ความเชื่อมั่น(Reliability)


แบบทดสอบที่นิยมใช้คือวิธีแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson)มีอยู่ 2 สูตรคือ KR.-20 และKR.21
ความเชื่อมั่น(Reliability)แบบทดสอบที่นิยมใช้คือวิธีแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson)มีอยู่ 2 สูตรคือ KR.20 และKR.21 เมื่อวิเคราะห์ข้อสอบและได้ข้อสอบที่ทุกข้ออยู่ในเกณฑ์ ค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ .20-.80 และค่าอำนาจจำแนก(r) ตั้งแต่ .02 ขึ้นไป (ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม) เมื่อเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ จะมีค่าความยากง่ายของการสอบก่อนเรียนไม่เกิน .40 และหลังเรียนเกินกว่า .75 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.0 ขึ้นไป แล้วจึงนำแบบทดสอบทั้งฉบับไปทดลองสอบใหม่ เพื่อหาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบทดสอบนั้นต่อไป การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ 1. ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ 1.1 การวัดความมีเสถียรภาพ โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันไปสอบ กับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่ง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาต่างกันตามความเหมาะสม (เพื่อให้ผู้สอบลืมจากการสอบครั้งแรก) แล้วนำคะแนนทั้งสองครั้งมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเปียร์สัน เรียกว่า"การหาความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบซ้ำ" 1.2. การวัดความคล้ายกัน โดยการใช้แบบทดสอบคู่ขนาน จำนวน 2 ฉบับ ทดสอบกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ฉบับละ 1 ครั้ง แล้วนำคะแนนจากการสอบทั้ง 2 ฉบับ มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเปียร์สัน 1.3. การวัดความคงที่ภายใน ด้วยการใช้แบบทดสอบเพียงฉบับเดียว สอบครั้งเดียว แล้วนำคะแนนมาคำนวณตามทฤษฎีต่าง ๆ เช่น 1.3.1 การแบ่งครึ่งจำนวนของข้อสอบ นำคะแนนจากแบบทดสอบข้อคี่ และข้อคู่มาหาค่าสหสัมพันธ์แบบเปียร์สัน เมื่อได้ค่าเท่าใดแล้วขยายเป็น 2 เท่า เพื่อให้เป็นค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร r(tt)=2r(hh)/(1+r(hh)) เมื่อ r(tt) แทนความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ r(hh) แทนความเชื่อมั่นของแบบทดสอบครึ่งฉบับที่คำนวณได้ในชั้นแรก 1.3.2 ใช้สูตร KR.20 วิธีนี้จะนำคะแนนจากการสอบเพียงครั้งเดียว โดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน ดังนี้ r(tt)=(k/(k-1))(1-∑pq/s2) เมื่อ r(tt) แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k แทน จํานวนข้อสอบ p แทน สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกในแต่ละข้อ q แทน สัดส่วนของผู้ที่ตอบผิดในแต่ละข้อ S แทน ความแปรปรวนของคะแนนของแบบทดสอบ 2 แทน เลขยกกำลัง 1.3.3 ใช้สูตร KR.21โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) r(tt)=ks2-x(k-x)/(k-1)s2 r(tt) แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ k แทน จํานวนข้อสอบ x แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนของแบบทดสอบ S แทน ความแปรปรวนของคะแนนของแบบทดสอบ 2 แทน เลขยกกำลัง 1.3.4 ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา... 2.การหาความเชื่อมั่นแบบอิงเกณฑ์ เป็นการตตรวจสอบนั้นมีสมบัติที่สามารถจำแนกกลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อน ได้อย่างคงเส้นคงวา เพียงไร 2.1 ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน โดยทดสอบนักเรียนกลุ่มละครั้ง แล้วคำนวณสัดส่วนของความสอดคล้องในการตัดสินความรอบรู้ ด้วยการหาผลรวมของสัดส่วน จำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ ทั้ง 2 ครั้ง กับสัดส่วนของจำนวนผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ 2.2 การสอบซ้ำ โดยใช้แบบทดสอบ 1 ฉบับไปสอบกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง เป็นจำนวน 2 ครั้ง หรือการใช้แบบทดสอบคู่ขนาน และใช้สัมประสิทธิ์แคปปา 2.3 ใช้วัดความคงที่ภายใน โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียว และทำการทดสอบกับนักเรียนเพียงครั้งเดียว ด้วยสูตรของลิวิงตัน.... #อ้างอิง :การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ ผศ.ปรีชา สนธิรักษ์ ,2543#
หมายเลขบันทึก: 35195เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ได้ความรู้เพิ่มแล้วค่ะก้อย ดีมากเลย

ชื่องาน รายงานการสร้างนวัตกรรมแบบฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์

และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ

กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์

สำนักงานเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ชื่อผู้รายงาน นางภิญโญ ลักษณะวิลาศ

ปีการศึกษา 2553

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ และเปรียบเทียบความสามารถด้านการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ

1. แบบฝึกทักษะการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 การบวก ตอนที่ 2 การลบ ตอนที่ 3 โจทย์ปัญหา พร้อมแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน ซึ่งเป็นแผนการใช้ชุดฝึก มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) และด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 86.32 /81.20

2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้แบบฝึกการบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท