วิมุตติ 5 - จัดระบบพฤติกรรมดีแห่งตน


วิมุตติ 5 คือ หลักธรรมเกี่ยวกับความหลุดพ้น มีความหมายเทียบเคียงนิโรธ 5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอริยสัจจ์ 4 ว่า การแก้ปัญหาย่อมเป็นไปได้ และจะต้องทำให้สำเร็จถึงจุดหมาย - อ้างอิงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์, 2545

หกวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ไทย 2553...ผมอยู่คนเดียวที่บ้าน พักผ่อนเต็มที่ ทำงานอาจารย์บ้าง ดูทีวี ซื้อของให้ครอบครัว ทานอาหารที่ชอบ และจบลงด้วยการสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรผู้ใหญ่

แต่ช่วงเวลาส่วนใหญ่จะวนเวียนกับการดูทีวี ซึ่งมีแต่เรื่องราวความทุกข์ในบ้านเมือง เกิดจากการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางสังคมที่เกิดสภาวะที่บกพร่องทางจิตสังคม ได้แก่ ความไม่รู้จักทบทวนตนเองถึงเป้าหมายของการกระทำนั้นๆ ว่าเกิดคุณค่าแก่ส่วนรวมอย่างไร รวมถึงความไม่รู้จักการวางแผนจัดการความคิดอย่างมีระบบ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับการสื่อสารด้วยเหตุผลจนถึงการกระทำที่มีความหมายได้

บังเอิญผมเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ ในรายการ หนี้บุญคุณ ตอน เจียดเวลาหาสุข จำชื่อวิทยากรไม่ได้ แต่รู้สึกว่า ผมเกิดความคิดที่ดีในการนำหลักธรรมวิมุตติ 5 มาใช้ปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ผมได้ค้นคว้าต่อในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์, 2545 และพยายามค้นคว้าข้อมูลทาง Internet ก็มีเวปไซด์หนึ่งที่นำเสนอข้อมูลง่ายขึ้นที่ http://learners.in.th/blog/yuyeeyuyeeyuyee/241714

ผมจึงอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้อง G2K เพื่อได้นำสาระจากบันทึกนี้ไปใช้ต่อยอดอย่างมีความสุขหลังสงกรานต์ไทยครับ

วิมุตติ 5 คือ หลักธรรมแห่งความหลุดพ้น 5 ประการ ซึ่งอยู่ในหมวดธรรมของอริยสัจ 4 ที่เกี่ยวกับ "นิโรธ คือ การตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงของชีวิตให้ถึงการดับทุกข์และการเกิดความสุข" ดังนั้นเราทุกคนควรทำความเข้าใจถึงความหลุดพ้นรวม 5 ประการ คือ  

1) การฝึกจิตจดจ่อหรือมีสมาธิต่อการคิดดี ทำดี พูดดี ในทุกเวลา ทุกสถานที่ และทุกโอกาส เพื่อหลุดพ้นจากกิเลส (ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ - อ่านเพิ่มเติมที่  http://th.wikipedia.org/wiki/กิเลส ) 

2) การฝึกให้อภัยเพื่อหลุดพ้นจากความโกรธ การฝึกให้ทานเพื่อหลุดพ้นจากความโลภ และการฝึกเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทนเพื่อหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว

3) การฝึกปฏิบัติมรรค 8 เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งสิ้นด้วยการปฏิบัติหนทางถึงการดับทุกข์ 8 ประการ ซึ่งดูเพิ่มเติมที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มรรค_๘ และอาจกล่าวง่ายๆ คือ การปฏิบัติด้วยศีล สมาธิ และปัญญา

4) การฝึกหลุดพ้นให้เป็นอิสระด้วยการเห็นผลของการกำจัดกิเลสนั้นๆ จาก 3 ข้อข้างต้น

5) การฝึกหลุดพ้นจาก 4 ข้อข้างต้น จนเข้าสู่ภาวะนิพพาน หรือ ไร้ทุกข์อย่างอิสระแท้จริง ซึ่งดูเพิ่มเติมที่ http://th.wikipedia.org/wiki/นิพพาน

หลังจากผมค้บคว้าและทำความเข้าใจข้อมูลข้างต้นแล้ว...ผมลองปฏิบัติกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมอย่างที่ตนเองถนัดเสริมกับพุทธศาสตร์ เช่น พาน้องไปตัดแว่นใหม่และรูดการ์ดให้ด้วยการฝึกให้ทาน นำหนังสือที่ตนเองรักให้เพื่อนรักได้อ่านโดยไม่หวังว่าจะรับคืนด้วยการฝึกเสียสละ และการคิดดี ทำดี พูดดี ในการนำดอกไม้มาให้ครอบครัวรดน้ำขอพรจากคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ ตามลำดับ ดังรูปภาพข้างล่าง

           

หมายเลขบันทึก: 352106เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2010 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท