ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เศรษฐกิจชุมชนกับการจัดการความรู้


ปัญหาการจัดการ KM

สวัสดีครับ พี่น้องชาว KM  ทุกท่านKM ครั้งที่ 6 มีคำถามจากอาจารย์ Susu Nousala  ถามว่าด้านเศรษฐกิจของชุมชนมีผลต่อการจัดการความรู้อย่างไร?

ตอบ ด้านเศรษฐกิจ นับเป็นหัวใจสำคัญในการดำรงชีพ เพราะในการที่คนเราจะให้ความร่วมมือในการทำงานที่ดีนั้น แน่นอนครอบครัว และความเป็นอยู่ของตนเองต้องมักจะมาก่อนเสมอ ผมจึงเรียนอาจารย์ไปว่า แน่นอนครับการที่คนเราอยู่ในสังคมเดียวกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่เหมือนกัน บ้างก็มีคนที่ฐานะดี บ้างก็ค่อนข้างขัดสน ดังนั้นในการไปเก็บข้อมูลในชุมชนจึงเป็นเรื่องยากที่จะให้ทุกคนให้ความร่วมมือและสนใจเท่าเทียมกัน คนที่มีฐานะไม่ค่อยดีมีขัดสนอาจจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เนื่องจากต้องดิ้นรนในการทำงานเพื่อหาเงินในการดำรงชีพของตนและครอบครัว แต่ในขณะเดียวกันคนที่มีฐานะดีมีความเป็นอยู่ที่ดีมักจะให้ความร่วมมือที่ดี แต่บางคนก็ไม่ยอมเสียสละเวลามาร่วมในการทำงานเช่นกัน อย่างไรก็ตามในการที่บอกว่าคนเรารวยหรือจนนั้นต่างก็ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่ถ้าทุกคนมีจิตใจที่เป็นสาธารณะบ้างก็จะทำให้สังคมเรานั้นเจริญก้าวหน้าต่อไป

ท่านผู้อ่าน หรือท่านผู้รู้ เห็นเป็นอย่างไรครับ ไม่ทราบว่าผมตอบถูกหรือไม่ หากท่านจะกรุณาในการที่จะเสนอแนะจะเป็นพระคุณยิ่งพบกันวันพรุ่งนี้นะครับขอบคุณครับ 
หมายเลขบันทึก: 35186เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เมื่อมองถึงเศรษฐกิจชุมชนกับการจัดการความรู้แล้วในทัศนะของผมมองเรื่องนี้ออกเป็นสองส่วน คือ

1. เศรษฐกิจชุมชน เป็นเรื่องของการผลิต การจำหน่าย การบริโภคของคนในชุมชนโดยการนำเอาทรับพยากรที่มีอยู่ในชุมชนในใช้โดยคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชน และทำโดยคนในชุมชน และตามความต้องการของชุมชนให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียงและยังยื่น

ฉะนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าเศรษบกิจชุมชนนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากฐานราก เกิดจากการนำเอาทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางปัญญา

2. ต่อประเด็นการจัดการความรู้ นั้นจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจชุมชนนั้นเกิดจากความต้องการของชุมชน ในอันที่จะผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายให้กับคนในชุมชน โดยการนำเอา"ทุน" ในที่นี้มิใช้แค่เงินแต่หมายรวมเอาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นทุนทางปัญญา ที่ได้รับการสั่งสมมาประยุกต์เป็นวัตกรรมใหม่ของชุมชน รวมถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน นั้นคือความรัก ความเป้นเครือญาติ ความเอื้อเฟื้อ ฉะนั้นแล้วความรู้หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ เมื่อผนวกเข้ากับเศรษฐกิจชุมชนแล้วจึงนับได้ว่าเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำพาชุมชนให้สามารถเดินอยู่ได้ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นั้นเพราะว่าระบบเศรษฐกิจชุมชนนั้นมิใช้การมองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือการมองหรือคิดแบบแยกส่วนแต่เป็นการมองแบบองค์รวมต่างหากละที่สามารถจัดการองค์ความรู้ที่เกิดจากทุนทางปัญญาของชุมชนอย่างแท้จริงที่สามารถผูกโยงระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆให้เข้ากันได้ด้วยการพึงพา พอเพียง เป็นสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท