ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้


ยาที่ใช้ป้องกันและรักษาเนื้อไม้

ยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. ประเภทน้ำมัน (Tar-oil preservatives) องค์ประกอบที่สำคัญของตัวยาคือ ครีโอโซท เป็นส่วนที่กลั่นจากน้ำมันดินที่ได้จากถ่านหิน ใช้ป้องกันพวกเชื้อรา เหมาะสำหรับไม้ที่ใช้ภายนอกอาคาร ไม้ที่สัมผัสกับผิวดิน กลางแจ้งหรือในน้ำ ข้อเสียของน้ำยาประเภทนี้ คือมีกลิ่นเหม็น มีสีดำ เมื่อทาแล้วทำให้ผิวไม้สกปรก ทาสีทับไม่ได้ ข้อดีคือ ราคาถูก นิยมใช้กันมากกับไม้หมอนรถไฟ รั้วบ้าน

  2. ประเภทเกลือเคมีละลายน้ำ (Water-borne preservatives) เป็นยารักษาเนื้อไม้ที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย สามารถป้องกันการทำลายไม้ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยการอาบน้ำยาไม้ด้วยสารละลายอนินทรีย์ในน้ำ ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของแมลงและเชื้อรา มีการใช้เกลือหลายชนิดผสม เกลือเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับสารในเนื้อไม้หรือทำปฏิกิริยากันเอง ได้สารที่ไม่ละลายน้ำติดแน่นอยู่ในเนื้อไม้ ทำให้ไม้มีอายุใช้งานยาวนาน สูตรน้ำยารักษาเนื้อไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ยารักษาเนื้อไม้ประเภทคอปเปอร์/โครม/อาร์ซินิก หรือ ซีซีเอ น้ำยานี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ต่อมาพบว่า อาร์ซีนิก มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จึงใช้สารประเภทโบรอนแทน ซึ่งไม้ที่อัดน้ำยาประเภทนี้ด้วยวิธีที่เหมาะสมจะมีประสิทธิภาพทนนาน ไม่มีกลิ่นฉุน ล้างน้ำได้หลังจากทิ้งไว้ให้แห้ง ทาสีทับได้ จึงนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

  3. ประเภทเกลือเคมีในสารละลายอื่น (Solvent type preservatives) เป็นสารออกฤทธิ์จำพวกสารอินทรีย์ละลายในตัวทำละลาย สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เพนตะคลอโรฟีนอลและอนุพันธ์ คอปเปอร์แนพทีเนต หรือบางสูตรผสมสารที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ เช่น เรซินสังเคราะห์ และไขผึ้ง น้ำยาประเภทนี้มีราคาแพงกว่าน้ำยาประเภทอื่น ข้อดีคือไม่ทำให้ไม้บวมหรือบิดงอ และตัวทำละลายจะละลายไปได้เร็วหลังจากน้ำยาแห้ง

 

หมายเลขบันทึก: 352092เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2010 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท