ระดับภาษา


ระดับภาษา

ระดับภาษา                 ในการใช้ภาษาให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมายเราจะต้องคำนึงถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลโอกาส กาลเทศะ ประชุมชน และเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมการแบ่งภาษาเป็นระดับต่าง ๆ การแบ่งภาษาเป็นระดับต่าง ๆ มี ๓ ลักษณะ คือ ๑.แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นแบบแผน และระดับไม่เป็นพิธีการ๒.แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ และระดับไม่เป็นพิธีการ

๓.แบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง

ดังแสดงให้ดูตามตารางข้างล่างนี้

ภาษาระดับที่เป็นแบบแผน ภาษาระดับที่ไม่เป็นแบบแผน
ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับไม่เป็นพิธีการ
ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับกันเอง

 

ในหนังสือเล่มนี้ จะแบ่งให้ละเอียดยิ่งขึ้นเป็น ๕ ระดับ ดังนี้

ภาษาระดับพิธีการ                ภาษาระดับนี้จะใช้สำหรับสื่อสารในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวคำปราศัย เป็นต้น ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ หรือมีตำแหน่งสูงในวงการนั้น ผู้รับสารเป็น บุคคลในวงการเดียวกันหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ อาจจะเป็นประชาชนทั่วประเทศ ใช้ถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะสละสลวย และก่อให้เกิดความจรรโลงใจเป็นส่วนใหญ่ ผู้กล่าวหรือผู้ส่งสารจึงต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์ และใช้วิธีการอ่านต่อหน้าประชุมภาษาระดับทางการ                ภาษาระดับนี้ใช้ในการบรรยาย การอภิปราย หรือการเขียนข้อความที่เสนอต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้ภาษาระดับนี้เป็นผู้ที่อยู่ในวงการเดียวกัน ส่วนใหญ่จึงเป็นไปในด้านธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงมักตรงไปตรงมามุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยเร็ว แต่อาจมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการบ้าง แต่จะไม่ใช่คำฟุ่มเฟือย หรือเล่นคำแพรวพราว เป็นภาษาที่มีแบบแผนในการใช้                  ภาษาระดับกึ่งทางการ                ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง เพื่อแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารให้กระชับมั่น เช่น การประชุมกลุ่มเล็ก การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บุคคลที่ไม่ได้เรียนรู้ในด้านนั้น ๆ โดยตรง รับสารได้เข้าใจตรงกับจุดประสงค์ของผู้ส่งสารภาษาระดับไม่เป็นทางการ                ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล หรือกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ อาทิ การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การายงานข่าว และการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ก็ใช้ภาษาระดับนี้ ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้นภาษาระดับกันเอง                ภาษาระดับนี้เป็นภาษาที่ใช้ในวงจำกัด อาทิ บุคคลในครอบครัว หรือใช้ระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เนื้อหาไม่มีขอบเขตจำกัด จึงมักใช้ในการพูดจากัน ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะอาจมีคำคะนองหรือคำภาษาถิ่นก็ได้                การแบ่งภาษาเป็น ๕ ระดับ มีข้อควรสังเกตบางประการดังนี้                .พิจารณาจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการสื่อสารแล้วนำมาจัดระดับเพื่อทำให้เข้าใจได้ง่าย                .บุคคลแต่ละคนอาจไม่มีโอกาสใช้ภาษาครบทั้ง ๕ระดับ                .หากใช้ภาษาต่างระดับกันโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร ผู้รับสารอาจมองไปว่า ผู้ส่งสารเสแสร้ง ไม่จริงใจ หรือไม่รู้จักกาละเทศะก็ได้                ดังนั้นนักเรียนพึงสำเหนียกว่า ภาษาของมนุษย์มีหลายระดับ การที่จะตัดสินว่าใช้ดีหรือไม่ถูกต้องหรือไม่ หรือเหมาะสมหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึง โอกาส กาลเทศะ และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ใช้ภาษา เราจึงจะใช้ภาษาไม่ผิดระดับ การสื่อสารก็ไม่เกิดผลเสียปัจจัยที่กำหนดระดับของภาษาปัจจัยที่กำหนดระดับของภาษา มีดังนี้.โอกาสและสถานที่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ใช้ภาษาต่างระดับกันถ้าใช้สื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าพูดกันในตลาด ร้านค้า หรือที่บ้านก็จะใช้ภาษาต่างระดับออกไป.สัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลมีสัมพันธภาพหลายลักษณะ จึงเป็นปัจจัยให้ระดับภาษาต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องยึดหลัก โอกาสและสถานที่ด้วย  เพื่อนสนิทเมื่อพูดในที่ประชุมย่อมไม่สามารถใช้ภาษาระดับสนทนากันได้.ลักษณะของเนื้อหา  เนื้อหาของสารย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสไม่น้อย เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เป็นต้น ก็ไม่นำไปใช้กับภาษาระดับพิธีการหรือระดับราชการ ถึงแม้ว่าเนื้อความในทำนองเดียวกันอาจใช้ภาษาให้ต่างกันไปได้ ๕ ระดับ แต่เนื้อหาบางชนิดถ้าภาษาไม่เหมาะสมก็ทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จดังต้องการ.สื่อที่ใช้ สื่อที่ใช้ในการส่งสารก็ทำให้เปลี่ยนระดับสารได้ เช่น จดหมายปิดผนึกกับไปรษณียบัตร ระดับภาษาที่ใช้ก็ต้องต่างกัน หรือเมื่อพูดด้วยปากกับพูดด้วยเครื่องขยายเสียงย่อมต่างจากภาษาที่พูดทางวิทยุกระจายเสียงหรือทางโทรทัศน์ เป็นต้นลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ                  การสังเกตลักษณะของภาษาในระดับต่าง ๆ พอสรุปข้อแตกต่างได้ดังนี้ คือ                .การเรียบเรียง ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการ จะเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ ภาษาระดับกึ่งทางการก็จะลดความเป็นระเบียบลง ภาษาระดับสนทนาและระดับกันเอง ก็จะหย่อนความเป็นระเบียบลงตามลำดับ                .กลวิธีการนำเสนอ  ภาษาระดับพิธีการ  และระดับทางการจะนำเสนออย่างกลาง ๆ ไม่เจาะจงว่าผู้ใดเป็นผู้ส่งสารและผู้ใดเป็นผู้รับสาร ถ้าจำเป็นต้องกล่าว ก็จะกล่าวในฐานะเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลหรือกล่าวในนามของตำแหน่งนั้น ๆ ภาษาระดับกึ่งทางการอาจมีการนำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องได้บ้างส่วนภาษาระดับสนทนา และภาษาระดันกันเองนั้นเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล                .ถ้อยคำที่ใช้ ในภาษาไทยมีถ้อยคำที่แสดงความลดหลั่นตามระดับของภาษาอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคำ ๗ ชนิด  ตามที่เคยเรียนทาแล้วจึงมีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความลดหลั่นตามระดับของภาษาดังนี้                คำสรรพนาม ภาษาระดับพิธีการและระดับกึ่งทางการใช้ ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน ท่าน ท่านทั้งหลาย ส่วนภาษาระดับสนทนา และภาษาระดับกันเองใช้สรรพนามต่าง ๆกันได้มาก อาทิ กัน เรา หนู ผม ดิฉัน เธอ คุณ แก ตัว ฯลฯ และอาจใช้คำนามแทนคำสรรพนามก็ได้ อาทิ แดง  แมว ครู หมอ พ่อ แม่ ป้า ฯลฯ                คำนาม มีนามทั่วไปหลายคำที่ใช้แตกต่างกันไปตามระดับภาษา ดังนี้

ระดับพิธีการและทางการ ระดับกึ่งทางการลงไป
โรงภาพยนตร์ช่องเดินรถประจำทางใบอนุญาตขับรถยนต์ควงตราไปรษณียากร โรงหนังบัสเลนส์ใบขับขี่แสตมป์

 สำหรับชื่อเฉพาะนั้นในภาษาระดับทางการขึ้นไป การใช้ชื่อเต็มและลักษณนามต้องระมัดระวังและใช้ให้ถูกต้อง                คำกริยา ในภาษาไทย มีคำกริยาที่แสดงระดับต่าง ๆ ของภาษาอย่างเห็นได้ชัด เช่น คำว่า ตาย อาจใช้สวรรคต  สิ้นพระชนม์  สิ้นชีพิตักษัย  สิ้น เสีย ถึงแก่กรรม มรณภาพ เป็นต้น แต่สำหรับคำกริยาบางคำทั่ว ๆ ไป เราใช้กันอย่างหนึ่ง แต่ถ้าใช้ให้เป็นทางการก็จะใช้อีกอย่างหนึ่ง  เช่น ตีตรา (ประทับตรา) ออกลูก (คลอดบุตร) เผาศพ (ฌาปนกิจศพ) เป็นต้น                คำวิเศษณ์  บางคำใช้ขยายคำกริยา หรือขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันมีใช้มากในภาษาระดับไม่เป็นทางการ และภาษาระดับกันเอง ในภาษาระดับทางการขึ้นไปเกือบไม่ใช้เลย คำวิเศษณ์เหล่านี้มักเป็นคำบอกลักษณะหรือแสดงความรู้สึกที่มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นกว่าปกติ อาทิ หวานจ๋อย เปรี้ยวจี๊ด ขมปี๋ เหลืองอ๋อย  แดงแจ๋ ฯลฯ                สำหรับคำชนิดอื่น ๆ อาทิ คำบุพบท คำสันธาน และคำสรรพนามที่ใช้เชื่อม มักจะไม่ทำให้ภาษาเปลี่ยนระดับ                คำว่า คะ ครับ ซิ นะ เถอะ มักใช้ในภาษาระดับไม่เป็นทางการ และภาษาระดับกันเอง                คำว่า ยังงั้น ยังงี้ ยังไง ใช้พูดเฉพาะภาษาระดับกึ่งทางการลงมา ถ้าพูดในภาษาระดับทางการขึ้นไป ควรออกเสียงให้ชัดว่า อย่างนี้ อย่างนั้น อย่างไร   *อ้างอิง  บริษัทสำนักพิมพ์สื่อการเรียนการสอน   จ. ชัยภูมิ     

คำสำคัญ (Tags): #ระดับภาษา
หมายเลขบันทึก: 35324เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
ขอเป็นนักเรียน ของคุณครูสายด้วยคนนะคะ วันนี้คุณครูกรุณาลงข่าวสารงาน " รวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย ปี 2549 " ขอบคุณคะ
ขอบคุณพี่มากนะครับพี่ ที่ให้ความรู้เรื่องระดับภาษา ขอบคุณที่พี่เอาสิ่งดีๆ มาฝากถึงแม้พี่จะไม่ได้สอนด้วยตัวเองแต่ก็ทำให้ผมเข้าใจเรื่องระดับภาษามากขึ้น ขอบคุณพี่มั่กๆ นะครับ ผมและเพื่อนขอเป็นกำลังใจให้พี่ต่อไปนะครับ....... ขอบคุณมากๆ ครับ
ขอตัวอย่างได้ป่าวคะว่าเเต่ละระดับมีประโยคยาวๆว่าอย่างรัยพอดีอาจารย์ให้ทำรายงานที่เป็นตัวอย่าง

ขอตัวอย่างได้เปล่าคับพอดีอยากรู้

 

ทำไมไม่มีตัวอย่างทำงานส่ง จารย์ไม่ได้เลย

อือ อือ

ขอตัวอย่างด้วย .....................

ขอตัวอย่างของแต่ระดับด้วยครับ.....ขอบคุณครับ

อยากดั้ยตัวอย่างทั้ง 5 อย่างเลยอ่ะค่ะ

จะดั้ยทำรายงานส่งอาจารย์

ช่ยหน่อยนคะ

ขอบคุณค่ะ

 

ขอตัวอย่างระดับทางภาษาแบบพิธีการได้ไหมค่ะ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ สายสิน สุดโหด ~`*

คิๆ

ผมขอดูตัวอย่างของภาษาระดับได้ไหมคับอย่างได้เยอะๆเลย

อยากได้ ตัวอย่างอ่าค่ะ

ถ้ามีตัวอย่าง จะดีมาก เรย ค่ะ

ขอบคุน ค่ะ

ขอดูตัวอย่างขอภาษาทุกระดับค่ะ

อยากได้ตัวอย่างระดับภาษาที่ง 5 ภาษาค่ะ ช่วยหน่อยนะ จะส่งครูพรุ่งนี้แล้ว ช่วยด้วย ช่วยด้วย เอามาวันนี้ก็ดีค่ะ

อยากได้ตัวอย่างภาษาระดับทางการ กึ่งทางการ และไม่เป้นทางการอ่ะคับ อย่างละ20คำบ ต้องการมากมาย หาในเวปเท่าไรก้อไม่เจอ

ลองเข้าไปค้นใน Web ของราชบัณฑิตยสถาน

อยากได้ตัวอย่างภาษาระดับพิธีการ ทางการ กึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง กับอาจารย์มากคะ

ทำไมไม่มีตัวอย่าง ทีหลังทำไวบ้าง โมโห

ขอตัวอย่างด้วย

อยากได้ตัวอย่างอ่ะ

จะทำงานส่งให้ครู

ภาษาเป็นทางการ ภาษาไม่เป็นทางการ

ไม่รอบคอบ ไม่ดูตาม้าตาเรือ

ไม่ทราบข้อเท็จจริง ไม่รู้เรื่องรู้ราว

ซ้ำซาก ซ้ำๆ ซากๆ

มีบุตร มีลูกมีเต้า

น้อยใจ น้อยอกน้อยใจ

ติดใจ ติดอกติดใจ

มีความประสงค์ มีความต้องการ

บริการเต็มที่ รับใช้เต็มที่

เรียนให้ทราบ บอกให้รู้

กล่าวเท็จ พูดโกหก

กรณีอีสาน เรื่องอีสาน

อนุเคราะห์ ช่วยเหลือ

คณิตกรณ์ คอมพิวเตอร์ (computer)

วีดิทัศน์ วีดิโอ (video)

โทรภาพ โทรสาร แฟกซ์ (fax: facsimile)

แถบบันทึก แถบ เทป (tape)

ห้องปรับอากาศ ห้องแอร์ (aircondition)

บริการ เสิร์ฟ (serve service)

ทัศนะ ความคิด ไอเดีย (idia)

สนับสนุน ล็อบบี้ (lobby)

วัวควาย โคกระบือ

ซี (xerox) ถ่ายสำเนาเอกสาร

ก็อบ (copy) สำเนา ต้นฉบับ

เอ็น (entrance) สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ตั๋ว (ภาษาจีน) บัตร

พลอยไพิน เเก้วเดียว

อยากได้ตัวอย่างคำมาดู

เพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะค่ะ


อยากได้ภาษากึ่งทางการ

 

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้หนู ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท