ตอนที่ 3 Omega speedmaster Moon watch


คุณค่าของโบราณ

ตอนที่3

 

            Omega  speedmaster

                    Moon watch

 

Aldrin with his Speedmaster on the Moon - Apollo 11

 

 

 

ด้วยแบรนด์ที่อยู่ในกลุ่มนาฬิกาที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก  ทำให้ omega ทุกรุ่นได้รับความนิยมอย่างมาก  โดยเฉพ าะอย่างยิ่ง ในช่วงทศวรรษที่ 70  omega ได้ถูกประเมินเป็นผู้ผลิตนาฬิกาสวิส ที่มีคุณภาพ อันดับ 1  และเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

            นาฬิกาที่สร้างชื่อเสียงให้กับ omega มากที่สุด คือ omega speedmaster โดยรุ่นแรกที่ผลิตออกมา เป็น chronographs รุ่น ck 2915 caliber 321  manual winding  ผลิตในปี 1957 และ omega ดำเนินสายการผลิตเรื่อยมา จนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 60  ขณะนั้น naza กำลังขับเคลื่อน โครงการอวกาศ mercury และกำลังจะเริ่มต้นโครงการ Gemini ซึ่งเป็นโครงการอวกาศที่จะต้องส่งนักบินอวกาศ 2 คน ไปกับยาน เพื่อโคจรรอบโลก และที่สำคัญ นักบินอวกาศทั้งสองคนที่ไปกับยาน Gemini จะต้องมีภารกิจนอกยาน เพื่อทำการทดลองต่างๆ ภายใต้ความกดดันอากาศ สภาพสุญญากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง  ซึ่งในสภาพเช่นนั้น นาฬิกาข้อมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติภารกิจด้วยความปลอดภัยของนักบินอวกาศ

            ในปี 1962  naza จึงทำการสำรวจประสิทธิภาพของนาฬิกา chronographs ทีมีในท้องตลาด โดยเริ่มจาก อย่างไม่เป็นทางการ  ด้วยการกว้านซื้อนาฬิกาจับเวลา หลากหลายยี่ฮ้อ จากร้านดังต่างๆที่มีชื่อเสียง เช่นห้าง Corrigan ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐ texas  ปัจจุบัน ร้านนี้ยังคงเป็นตัวแทนจำหน่าย นาฬิกา omega ที่ใหญ่ทีของสหรัฐอเมริกา      นาฬิกา  chronograps ทุกเรือนที่สุ่มมาได้ ถูกนำมาทดลองใช้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพระยะแรก เพื่อการกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ  และในปี 1964  naza ได้กำหนดคุณลักษณะสำคัญของนาฬิกา ที่ naza ต้องการ ดังนี้

  1.  ต้องเดินผลิตพลาดได้ไม่เกิน 5 วินาที ต่อ 24 ชั่วโมง
  2.  ทานต่อแรงดันอากาศได้ตั้งแต่ แรงดันน้ำที่ 50 ฟุต จนถึงสุญญากาศ ที่ 10^ – 5 มม.ปรอท
  3.  หน้าปัดต้องอ่านง่ายในทุกสภาวะ โดยเฉพาะภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นสีแดงหรือสีขาว ต้องมองเห็นชัดเจน ภายใต้แสงเทียน ระยะ 5 ฟุต   ในสภาวะแสงจ้า หน้าปัด ไม่ควรมีแสงสะท้อน และหน้าปัดควรมีสีดำ
  4.  หน้าปัดต้องแสดง วินาที 60 วินาที วงนาที 30 นาที และวงชั่วโมง 12 ชั่งโมง หรือมากกว่านั้น
  5.  นาฬิกาต้องกันน้ำ กันกระแทก กันแม่เหล็ก  กระจกหน้าปัดต้องไม่คม และไม่กระจายเป็นเศษเล็กๆเมื่อแตก
  6.  ต้องเป็นนาฬิกาที่สามารถใช้มือหมุนขึ้นลานได้
  7.  บริษัทที่จำหน่าย ต้องรับประกันสินค้าไม่น้อยกว่า 1 ปี
  8.  ต้องส่งมอบสินค้า ไม่เกิน 21/10/1964

 ในครั้งนั้นมีบริษัทที่จำหน่ายนาฬิกาที่มีชื่อเสียง หลายยี่ฮ้อ ส่งสินค้าเข้าทำการทดสอบ เช่น elgin , ̊benrus , Hamilton , mido , luchin , picard , omega , bulova , rolex , longines , gruen ฯ

              การทดสอบอย่างหฤโหดได้เริ่มขึ้น  โดยแบ่งการทดสอบออกเป็นช่วงๆ และแต่ละช่วง นาฬิกาจะถูกตรวจสอบว่า ยังคงทำงานอยู่เป็นปกติหรือไม่ ได้แก่

  1. เข้าห้องอบที่อุณหภูมิ 71˚ c   48 ชั่วโมง  แล้วต่อด้วย 93 ˚ c  30 นาที  ปรับความดันไว้ที่ 0.35 atm ความชื้น 15 %
  2. ที่อุณหภูมิ – 18 องศา  4 ชั่วโมง
  3. ที่สุญญากาศ 10^ – 6 atm เข้าห้องอบลดอุณหภูมิ จาก 71 ̊ c ลงมาที่ – 18 ˚ c ในเวลา 45 นาที และเพิ่มกลับไปที่ 71 ̊c ในอีก 45 นาที  ทำเช่นนี้กลับไปกลับมา 15 รอบ
  4. เข้าตู้อบความชื้นสูง 95% เป็นเวลา 240 ชั่วโมง  อุณหภูมิในห้องทดสอบ เปลี่ยนไปมาระหว่าง 2 – 71 ˚c ไอน้ำไม่เป็นกรดหรือด่าง
  5. เข้าห้องอบ oxygen 100% ที่แรงดัน 0.55 atm เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 71 ˚c  ถ้ามีรอยไหม้ เกิดแกสพิศลอยออกมา หรือยางเสื่อมสภาพ ถือว่าสอบไม่ผ่าน
  6. เข้าเครื่องเหวี่ยงด้วยแรงเหวี่ยง 40 g ครั้งละ 11 millisecond  หกทิศทาง ซึ่งเป็นการเหวี่ยงที่แรงมาก
  7. เข้าเครื่องส่งความเร่ง จากความเร่ง 1 g  ไป 7.25 g ในเวลา 333 วินาที ( ลักษณะคล้ายยิงจรวดขึ้นฟ้า )
  8. เข้าห้องสุญญากาศ แรงดัน 10^- 6 atm 90 นาที ที่ 71 ˚c   และอีก 30 นาที ที่ 93 ̊c
  9. เข้าเครื่องอัดแรงดันอากาศสูง 1.6 atm เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  10. เข้าเครื่องเขย่า 30 นาที  ที่ความถี่เปลี่ยนไปมา ระหว่าง 5-2000 รอบ ต่อวินาที และที่ 5 รอบ ต่อวินาที อีก 15 วินาที
  11. ยิงคลื่นเสียงที่มีความถี่ 130 db. เป็นเวลา 30 นาที

       หลังการทดสอบหฤโหดนี้   ปรากฏ ROLEX หยุดเดิน 2 ครั้ง และเข็มงอม้วนเข้าหากัน ในตู้อบความร้อน ..... ไม่ผ่านการทดสอบ    LONGINES กระจกหน้าปัดกระเด็นออกจากตัวเรือน เปลี่ยนตัวใหม่เข้าทดสอบต่อ ก็เป็นเช่นเดิม .... ไม่ผ่านการทดสอบ

ยี่ฮ้ออื่นๆ ก็มีอันเป็นไปทุกยี่ฮ้อ  เหลือรอดมาเพียงเรือนเดียวคือ OMEGA SPEEDMASTER CAL.321  อาการที่ปรากฏอยู่บ้างก็คือ สูญเสียการเที่ยงตรง ในการทดสอบความเร่ง และทดสอบสุญญากาศ แต่อยู่ในระดับที่รับได้ และมีอาการพรายน้ำที่หน้าปัดเป็นรอยไหม้  แต่อย่างอื่นปกติ .....  จึงเป็นยี่ฮ้อเดียวที่ผ่านการทดสอบ และได้รับกบรรจุให้เป็นอุปกรณ์หลักในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo ของ naza  โดย omega speedmaster cal.321

ได้ถูกใช้ในโครงการ Gemini 3 เป็นครั้งแรก     ซึ่งต่อมาในปี 1966 omega ได้เพิ่มคำว่า professional ( แปลว่า มืออาชีพ ) ต่อจากคำว่า speedmaster บนหน้าปัด เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง การยอมรับจาก naza และเป็นเกียรติประวัติของ omega เป็นอย่างยิ่ง

 

          ในปี 1975 มีโครงการอวกาศร่วมกันระหว่าง สหรัฐ กับสหภาพโซเวียตรัตเซีย  ในการนำยานอวกาศ apoollo เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ soyus ของโซเวียตรัตเซีย   นักบินอวกาศทั้งสองค่าย มีการจับมือกันกลางอวกาศ และเซนต์เอกสารร่วมกันเป็นที่ระลึก ซึ่งเป็นที่แปลกใจว่า นักบินอวกาศ ทั้งสองค่ายต่างใช้นาฬิกา omega speedmaster เหมือนกัน  แสดงว่า นาฬิกา omega รุ่นนี้เป็นที่ยอมรับทั้งสองค่าย

 

 

 

            Omega speedmaster cal.321 โด่งดังอย่างต่อเนื่อง  จนถึงปี 1968  omega speedmaster ได้ถูกเปลี่ยนไปใช้เครื่องรุ่นใหม่ เป็น caliber 861  เนื่องจากผู้ผลิตเดิมเลิกทำการผลิตเครื่องรุ่น 321

                มีข้อมูลระบุว่า naza ได้ทำการสั่งซื้อนาฬิกา omega speedmaster cal.321 ตั้งแต่เริ่มโครงการ Gemini 3 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น 97 เรือน โดยสูญหาย 17 เรือน  ถูกใช้ในโครงการ 60 เรือน  และอยู่ในการเก็บดูแลรักษา เพื่อพร้อมใช้ อีก 20 เรือน   ดังนั้น ถึงแม้ omega speedmaster cal.321. จะเลิกผลิตในปี 1968 แล้วก็ตาม

แต่ naza  ก็ยังคงมี omega speedmaster cal.321 สำรองไว้อีก 20 เรือน ซึ่งเพียงพอกับการใช้งาน ในโครงการ Apollo 11

                จึงน่าสรุปได้ว่า นาฬิกา omega speedmaster ทั้งหมดที่ถูกใช้งาน ในอวกาศ และบนดวง

จันทร์ ของ naza ใช้ CAL.321 เท่านั้น

 

  พีรพงศ์

                                                                                                                               14 เมษายน 2553

คำสำคัญ (Tags): #นาฬิกาโบราณ
หมายเลขบันทึก: 354716เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2010 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท