แนวทางการจัดทำหลักสูตรช่างสิบหมู่สู่หลักสูตรท้องถิ่น


ขั้นตอน

การจัดทำหลักสูตรช่างสิบหมู่  สู่หลักสูตรท้องถิ่น

            โรงเรียนได้สำรวจวิทยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ที่มีประสบการณ์ และสามารถประกอบอาชีพได้ พบว่า วิทยากรมีความรู้ความสามารถเชิงช่างสิบหมู่ จึงเชิญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน โดยมีขั้นตอนดังนี้

            1. เชิญวิทยากรทั้ง  4 ท่านมาพบและบรรยายให้นักเรียนฟังถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ในการหารายได้จากเรียน แล้วปฏิบัติให้เกิดชิ้นงาน

            2. แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม เลือกตามช่างที่ตนเองชอบ ได้ ช่างผ้าบาติก ช่างแกะสลักหนัง ,ช่างกดลายปัดทอง และช่างทำเรือโบราณจำลอง

            3. แบ่งครูออกเป็น 4 กลุ่ม ตามวิชาช่างเป็นครูพี่เลี้ยงซึ่งมีหน้าคือ

                        3.1 ควบคุมดูแล นักเรียนในช่างที่ตนเองรับผิดชอบ รวมกับวิทยากร

                        3.2 บันทึกขั้นตอนการสอนของวิทยากรให้เป็นเอกสารทางวิชาการ(บันทึกการสอน)

                        3.3 สรุปผลการสอนของแต่ละครั้ง

            4. นำวิทยากรไปซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน

            5. จัดคาบเรียนเฉพาะวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ ตั้งแต่ 13.00 น.ถึง 16.30 น

            6. ออกคำสั่งโรงเรียนแบ่งครู เป็นครูพี่เลี้ยง และนักเรียน  ออกเป็น 4 กลุ่มช่าง

                   1. ช่างผ้าบาติก(ผ้าพระบฎ)  นักเรียนจำนวน  18 คน

                       1.1 วิทยากร คือ นายวิทวัชญ์  วัฒนประพันธ์

                       1.2 ครูพี่เลี้ยง คือ   นางเนาวรัตน์  สนธิเมือง, นางพัชรมน   ยกชม,

                              และนางนงค์รัตน์    อัครกุล

                    2. ช่างแกะสลักหนัง  นักเรียนจำนวน 16 คน

                       2.1 วิทยากรคือ นายจีระพงศ์  เกตุโรจน์

                       2.2 ครูพี่เลี้ยงคือ นายบุญธรรม เมียนแก้ว,นางสาวยุวดี วัฒนสุนทร ,

                             นางสาวอรุณี   สุพรรณพงศ์

                    3. ช่างกดลายปัดทอง  นักเรียนจำนวน20 คน

                        3.1 วิทยากรคือ นายสำราญ  เพชรเรือง

                        3.2 ครูพี่เลี้ยง คือ นายไพบูลย์  ยกชม,นางพวงทิพย์ ภักดีอะโข,

                             นางอัมพร ดวงไสย     

                   4. ช่างทำเรือโบราณจำลอง  นักเรียนจำนวน 21 คน

                        4.1 วิทยากรคือ นายสุทิพย์ วิริยพงศ์

                        4.2 ครูพี่เลี้ยง คือ นายบำรุง  ขุททกพันธ์,นางอวยพร นาคะ

                               และนางกุลพร ชุตินันทกุล

            7. หน้าที่ครูพี่เลี้ยงคือ

                        7.1 ควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมาย

                        7.2 ให้บันทึกผลการสอน และสังเคราะห์เป็นกระบวนการสอนเป็นเอกสารทางวิชาการ เช่น แผนการเรียนรู้

                        7.3 จบภาคเรียนปีการศึกษาให้นำเสนอเป็นกระบวนจัดการเรียนการ

สอน เช่น แผนการสอนให้สังเคราะห์เป็นหลักสูตรช่างที่รับผิดชอบ

            8. การประเมินผลการจัดทำหลักสูตร

                         8.1 ครูพี่เลื้ยงทำรายงานการจัดทำหลักสูตรสาขาที่ตนเองรับผิดชอบเป็นเอกสารทางวิชาการ สาขาละ 1 เล่ม

                        8.2 ประกวดชิ้นงานนักเรียน สาขาละ 3 รางวัล โดยโรงเรียนซื้อชิ้นงานของนักเรียนเป็นรางวัล

                        8.3 นักเรียนแสดงผลงานในโอกาสต่างๆ ที่เหมาะสม

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ขั้นตอน
หมายเลขบันทึก: 365108เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท