คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

การยืนทำงานของพนักงานในห้างสรรพสินค้า


หากเราไปห้างสรรพสินค้า เราจะพบเห็นพนักงานขายยืนปฏฺบัติงาน แต่บางครั้งอาจเห็นพนักงานบางคนลงไปนั่งยองๆ หลังตู้โชว์สินค้า หรือบางคนอาจถึงกับลงไปนั่งพับเพียบกับพื้นก็มี ถ้าลองไปถามเขาเหล่านั้นแล้ว ก็จะได้รับคำตอบว่า ยืนทำงานมาหลายชั่วโมงแล้วรู้สึกเมื่อย ขอลงไปนั่งสักพักหนึ่ง พอให้คลายเมื่อยแล้วค่อยมายืนต่อ

 จากเอกสาร เรื่อง Ergonomics/Human Factors ของ Canadian Center for Occupational Health and Safety และหนังสือ Fitting the Task to the Human- A Textbook of Occupational Ergonomics โดย K.H.E. Kroemer  ได้อธิบบายเกี่ยวกับการยืนทำงานไว้ว่า การยืนเป็นอิกิยาบถท่าทางธรรมชาติของคน แต่งหากต้องยืนเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยอาจทำให้เกิดอาการเจ็บเท้า ขาบวม เส้นเลือดดำขอด กล้ามเนื้อ เมื่อยล้า ปวดหลังส่วนล่าง บริเวณคอแลไหล่ตึงเกร็ง และเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ทั้งนี้ ก็นเนื่องมาจากการที่ต้องยืนตัวตรง เป็นการออกแรงงใช้กำลังกล้ามเนื้อส่วนที่ทำงาน อยู่น้อยลงทำให้การออกแรงใช้กำลังกล้ามเนื้อส่วนที่ทำงาน อยู่น้อยลง จะทำให้เริ่มมีอาการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อแล้วตามมาด้วยอาการปวดเมื่อยที่บริเวณกล้ามเนื้อขาหลัง และคอม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับยืนตัวตรง

1. สภาพการทำงาน

1.1 ชั่วโมงการทำงาน พบว่าแม้ในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน พนักงานอาจมีชั่วโมงการทำงานไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัท เจ้าของสินค้าว่าในผลิตภัณฑ์ของตนนั้นจะส่งพนักงานขายไปประจำจุดขายสินค้านั้นอย่างละกี่คนถ้าส่งพนักงานมาเพียงหนึ่งคน ทำให้พนักงานคนนั้นจะต้องทำงานตอลอดจนกระทั่งห้างปิด หรือหากส่งมามากกว่าหนึ่งคนก็แล้วแต่งทางบริษัทจะจัดเวลาทำงานของแต่ละคนซึ่งอาจจะมีการทำงานที่เหลื่อมซ้นอกันหรือไม่ซ้อนกันก็ได้จากข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม พบว่าพนักงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.7) มีชั่วโมงการทำงาน ประมาณ 7-8 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาพักและทำงานล่วงเวลา) พนักงานร้อยละ 16.0 มีการชั่วโมงการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 9 ชั่วโมง และมีพนักงานเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้นที่ทำงานมากกว่า 9 ชั่วโมง

        พบว่าพนักงานที่ยืนขายสินค้าเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมง มักมีการปวดเมื่อยบริเวณน่อง ร้อยละ 74.3 บั้นเอง (ร้อยละ 32.4) และต้นขา (ร้อยละ 24.3) พนักงานที่ยืนขายสินค้ามากกว่า 8 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 9 ชั่วโมงมักมีอาการปวดเมื่อยบริเวณน่อง (ร้อยละ 86.7 เท้า (ร้อยละ 53.3 ) และเข่า (ร้อยละ 33.3) ส่วนพนักงานที่ยืนขายสินค้านานกว่า 9 ชั่วดมงจะมีอาการปวดเมื่อยน่องทุกราย รองลงมาคืออาการปวดเมื่อยบริเวณเท้า (ร้อยละ 40.0) ดังนั้น จะเป็นได้ว่ายิ่งมีจำนวนชั่วโมงในการยืนทำงานมากขึ้น จำนวนร้องละของอาการปวดเมื่อยน่องจะมีมากขึ้น และเมื่อพนักงานยืนทำงานนานกว่า 9 ชั่วโมงจะเดอาการปวดเมื่อยทุกราย

1.2 การทำงานล่วงเวลา พบว่าพนักงานส่วนใหญ่  มีการทำงานล่วงเวลาเกือบทุกวันวันละ 1-3 ชั่วโมงรองลงมา คือ ไม่มีการทำงานล่วงเวลา มีการทำงานล่วงเวลาเฉพาะช่วงเทศกาลหรือชั่วโมงโปรโมชั่นครั้งละ 1-3 ชั่วโมง และมีการทำงานล่วงเวลานานๆ ครั้งโดยทำงานล่วงเวลาครั้งละมากกว่า 3 ชั่วดมง ซึ่งในการทำงานล่วงเวลานั้น มักเป็นการเช็คสต็อคสินค้า หลังจากหน้าห้างฯ ปิดทำการ หรือถ้าทางห้างฯ มีการจัดเทศกาลซึ่งจะปิดทำการล่าช้ากว่าปกติ พนักงานขายจะต้องอยู่ทำงานล่วงเวลาจนกว่าจะปิดห้างฯ

     1.3 เวลาพัก พบว่าพนักงานขายให้ห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่หรือ จะมีเวลาพัก 1 ชั่วโมง รองลงมาคือพนักงาน มีเวลาพัก 1.5 ชั่งโมง ทั้งนี้ แม้กระทั่งในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน พนักงานอาจมีเวลาพักไม่เท่ากัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริษัทต้นสังกัดของพนักงานด้วยว่า ให้พนักงานขายของตนนั้นพักได้นานเท่าไร และจากการสอบถามพนักงาน พบว่าตามระเบียบของห้างฯ ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าหากมีเวลาพักตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะแบ่งเวลาพักออกเป็น 2 รอบ โดยแบ่งครึ่งของเวลาพักทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติแล้ว พนักงานขายจะพักน้อยกว่าเวลาที่กำหนดไว้ เนื่องจากมีความต้องการในการทำยอดขายให้ได้มาก หรือพนักงานบางคนที่ต้องดูแลสินค้าเพียงคนเดียว ก็จำเป็นต้องฝากเพื่อนข้างๆ ช่วยดูล ส่วนตนเองก็รีบไปพักรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นผลให้พนักงานได้ใช้เวลาพักน้อยกว่าที่กำหนด

2. ส่วนของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

     พบว่าในกล่มพนักงานขาย มีอาการปวดเมื่อยน่องจากการยืนขายสินค้ามากที่สุด รองลงมามีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นขาและเข่า และบริเวณเท้า ส่วนพนักงานหญิงพบว่าส่วนใหญ่ มีอาการปวดเมื่อยน่อง รองลงมามีอาการปวดเมื่อยบริเวณบั้นเอว  และเท้า เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างพนักงานหญิงและพนักงานชายแล้ว พบว่าพนักงานหญิง ส่วนใหญ่มีอาการปวดเมื่อยบั้นเอว น่อง และเท้า มากกว่าพนักงานขาย ในทางตรงกันข้าม พนักงานชายมีอาการปวดเมื่อยต้นขาและเข่ามากกว่า รวมทั้งมีจำนวนพนักงานที่ไม่มีอาการปวดเมื่อยมากกว่าพนักงานหญิง ซึ่งในภาพรวมแล้ว ทั้งพนักงานชายและพนักงานหญิง ล้วนมีอาการปวดเมื่อยน่องมากที่สุด

     พบว่าไม่ว่าพนักงานจะสวมใส่รองเท้าที่มีความสูงของส้นรองเท้าเท่าไร น่องจะเป็นส่วนของร่างกายที่พนักงานเกิดอาการปวดเมื่อยมากที่สุด อย่างไรก็ดี พนักงานที่สวมใส่รองเท้าไม่มีส้น (เช่นรองเท้ากีฬา) มีจำนวนร้อยละของพนักงานที่ไม่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณใหเลยสูงที่สุด  ขณะเดียวกันในกล่มพนักงานที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป พบว่าพนักงานมีอาการปวดเมื่อยทุกราย ส่วนื่น ๆ ของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยสูง ได้แก่ ปวดบริเวณบั้นเอว ซึ่งพบในกล่มพนักงานที่สวมรองเท้าสูงตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไ ส่วนอาการปวดเมื่อยเท้านั้น พบมากใกล่มพนักงานที่ใส่รองเท้าไม่มีส้น โดยมักมีอาการปวดเมื่อยบริเวณส้นเท้า เป้นส่วนใหญ่ สำหรบพนักงานที่ใส่รองเท้ามีส้น พบว่ารองเท้าที่มีส้นสูงมากขึ้นยิ่งทำให้พบอาการปวดบริเวณเท้าเป็นอันตรายที่สูงขึ้นด้วย เช่นพนักงานที่สวมรองเท้าสูงตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป จะมีอาการปวดเมื่อยมากบริเวณฝ่าเท้า เป็นต้น

     พบว่าไม่ว่าพนักงานจะยืนปฏิบัติงานบนพื้นลักษณะใดก็ตาม น่องจะเป็นส่วนของร่างกายที่พนักงานเกิดอาการปวดเมื่อยมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นพรม (พนักงานมีอาการปวดเมื่อยน่อง) อย่างไรก็ดี พนักงานที่ยืนบนพื้นพรมจะมีอาการปวดเมื่อยในส่วนอื่น ๆด้วย เช่นหลังส่วนบั้นเอว ต้นขา เข่า  แต่กลับไม่พบอาการปวดเท้าเลย ส่วนพนักงานที่ยืนบนพื้นกระเบื้องยาง มีอาการปวดเมื่อยน่อง และเท้า  พื้นลักษณะอื่นๆ เช่น หินอ่อนหรือพื้นไม้ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนบั้นเอว และเข่ามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ พื้นลักษณะอื่น

     การยืนปฏิบัติงาน นอกเหนือจากการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแล้ว พนักงานยังมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเลือดขอด เป็นตะคริวและเหน็บชาบริเวณเท้าและน่องบ่อยครั้ง โรคกระเพาะอาการ เนื่องจากพักรับประทานอาการไม่ค่อยเป็นเวลา กระเพาะปัสสาวะอักเสพ ปวดศรีษะเนื่องจากความเครียดจากการทำงาน เช่น ต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าที่บริษัทฯ กำหนด อ่อนเพลีย ปัญหาการนอนหลับ หลับไม่สนิท เนื่องจากสลับเวลาเข้ากะทุกๆ สัปดาห์ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากอากาศในอาการไม่ถ่ายเทและมีฝ่นละอองมาก เป็นต้น

     นอกจากนี้ ยังพบว่าพนักงานต้องการให้นายจ้างดำเนินการเกี่ยวกับสภาพการทำงานต่างๆ เช่น ขอให้นายจ้างอนุญาตให้มีเก้าอี้ในสถานปฏิบัติงาน เพื่อพนักงานจะได้นั่งพักขณะไม่มีลูกค้าหรือขณะทำงานเอกสานอยากให้นายจ้างอนุญาตให้ได้นั่งบพักสั้นๆ ประมาณ 10 นาที ในทุก ๆ 2 ชั่วโมง อยากให้สถานที่นั่งพักอยู่บริเวณใกล้จุดปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินไปพักไกล ควรสลับพนักงานไปทำงานอย่างอื่น เพื่อให้ได้มีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง โดยไม่ควรยืนเกิด 8 ชั่วโมง เป็นต้น

อนุสารแรงงาน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1/2547

 

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 3714เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท