการกวนเกษียรสมุทรครั้งยิ่งใหญ่ของทวยเทพทั้งปวงนั้น ก็ได้มีสิ่งวิเศษเกิดขึ้นมากมายหลายสิ่งด้วยกัน และนางโคสุรภีก็เป็นของของวิเศษอีกสิ่งหนึ่งที่ได้จุติขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทรครั้งนั้น พระกัศยปะนั้นก็มีความต้องการที่จะได้นางโคสุรภีเอาไว้เป็นพาหนะประจำองค์ แต่ทรงติดอยู่เล็กน้อยที่ว่านางโคสุรภีนั้นเป็นโคเพศเมีย หากนำมาเป็นพาหนะประจำองค์นั้น ก็ทรงอยากจะได้โคเพศผู้เสียมากกว่า ดังนั้นพระกัศยปะจึงได้นิรมิตกายเป็นพ่อโคตัวผู้แล้วก็ไปผสมพันธุ์สมสู่กับนางโคสุรภี จนกระทั่งแม่โคตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกออกมาเป็นโคเพศผู้สีขาวบริสุทธิ์และมีลักษณะดีตั้งตรงตำราเป็นพิเศษ พระกัศยปะจึงได้ประทานนามให้กับโคเผือกที่เป็นโอรสนั้นว่า นนทิหรือนันทิ และได้ถวายให้เป็นพาหนะประจำองค์คอยติดตามรับใช้พระศิวะมหาเทพสืบต่อมา แต่ในบางคัมภีร์นั้นก็กล่าวถึงประวัติการกำเนิดของโคนนทิราชนี้แตกต่างออกไปด้วยกล่าวว่าแต่เดิมนั้นโคนนทิราช หรือ โคอุศุภราชนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่งบนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ซึ่งทพบุตรองค์นี้ก็มีนามว่านนทิ มีหน้าที่เป็นเทพที่คอยคุ้มครองดูแลบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งปวงที่อาศัยอยู่ในป่าใกล้ๆ กับเขาไกรลาส และเทพนนทิที่เป็นเทพที่ครองสัตว์จัตุบาททั้งปวงนั้นก็มักจะนิรมิตองค์เองให้กลายเป็นโคเผือก เพื่อให้พระศิวะได้เสด็จประทับไปยังแห่งหนต่าง ๆจนเป็นเสมือนพาหนะประจำพระองค์ไปโดยปริยาย ซึ่งในคัมภีร์โบราณนั้นยังบันทึกไว้ด้วยว่า เทพบุตรนนทิองค์นี้ไม่ได้เป็นคู่เทพที่จะมาแปลงกายเป็นโคให้พระศิวะได้เสด็จประทับเป็นพาหนะเท่านั้น แต่พระนนทิ ก็ยังเป็นหัวหน้าแห่งเทพบริวารทั้งหลายทั้งปวงของเทพพระศิวะอีกด้วย บางคัมภีร์กล่าวว่าพระนนทินอกจากจะเป็นเทพผู้ครองสัตว์จัตุบาทหรือสัตว์สี่เท้าทั้งมวลแล้ว ยังเป็นเทพที่เป็นนักดนตรีอีกด้วย ยังปรากฏว่าได้เคยร่วมนาฏกรรมรำฟ้อนกับองค์พระศิวะบ่อย ๆ โดยรับหน้าที่ตีตะโพนคอยให้จังหวะในขณะที่องค์พระศิวะร่ายรำระบำฟ้อน ในวโรกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ และนนทิโคพิเศษที่เป็นพาหนะประจำองคืพระศิวะและเป็นหัวหน้าเทพบริวารของพระศิวะนี้ยังมีความสำคัญอีกมากมายที่ทำให้บรรดามวลมนุษย์ที่บวงสรวงบูชาพระศิวะนั้น ก็จึงได้นิยมบวงสรวงบูชาโคนนทิด้วย โดยยกย่องให้เป็นโคพิเศษ เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะมหาเทพ ดังนั้นการที่ชาวฮินดูไม่นิยมฆ่าวัวก็เป็นเพราะเคารพยกย่องและบูชาโคนนทิ ซึ่งเป็นโคศักดิ์สิทธิ์สำหรับมวลมนุษย์นั่นเอง ตามเทวลัยหลาย ๆแห่งของลัทธิไศวนิกาย ก็จะปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของวัวนนทิไว้ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้มาสักการะบูชาด้วย


ที่ประทับของพระอิศวร (ศิวะ)

ที่ประทับพระศิวะนั้น ทรงประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส เปรียบเสมือนเป็นวิมานของพระองค์ ตามคัมภีร์นั้นได้บันทึกไว้ว่า พระศิวะเสด็จมาเยือนมนุษย์โลกหนึ่งครั้งเท่านั้นในแต่ละปี วันที่จะเสด็จลงมาจากยอดเขาไกรลาสนั้น คือวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ และพอถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ก็จะเสด็จกลับสู่ยอดเขาไกรลาสซึ่งเป็นที่ประทับของพระองค์


 

พระมเหสีของพระอิศวร (ศิวะ)

พระศิวะทรงมีเอกอัครมเหสีคือ พระแม่อุมามหาเทวี หรือชาวฮินดูนิยมเรียกกันว่าพระนางปาราวตี ซึ่งเป็นอิตถีเทพ ที่งดงามเป็นยิ่งนัก และยังเป็นเทพเทวีที่มีผู้คนนิยมบวงสรวงบูชามากมายว่าเทพนารีองค์อื่นองค์ใดพระแม่ปราวตีหรือพระแม่อุมามหาเทวีนี้นั้น เป็นมเหสีคู่พระทัยของพระศิวะ ซึ่งปรากฏอยู่ในทุกคัมภีร์ทุกตำราเลยทีเดียว ด้วยเพราะพระศิวะนั้นไม่ปรากฏว่าจะมีพระชายาอีกมากมายดังมหาเทพองค์อื่น ๆ พระศิวะมีเพียงพระคงคาและพระนางสนธยาเท่านั้นที่เป็นพระชายาคู่บารมีอีก ๒ พระนาง พระแม่คงคานั้นแต่เดิมก็เป็นพระชายาองค์รอง ๆ ของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ซึ่งเมื่อได้มีเรื่องมีราวขัดแย้งบาดหมางกันระหว่างบรรดาพระชายาพระวิษณุ จนก่อเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใจ พระวิษณุจึงได้นำพระแม่คงคามาถวายให้เป็นพระชายาของพระศิวะและพระแม่คงคานั้นโดยแท้จริงแล้วเป็นพระพี่นางของพระแม่อุมาอัครมเหสีของพระศิวะอีกด้วย ส่วนพระนางสนธยานั้นเป็นธิดาของพระพรหม มหาเทพอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีความผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนเป็นเหตุให้พระพรหมผู้เป็นบิดาทรงกริ้วนัก และปรารถนาที่จะลงโทษพระธิดาสนธยาอย่างหนัก ซึ่งพระธิดาก็เกรงกลัวที่จะถูกลงโทษทัณฑ์ จึงได้แปลงกายเป็นนางเนื้อหลบลี้หนีพระบิดาไปเสีย พระพรหมเองก็ไม่ยอมลดละ ด้วยความกริ้วถึงกับนิรมิตองค์เป็นกวางตามนางเนื้อไปในทันที พระศิวะได้ทรงบังเอิญมาพบเห็นเข้า ก็จึงได้มีความเห็นใจพระธิดาสนธยา ครั้นจะห้ามปรามพระพรหมผู้เป็นบิดาของพระนางสนธยาก็ดูจะกระไรอยู่ จึงได้ยับยั้งความกริ้วของพระพรหมในครั้งนั้นด้วยการแผลงศรไปถูกเศียรกวางขาดกระเด็น เมื่อพระพรหมกลับคืนมาสู่ร่างเดิม ก็จึงได้คลายความโกรธ และพระศิวะก็ได้พูดคุยกับพระพรหมให้ยกโทษให้กับพระธิดา และการขออภัยโทษแก่พระนางสนธยานั้นคงจะไม่เป็นการสำเร็จโดยง่าย พระศิวะจึงได้ใช้วิธีทูลขอพระนางสนธยามาเป็นพระชายาด้วยความเกรงอกเกรงใจกัน พระพรหมจึงได้ยินดียกพระธิดาให้ไปเป็นพระชายาของพระศิวะ ด้วยเหตุนี้เองที่พระธิดาสนธยาจึงไม่ต้องถูกพระบิดาลงโทษ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการที่มีพระชายาเพิ่มขึ้นมานั้นไม่ได้เป็นเพราะพระศิวะออกไปแสวงหาด้วยความมากรักหลายใจแต่อย่างใด


 

พระโอรสของพระอิศวร (ศิวะ)

พระศิวะทรงเป็นพระบิดาของพระพิฆเนศวรและพระขันทกุมาร พระโอรส ๒ พระองค์นี้ประสูติจากพระนางปาราวตี หรือพระแม่อุมา อัครมเหสีคู่บารมี ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าพระศิวะจะทรงมีโอรสธิดากับพระชายาอื่น ๆ อีกหรือไม่ พระโอรส ๒ พระองค์ของพระศิวะนั้นก็ไม่ใช่เทพธรรมดา ๆ แต่ทว่ามีความสำคัญต่อสวรรค์และโลกมิใช่น้อย พระพิฆเนศวรทรงเป็นมหาเทพที่มีเศียรเป็นช้างมีงาเดียว บรรดาพวกศิลปินทั้งหลายล้วนนับถือบูชาพระพิฆเนศวรกันเป็นที่แพร่หลายจนถึงในปัจจุบัน และกว้างขวางไปทั่วโลกด้วย แม้แต่ในบ้านเราก็สักการะบูชาพระพิฆเนศวรกันมิใช่น้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ทรงเปี่ยมพระอัจฉริยภาพทางศิลปการประพันธ์ก็ยังทรงนับถือพระพิฆเนศวร ได้ทรงโปรดให้สร้างเทวาลัยพระคเณศ ณ ศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับบวงสรวงบูชาให้เป็นสิริมงคลและเป็นเสมือนศาลเทพารักษ์แห่งพระราชวังสนามจันทร์ด้วยส่วนพระขันทกุมารนั้นทรงเป็นเทพแห่งสงครามมีรูปลักษณ์เป็นเทพที่งามสง่าแฝงไว้ด้วยความห้าวหาญชาญชัยในลักษณะของนักรบ ชาวอินเดียจะสักการะบูชาพระขันทกุมารในช่วงเดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ ซึ่งเรียกกันว่า “พิธีกรรตติเกยะ” อันเป็นพิธีกรรมที่มีเพียงแต่บวงสรวงบูชาและมีระบำรำฟ้อนตัวเทพการบูชาเทพองค์อื่น ๆ เพราะการบูชาพระขันทกุมารนี้จะมีการละเล่นเป็นเกมกีฬาและกรีฑาหลากหลายประเภทที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันที่แสดงความแข็งแรงและเชี่ยวชาญทางอาวุธ เช่น การยิงธนู เป็นต้นสำหรับพระธิดานั้น บางคัมภีร์บันทึกว่าพระศิวะไม่ได้ทรงมีลูกสาวเลยแม้แต่องค์เดียว แต่บางคัมภีร์ระบุว่าพระศิวะมีลูกสาวองค์เดียวคือ พระนางมาริษาหรือมนสาเทวี อิตถีเทพผู้เป็นที่กล่าวขวัญกันว่างดงามเป็นยิ่งนัก แต่ทว่าในคัมภีร์ก็กล่าวว่าพระธิดาองค์นี้จะประสูติจากพระมเหสีองค์ใดของพระศิวะก็มิอาจทราบได้ เพราะมิได้ปรากฏหลักฐานอันใด จึงมีการสันนิษฐานกันว่า อาจจุติมาจากการที่พระศิวะทรงนิรมิตเสกสรรขึ้นมาเองก็เป็นได้และไม่มีทางที่พระนางมาริษาจะเป็นธิดาของพระศิวะที่ประสูติจากพระนางปาราวตีหรือพระแม่อุมาเพราะมีเรื่องร่ำลือกันว่า พระนางมาริษาไม่ค่อยถูกชะตากับพระอัครมเหสีของผู้เป็นพระบิดาเท่าใดนักพระนางมาริษากับพระนางปาราวตีมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อย ๆจนฝ่ายอ่อนเยาว์กว่าได้ตัดสินใจเสด็จลงมาประทับบนโลกและสถิตย์อยู่ในฐานะเทพนารีที่ประทานพรต่อมนุษย์ จึงมีผู้คนนิยมสักการะบูชากันไม่น้อยในเวลาต่อมา ในบางคัมภีร์ก็ยังระบุว่า พระศิวะมีลูกสาวอีกองค์หนึ่งคือ พระนางเนตาเทวี และก็มิได้บ่งบอกไว้เช่นกันว่าพระมารดาของพระนางเนตาเทวีคือใครกันแน่ แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวของพระนางเนตาเทวีก็มิค่อยปรากฏบทบาทใด ๆ มากนักในแวดวงเทพเทวะโดยทั่วไปมักจะมีความเชื่อกันแต่เพียงว่า พระศิวะทรงมีพระโอรสเพียง ๒ พระองค์เท่านั้นคือพระพิฆเนศวรกับพระขันทกุมารนั่นเอง พระอิศวรนั้นเรียกอีกพระนามหนึ่ง คือพระศิวะ ในคัมภีร์วิษณุปุราณะบันทึกไว้ว่าพระอิศวรเกิดขึ้นมาจากที่พระนลาฏหรือ หน้าผากของพระพรหม ในขณะที่พระพรหมกำลังบำเพ็ญตบะจนแก่กล้า และมีพระเสโทไหลซึมที่พระนลาฏ แต่บางคัมภีร์ก็ได้บันทึกไว้ว่าขณะที่พระพรหมบำเพ็ญตบะ จนถึงกาลอันแก่กล้าแล้วนั้นได้ใช้เปลือก ไม้ขูดที่พระขนงจนพระฉวีถลอก และมีโลหิตหยดหนึ่งหยดลงบนกองไฟทำให้บังเกิดเป็นองค์เทพบุตร ซึ่งพระพรหมได้ขนานนามว่ารุทรหรือพระศิวะ หรือพระอิศวรนั่นเอง แต่บางตำราก็กล่าวว่านางสุรภีชายาองค์หนึ่งของพระกัศยปะเทพแห่งบิดรนั้นได้เป็นผู้ประสูติ พระอิศวรซึ่งเมื่อพระศิวะได้กำเนิดเกิดขึ้นมาแล้วนั้นก็เอาแต่ร่ำไห้เป็นการใหญ่จึงได้รับขนาน พระนามว่ารุทรซึ่งหมายถึงการร่ำไห้นั่นเองแต่อย่างไรก็ตามในคัมภีร์ต่าง ๆ ล้วนกล่าวไว้ว่าพระศิวะเป็นเทพที่มีอิทธิฤิทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายสูงส่ง เหนือเทพเทวะใดๆ พระศิวะนั้นนอกจากจะเป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ หรือเป็นเทวบดีแห่งสรวงสวรรค์ทั้งปวงแล้ว ยังเป็นเทพแห่งการสร้างและการทำลายอีกด้วย ซึ่งมีสถานะอยู่เหนือการพิธียัญกรรมทั้งปวงใดๆ ในคัมภีร์รามายณะและมหาภารตะนั้นกล่าวว่าพระศิวะเกิดขึ้นจากการนิรมิตของพระเวท และพระธรรมที่ประสงค์จะนิรมิตเทพบุตรเพื่อเป็นใหญ่ขึ้นมาทำการสร้างโลกและคุ้มครองปกปัก รักษาดูแลโลกทั้งสาม พระศิวะจึงมีฤทธิ์และปาฏิหาริย์สูงมากมาย พระอิศวร หรือพระศิวะเทพ มหาเทพแห่งการทำลายและธรรมปัญญา พระศิวะยังมีนามอื่นๆ อีกมากมายนอกจากนามพระอิศวร.. ซึ่งเป็นที่กล่าวกันอยู่ในคัมภีร์ทั่วๆไปแล้วยังมีพระนามในความหมายต่าง ๆ อีกดังนี้ พระวิศวนาถ, พระจันทรเศขร, พระอโฆระ, พระนิลกัณฐ์, พระภาละ, พระคงคาธร, พระไภรพ, พระคีรีศะ, พระตรีโลกจนาและ พระมฤตยูนชัย พระศิวะเทพ ปางกามันกามูรติ หมายถึงปางพระอิศวรทำลายพระกามเทพ กล่าวไว้ว่าพระกามเทพอุทิศชีวิตเพื่อรักษาพระเป็นเจ้าให้พ้นจากการรุกรานของอสูรที่ชื่อ “ทาราคา” ซึ่งเรื่องมีว่าพระนางสตี ซึ่งเป็นลูกสาวของ ทักษะปาชาปติ ได้เข้าพิธีแต่งงานกับพระศิวะทั้งที่บิดารังเกียจ จึงไม่เต็มใจยกลูกให้นักครั้งเมื่อพระนางสตีได้เสด็จไปสถานที่ที่บิดากำลังทำพิธีบูชายัญโดยไม่ได้รับเชิญ ผู้เป็นพ่อแสดงท่าทางรังเกียจและพูดเชิงดูถูกลูกสาวตน นางจึงกระโดยเข้ากองไฟเพราะความเสียใจและอับอายยิ่งนักต่อมาพระศิวะทรงทราบเรื่องจึงทรงพิโรธ และได้เนรมิตร่างใหม่นามว่า “วีระภาดา” มาทำลายพิธีบูชายัญของผู้เป็นพ่อตา และบังคับให้ขอโทษยอมรับผิดต่อพระองค์ที่เป็นต้นเหตุให้พระนางสตีสิ้นชีวิตลง พระศิวะทรงเสียพระทัยยิ่งจึงหันมาบำเพ็ญสมาธิทรมานตน และตั้งพระทัยจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกและตัณหาราคาหรือรักหญิงใดอีกต่อไป แต่เหตุการณ์ในเวลานั้นได้มีอสูรชื่อทราคาได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้พระเป็นเจ้าและเหล่าเทวดาพระเจ้าต้องการทำลายอสูรตนนี้ และเพ่งได้ถึงผู้ที่จะมาปราบอสูรซึ่งก็คือพระโอรสของพระศิวะเทพ เทพทั้งหลายได้ตกลงกันว่าต้องการให้พระศิวะประทานโอรสเพื่อปราบอสูรตนนี้ แต่ไม่มีเทพองค์ใดกล้าที่จะไปเฝ้าทูลขอกับพระศิวะด้วยเกรงกลัวในฤทธิ์เดชของพระศิวะ จนในที่สุดจึงตกลงให้พระกามเทพ เทพแห่งความรัก บันดาลความคิดและความรักในสตรีเพศ ด้วยการให้พระกามเทพยิงศรที่ทำด้วยดอกไม้ใส่พระทัยของพระศิวะ ให้เลิกทรมานตนและหันมาสนใจสตรีคิดถึงการมีมเหสีเพื่อให้กำเนิดพระโอรส แต่การกระทำนี้เป็นผลร้ายต่อกามเทพเพราะพระศิวะทรงพิโรธที่ทำลายพิธีทรมานตน จึงใช้ไฟที่เกิดมาจากดวงตาที่สามเผาพระกามเทพจนมอดไหม้ แต่ก่อนที่จะสิ้นชีพพระกามเทพได้ทำงานสำเร็จด้วยการที่พระศิวะทรงเกิดความรักในพระนางปารพตี (พระอุมา) ซึ่งเกิดจากเทพเจ้าแห่งเขาหิมาลัย และเกิดการอภิเษกขึ้นและต่อมาก็มีโอรสด้วยกันนามพระขันทกุมาร (พระนามอื่นๆ อาทิ พระกุมารา พระสุภามันยะ) พระโอรสองค์นี้ได้มาเป็นผู้ฆ่าอสูรทาราคา รูปเคารพส่วนมากที่พบพระศิวะมี ๒ หรือ ๔ กร ประทับนั่งบำเพ็ญตน คือพระกรวางอยู่บนหน้าตักขัดสมาธิ ถืองูและดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ และมีรูปของกามเทพยืนอยู่ข้างหน้าพระศิวะ พระศิวะทรงเหลือบตามองพระกามเทพอยู่ส่วนกามเทพมีรูปร่างเป็นคนถือลูกศรที่ทำด้วยดอกไม้ คันธนูทำด้วยต้นอ้อย ด้านข้างซ้ายขวามีรูปพระชายาคือพระนางราตรีและพระนางวสันต ยืนอยู่ด้วย พระศิวะเทพ ปางอันทรากาสูรวทามูรติ รูปเคารพนี้เป็นปางดุร้ายและทำลายสิ่งอื่น สำหรับปางอันทรากาสูรวทามูรตินี้ เป็นปางฆ่าอสูรมีนามว่า “อันทราสูร” ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีฤทธิ์มากตนหนึ่ง ซึ่งเกิดรักใคร่ในพระนางปารพตี มเหสีของพระศิวะ อสูรตนนี้ต้องการลักพาพระนางปารพตีไปเป็นเมียตนให้ได้ ต่อเมื่อพระศิวะทรงทราบจึงทรงพิโรธและได้ทำการต่อสู้กับอันทราสูร แต่ด้วยฤทธิ์เดชของอสูรที่มีอยู่โดยหากมีเลือกออกจากตัวไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม หยดเลือดนั้นจะกลายเป็นตัวตนขึ้นมาใหม่เรื่อยไป ไม่สิ้นสุด การต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้พระศิวะทรงใช้เวลาในการทำศึกนานออกไปมาก ดังนั้นพระศิวะจึงทรงเนรมิตเทพจามุนทร และพระแม่เจ้า ๗ พระองค์ เพื่อเข้าช่วยโดยการให้เทพจามุนทรและพระแม่เจ้าทั้ง ๗ พระองค์คอยกินเลือดอสูรเพื่อไม่ให้กลายร่างขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอสูรก็ยังคงปรากฏกายขึ้นเรื่อย ๆ จนพระศิวะต้องทูลขอให้พระนารายณ์เสด็จมาช่วยปราบอันทราสูรตนนี้ พระนารายณ์จึงบันดาลอิทธิฤทธิ์เอาชนะอสูรตนนี้จนภายหลังอสูรยอมอ่อนน้อมเคารพนับถือพระศิวะ ซึ่งพระองค์ทรงโปรดแต่งตั้งให้อันทราสูรตนนี้เป็นหัวหน้าของราชบริพารคนแคระของพระองค์สืบมา ลักษณะทางศิลป์ พระศิวะปางอันทรากาสูรวทามูรติ ทรงมี ๘ กร ๒ กร ถือตรีศูล ส่วนพระกรอื่น ๆ ทรงกลอง (บัณเฑาะว์) หรือระฆัง ดาบ หัวกระโหลกผี หนังช้าง และกรที่เหลือทำปางทาจานิ คือ นิ้วชี้เหยียดตรงไปด้านหน้า นิ้วอื่นงอเข้าหากัน มีรูปเทพธิดาโยเกสวารีนั่งอยู่ข้างหน้าพระศิวะ เทพธิดาองค์นั้นถือถ้วยสำหรับใส่หยดเลือดของอสูรอันทราสูร ส่วนอีกมือทรงถือกริช พระศิวะเทพ ปางกังกาลา-มูรติ ไภรระวะ “กังกาลา” แปลว่า กระดูกคนตาย ตำนานพราหมณ์ กล่าวว่าพระศิวะได้เนรมิตตนเป็นเทพนามว่า “ไภระวะ” เพื่อทดลองอำนาจอิทธิฤทธิ์ของพระพรหมผู้สร้างโลก ซึ่งพระพรหมไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระศิวะ จึงเกิดการต่อสู้ พระพรหมพลาดท่าถูกอาวุธตัดเศียรออกไปหนึ่งเศียร ตราบทุกวันนี้คงเหลือเพียง ๔ เศียร เมื่อผ่านมาพระศิวะทรงรู้ว่าบาปที่ทำลายเทพผู้ให้กำเนิดพราหมณ์ และผู้ให้วิชาแก่มนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้นพระศิวะจึงเดินทางเพื่อแสวงหาที่ ๆ จะทำการล้างบาปในครั้งนี้ เมื่อพระองค์ทรงเดินทางถึงวิมานของพระนารายณ์จึงได้รับการแนะนำว่าให้ไปล้างบาปที่เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู พระศิวะจึงเสด็จไปยังเมืองนี้ในแดนโลกมนุษย์ เมื่อมาถึงบาปที่ติดตัวอยู่ก็หายไปสิ้น หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับวิมานที่เขาไกรลาส ชาวฮินดูเชื่อในตำนานนี้ซึ่งถือว่า เมืองพาราณสี คือเมืองศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าของตน (ปัจจุบันเมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของวัฒนธรรมและศาสนาฮินดู) ลักษณะทางศิลป์ พระศิวะประทับยืนมีกายสีขาว มี ๒ กร หรือ ๔ กร ถือกวาง ไม้เท้า และกลองใหญ่และกระดูกคนตาย ทรงสวมมงกุฎสูงมีรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวประทับที่ยอดมงกุฏ และมีงูเป็นสังวาล คาดเข็มขัด เอวด้านซ้ายมีกริชเหน็บอยู่ ส่วนบริเวณรอบๆ พระองค์มีฤาษี คนธรรพ์ นักพรต นางอัปสร รายล้อมอยู่ ปัจจุบัน เทวาลัยในเมืองพาราณสี จะพบรูปเคารพของพระศิวะมี ๔ กร ถือ กระดูกคน กลอง ส่วนอีก ๒ กร ทรงกำลังทำท่าประคองศพคนตาย รูปเคารพปางนี้มี ๒, ๓ หรือ ๔ กรหากมี ๔ กร กรด้านขวาจะทำปางประทานอภัย และกรอื่นถืออาวุธ อาทิ ขวาน ตรีศูล และบ่วงบาศก์หากมี ๒ กร กรด้านหนึ่งจะทำปางประทานพร ส่วนอีกกรถือภาชนะ บรรจุหัวกะโหลกมนุษย์ ลักษณะพิเศษคือทำรูปเทพชายหญิงรวมอยู่ในร่างเดียวกัน ด้านขวาซึ่งเป็นพระศิวะจะสวมมงกุฎ พระกรรณใส่ตุ้มหูรูปงู หรือมังกรพระเนตรที่ ๓ หน้าผากปิดครึ่งหนึ่ง อาภรณ์หนังช้าง และยืนอยู่บนดอกบัว มีงูเป็นสังวาล และเข็มขัดด้านเทพหญิง คือพระอุมา (พระนางปารพตี) มีลักษณะคือสวมมงกุฎ สร้อยคอเพชร อาภรณ์ผ้าไหมยาวจรดข้อพระบาท พบประดิษฐานอยู่ในเทวสถานของลัทธิไศวะนิกาย พระศิวะเทพ ปางอรรธนารี รูปเคารพปางอรรธนารีศวร คือปางครึ่งหญิงครึ่งขาย รูปเคารพนี้ เป็นการรวมร่างคนละด้านของพระศิวะและพระอุมา คือ พระอุมาด้านซ้าย พระศิวะด้านขวาจากคัมภีร์ศิวะ ปุราณะกล่าวว่า พระพรหมก่อนจะสร้างโลกนั้นได้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายที่สร้างไม่มีอำนาจในการมีชีวิตอยู่บนโลกได้ เพราะขาดเพศหญิงมาเสริมกำลังและอำนาจ พระพรหมจึงบูชาบวงสรวงพระศิวะเพื่อให้โปรดแก้ปัญหา พระศิวะจึงปรากฏกายในปางอรรธนารี เมื่อเห็นภาพเนรมิตแล้วจึงเข้าพระทัยได้ทุกอย่างพระพรหมจึงเนรมิตเพศหญิงขึ้นมาคู่เพื่อเป็นสิ่งเสริมกำลังซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ และความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต หลังจากทรงสร้างมนุษย์มาแล้วอวัยวะเพศหญิงและชาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นวัตถุบูชา สัญลักษณ์การเกิดการสื่อต่อของเพศชายและหญิง พระศิวะเทพ ปางศารเภศมูรติ ศารเภศมูรติหมายถึง พระศิวะแปลงกายเป็นศารภา (สัตว์ในจิตนิยายเพื่อทำลายนรสิงห์อวตาร) ชาวอินดูที่นับถือลัทธิไศวะนิกายนิยมบูชารูปเคราพนี้มากด้วยเหตุที่พระศิวะเทพมีอำนาจเหนือกว่าพระนารายณ์ ซึ่งพระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์ เทพเศียรเป็นสิงโตแต่ตัวเป็นมนุษย์ เพื่อปราบอสูรที่ชื่อ “หิรัญยากาศิปุ” (ลัทธิไวษณพนิกายให้ความเคารพนับถือพระวิษณุอย่างสูงสุดนั่นเอง) หลังจากพระวิษณุฆ่าอสูรตายโดยใช้เล็บฉีกหน้าท้องควักเอาไส้ออกมาจนหมดแล้ว แต่พิษร้ายหรือฤทธิ์ของยักษ์ตนนั้นได้มารวมกันอยู่ที่นรสิงห์โดยไม่รู้ตัว หลังจากนั้นนรสิงห์รู้ว่าได้รับพิษร้ายของอสูรเข้าในสายเลือดแต่พระองค์ไม่สามารถกำจัดหรือล้างความโหดเหี้ยมดุร้ายให้ออกจากร่างและจิตได้ จึงเที่ยวอาละวาดฆ่าทั้งมนุษย์และเทวดาไปทุกหนแห่งที่ผ่านก่อเป็นอันตรายต่อมนุษย์และเทพทั้งมวล พระศิวะจึงทรงมาจุติเพื่อทำลายนรสิงห์ตนนี้ ทรงแปลงเป็นสัตว์ในจินตนาการ ชื่อ ศารภา มี ๒ หัว ๒ ปี ๘ ขา มีเล็บแหลมคมของสิงโตและมีหางยาวสัตว์ทั้งสองได้ต่อสู้กันจนนรสิงห์ถูกศารภากัดและจับแหวะอกฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ อย่างน่าสยดสนอง เมื่อนรสิงห์สิ้นชีพแล้ว พระศิวะจึงนำเอาหนังนั้นมาสวมใส่เป็นอาภรณ์ แล้วเสด็จกลับสู่เขาไกรลาสที่ประทับ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพปางศารเภศมูรติปัจจุบันหาดูยาก จะพบที่เทวาลัยในอินเดียใต้ซึ่งปัจจุบันคงเหลือเพียงไม่กี่องค์รูปเคารพนี้ทำด้วยสัมฤทธิ์ ลักษณะคือพระศิวะในรูปของสัตว์ในจินตนิยายกำลังกางปีกออกทั้ง ๒ ปีก มีขาเป็นสิงโต มีเล็บที่แหลมคม ๔ ขา และหางเป็นสิงโตร่างกายท่อนบนเป็นคน หัวเป็นสิงโต ร่างกายท่อนล่างเป็นสิงโต มีมือมากถึง ๓๒ มือ แต่ละมือมีอาวุธและวัตถุต่าง ๆ ดังนี้ สายฟ้า มือหนึ่งทำกำหมัด อีกมือทำปางประทานอภัย วัตถุอื่นมี ลูกล้อ หอก ไม้เท้า ประตัก ดาบ ไม้กลมยาวที่ใช้ทำพิธีบูชา ขวานสงคราม กระดูกผี คันศร ดวงไฟที่กำลังลุกโชน บ่วงบาศก์ มือหนึ่งหนึ่งทำปางประทานพร คันศร ลูกธนู ธง ดาบ งูตัวเล็กๆ ดอกบัว หัวกระโหลกยี่ หนังสือ คันไถ ตะบอง และถือวัตถุอื่นๆ อีกซึ่งปางศารเภศมูรติ จะมีรูปนรสิงห์กำลังยืนอยู่ (รูปเป็นมนุษย์ มี ๒ มือกำลังทำท่าประนมอยู่ข้างหน้าลำตัว)


เทพแห่งการร่ายรำ

พระศิวะเป็นมหาเทพที่ค่อนข้างจะอยู่ในแนวของศิลปินมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ บรรดาทวยเทพทั้งปวงต่างกล่าวขวัญกันถึงอารมณ์ศิลป์ของพระศิวะว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน เป็นต้นว่าในเรื่องของการแต่งองค์ทรงเครื่อง พระศิวะก็ไม่ค่อยจะโปรดแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงอันหรูหราตระการตาดั่งราชันย์ ไม่โปรดที่จะประดับแก้วแหวนเงินทองพราวระยับจับตาดั่งเทพส่วนใหญ่ พระศิวะทรงโปรดที่จะแต่งตัวปอน ๆ ห่มหนังสัตว์มุ่นพระเกศาไว้ลวก ๆ มีงูเป็นดั่งสายสังวาล พระองค์ชอบที่จะไปนั่งบำเพ็ญภาวนาตามป่าช้าที่เต็มไปด้วยเงาของภูตพรายสารพันนอกจากสไตล์ของพระองค์ที่ค่อนไปทางศิลปินผู้สมถะและใฝ่สันโดษแล้ว พระศิวะยังทรงเป็นศิลปินแท้ ๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นเจ้าของตำรับการร่ายรำระบำฟ้อนแห่งอินเดียเลยก็ว่าได้ ด้วยเพราะทรงเป็นเทพแห่งศิลปะการร่ายรำ ปางหนึ่งของพระศิวะที่แสดงถึงฐานะของพระองค์ชัดเจนจึงเป็นปางที่ถือได้ว่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก “ปางนั้นก็คือปางนาฏราช (nataraja)” ในตำนานเล่าว่า พระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์ปลอมแปลงโฉมเป็นสามี-ภรรยากันไป ณ ป่าแห่งหนึ่งเพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะและบูชาเทพอย่างที่ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลในธรรม เมื่อทั้ง ๒ มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้นในฐานะของโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว (พระนารายณ์ทรงปลอมเป็นภรรยาพระศิวะ) เหล่าดาบสผู้มากกิเลสตัณหาก็พากันมาเวียนวนเกี้ยวพาราสีสาวงามภรรยาของโยคีหนุ่ม โดยไม่สนใจหรอกว่านางเป็นผู้มีคู่มีเจ้าของแล้ว บรรดาเมียๆของดาบสต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้วต่างก็พากันมาให้ท่าทอดสะพานโยคีรูปงามกันมิเว้นวาย เวลาผ่านไป ก็ไม่มีดาบสผู้ใดพิชิตภรรยาสาวของโยคีได้ ความพิศวาสจึงได้กลายเป็นความเคืองแค้น เหล่าดาบสจึงพากันสาปแช่งโยคีและเมียรักให้มีอันเป็นไป แต่ทว่าคำสาปนั้นหลับไม่เกิดผลใด ๆทั้งสิ้น พวกดาบสนั้นไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าโยคีนั้นคือพระศิวะและภรรยานั้นคือพระนารายณ์ อิทธิฤทธิ์เวทมนต์ใด ๆ ก็มิอาจกร้ำกรายผู้เป็นเทวะได้แน่น

หมายเลขบันทึก: 372173เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท