การระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


รวดเร็วและเป็นธรม

              การระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

             กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่มีบทบาทต่อการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่กำหนดกรอบ วิธีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

            กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่
             1.  การค้าระหว่างประเทศ
             2.  การลงทุนระหว่างประเทศ
             3.  การเงินระหว่างประเทศ

           การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าประเทศใดก็ย่อมเกิดข้อพิพาทไม่มากก็น้อยแล้วแต่ความซับซ้อนของการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คู่พิพาทอาจเป็นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง หรือระหว่างรัฐกับเอกชนที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิธีการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีรายละเอียดลึกซึ้ง จำเป็นที่ต้องศึกษา วิธีการระงับข้อพิพาทให้เข้าใจและนำไปปรับใช้กับข้อพิพาทให้ถูกต้องและตรงประเด็นเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาทเป็นการระงับความเสียหายที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

          การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์  ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง ปัญหาการโต้แย้งระหว่างประเทศที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ในประเด็นข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริง ซึ่งวิธีการระงับข้อพิพาทสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
          1. การระงับข้อพิพาททางการเมือง
          2. การระงับข้อพิพาททางการศาล

         การระงับข้อพิพาททางการเมือง มีวิธีการระงับข้อพิพาทที่แยกย่อยลงไปและมีความสำคัญคือ
         ก.  การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีทางการเมืองระหว่างรัฐ
         ข.  การระงับข้อพิพาทโดยองค์การระหว่างประเทศ
 
         การระงับข้อพิพาททางการศาล มีวิธีการระงับข้อพิพาทและมีความสำคัญคือ
         ก. การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
         ข. การระงับข้อพิพาทโดยศาลระหว่างประเทศ
 
          ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศ การจะใช้วิธีการระงับข้อพิพาทวิธีการใด ผู้ใช้กฎหมายระหว่างประเทศต้องศึกษาและมีความระมัดระวังในการนำกฎหมายมาปรับใช้ เพื่อระงับข้อพิพาท เพราะหากแก้ไขข้อพิพาทไม่ได้หรือใช้เวลานาน อาจก่อความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ และต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ดังนั้นวิธีการระงับข้อพิพาท จึงควรสะดวก รวดเร็ว และมีความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่คู่พิพาท

.......................................................

หมายเลขบันทึก: 36375เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2006 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท