ประวัติศาสตร์บ้านเรา- พัฒนาการทางประวัติศาสตร์


กระบี่เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันตก เป็นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว พบร่องรอยหลักฐาน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบหลักฐานซากไพรเมต (Primate) เชื่อว่าเป็นต้นตระกูลเชื้อสายพันธุ์มนุษย์จากแหล่งจังหวัดกระบี่ด้วย

ภูมิหลังดินแดนที่เป็นจังหวัดกระบี่

                กระบี่เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันตก เป็นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว  พบร่องรอยหลักฐาน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบหลักฐานซากไพรเมต (Primate)  เชื่อว่าเป็นต้นตระกูลเชื้อสายพันธุ์มนุษย์จากแหล่งจังหวัดกระบี่ด้วย

ไพรเมต สยามโมพิเทคัส อีโอซีนัส ที่กระบี่

                จากการสำรวจบริเวณเหมืองถ่านหินลิกไนต์ อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ พบหลักฐานชิ้นส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น เสือเขี้ยวดาบ แรด  สมเสร็จ กระจง หนู บ่าง สัตว์ในตระกูลหมู  รวมทั้งต้นตระกูลเก่าแก่ที่สุดของฮิปโปโปเตมัส  ชนิดที่พบในประเทศไทยครั้งแรก ชื่อว่า สยามโมแทเรียม กระบี่เอ็นซี่  (Siammotherium Krabiense)  และที่สำคัญได้พบชี้นส่วนซากลิงชนิดหนึ่ง เป็นกรามบนด้านขวา พร้อมฟัน 5 ซี่  กรามด้านล่างขวาพร้อมฟัน 2 ซี่  เป็นฟอสซิลไพรแอนโทรโปอิต ชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า สยามโมพิเทคัส อีโอซีนัส 

 

การเคลื่อนย้ายของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บนดินแดนกระบี่

                พระยาสมันตบุรินทร์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับชนชาติที่อยู่ในภาคใต้ ว่ามี 4 พวก คือ

  1. พวกกาซาฮี มีผิวดำ ตาโปนขาว ผมหยิก รูปร่างใหญ่ หน้าบาน ฟันแหลม นิสัยดุร้าย ชอบกินเนื้อสัตว์และมนุษย์เป็นอาหาร เรียกว่า “ยักษ์”
  2. พวกซาไก มีผมหยิก ผิวดำ  ตาโปน ริมฝีปากหนาแต่ไม่ดุร้าย ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม ทำเพิงพักอาศัย
  3. พวกเซมัง  คล้ายพวกซาไก แต่ชอบอยู่ตามเขาสูง
  4. พวกโอรังลาโอต (ชาวน้ำ) อาศัยตามเกาะแก่งต่าง ๆ ชายทะเล มีเรือเป็นพาหนะ อยู่ไม่เป็นที่ชอบเร่ร่อน  เช่น เกาะลันตา เรียกว่า ชาวอูรักลาโว้ย (Orang Laut)

พวกซาไกหรือเซมัง  ได้มีการผสมกับพวกโอรังลาโอต  กลายเป็นชนพื้นเมืองภาคใต้สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์

                ทฤษฎีอื่นๆ เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มชนและกระแสการอพยพ ซึ่งนักวิชาการ ตะวันตก กล่าวไว้ดังนี้

1. ชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนภาคใต้ของไทยนั้นประกอบด้วยกลุ่มชนต่อไปนี้

    1.1    พวกไทย – กะได (Thai-Kadai)  ได้แก่ คนไทยปักษ์ใต้ที่พูดภาษาไทย

    1.2    พวกมาลาโยโปลีนีเซียน (Malayo - Polynesian)  ได้แก่ พวกมาเลย์มอเก็น และโอรังลาโอต

    1.3    พวกออสโตรเซียติก (Austrosiatic)  คือนิกริโต (Nigrito)  ได้แก่ พวกเซมังและเงาะป่า

2.  สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene)  ไม่น้อยกว่า10,000 – 8,000  ปีมาแล้ว  ออสตราลอยด์พวกหนึ่ง  ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล  ต่อมาถูกพวกอพยพมาทีหลังผลักดันให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ตามป่าเขา

3.  สมัยไพลสโตซีน  ประมาณ 7,500 – 4,500  ปีมาแล้ว  มีพวกซาไก หรือซีนอยด์อพยพมาจากแหลมอินโดจีนมายังดินแดนภาคใต้  พวกนี้มีลักษณะคล้ายพวดเวดด้า(Vedda) ที่อาศัยอยู่ทางแถบใต้ของอินเดียและเอเชียอาคเนย์

4. พวกโปรโตมาเลย์  ซึ่งอยู่ในดินแดนมาเลเซียและตอนใต้  อพยพมาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งทะเล  อันเป็นชุมชนชาวน้ำหรือชาวเล  คือ พวกมอเก็น และโอรังลาโอต

ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่กระบี่ 

                ในเวิ้งอ่าวพังงา-กระบี่  เป็นแหล่งที่พบภาพเขียนสีมากที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2452 – 2453 เอเดียน ลูเนต์ เดอ ลาจงกีแยร์ ชาวฝรั่งเศส พบภาพเขียนที่เขาเขียน จังหวัดพังงาแล้ว  หลังจากนั้นได้มีการสำรวจข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เช่น  เจ. บูลเบท์  ชาวฝรั่งเศส  ได้มาสำรวจข้อมูล ในเวิ้งพังงา-กระบี่   เพิ่มเติม  นักโบราณคดีจากกรมศิลปากร ได้เข้ามาศึกษาข้อมูล และเสนอเรื่องราวภาพเขียนสีแพร่หลายออกไป  แหล่งภาพเขียนสีในเขตจังหวัดกระบี่ มีดังนี้  ถ้ำผีหัวโต     ถ้ำเขาตีบนุ้ย  เพิงผาแหลมยอ  แหลมไฟไหม้ แหลมชาวเล   ถ้ำชาวเล  เขากาโรส (ท้ายแรด)  เขาขนาบน้ำ  เขาเขียนในสระ ถ้ำหน้ามันแดง

              นอกจากนี้ยังพบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ตามแหล่งถ้ำอื่น ๆ เช่น เกาะพีพีเล (ถ้ำพญานาคหรือถ้ำไวกิ้ง)  ถ้ำเขาทะลุ  เขาโต๊ะหลวง  เป็นต้น

                   ภาพเขียนในแหล่งถ้ำมีหลายรูปแบบ คือ ภาพคน  สัตว์บก  สัตว์น้ำ  รูปเรขาคณิตแบบต่าง ๆ  เขียนด้วยสีดำ  แดง  น้ำตาล ศิลปะถ้ำ หรือศิลปะบนหิน (Rock Art)  เหล่านี้เป็นหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี และเป็นการเชื่อมต่อกับข้อมูลแหล่งเกิดมนุษย์ และการเคลื่อนย้ายของมนุษย์โบราณอีกด้วย  เพราะโบราณคดีได้กำหนดอายุของภาพเขียนสีเหล่านี้ไว้ระหว่าง 3,000 – 5,000  ปีมาแล้ว

               

                 เรื่องน่ารู้  อูรักลาโว้ย (Orang Laut) เป็นชาวเลกลุ่มใหญ่ที่มีถิ่นฐานบนเกาะสิเหร่ และที่หาดราไวย์ บ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต จนถึงทางใต้ของเกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่, เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จังหวัดสตูล และบางส่วนอยู่ที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง นอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศมาเลเซีย

                ชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยมีภาษาที่แตกต่างกับกลุ่มมอแกนและมอแกลน แม้จัดอยู่ในตระกูลออสโตรนีเชียน เช่นเดียวกัน พิธีกรรมสำคัญของอูรักลาโว้ยคือ การลอยเรือ "ปลาจั๊ก" เพื่อกำจัดเคราะห์ร้ายออกไปจากชุมชน   ในปัจจุบัน ชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร หันมาประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง รับจ้างทำสวน และอาชีพอื่น ๆ ซึมซับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และเรียกขานตัวเองว่า ไทยใหม่

หมายเลขบันทึก: 370352เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไฮโซมาก..ครูจอม

เด็กนักเรียนครูจอม

สุดยอดเลยให้ความรู้มากเลยขอบคุณนะจ๊ะครูจอม ครูไพโรจน์ กระบี่บ้านเรา

สวัสดีคร่ะ

อยาให้อาจารย์นำภาพถ่ายเก่าๆที่เกี่ยวกับจังหวัดกระบี่มาลงบ้าง เช่นภาพ สภาถนนอุตรกิจ ใน พ.ศ 2506 ภาพสพานเจ้าฟ้า เก่าในปี 2496 เห่ลานี้เป็นต้นครับ

หวัดีครับ

ผมชอบคำพูดขอคณูมากเลยครับ

ยากรู้จักคณูครับ

บ้านอยู่ที่ไหนครับ

ขอเบนตอบ.....................

ยักโสดๆๆๆๆอยู่ทางนี้อิอิ

ยากมีเพื่องคุยอิอิยากมีความรักๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท