จั๊กจั่นในประเทศไทยลดลงมาก


จั๊กจั่นในธรรมชาติของประเทศไทยกำลีงลดลง

 

 

 

ภาพนี้ไปเจอที่ตลาด เลยขอถ่ายรูปมาให้ดู

 

     หน้าร้อนของทุกปีจะได้ยินเสียงของจั๊กจั่นระงมไปทั้งป่า จำได้ว่าตินเด็กๆเคยไปจับจักจั่น เอามาทำอาหาร แซ่บหลาย แต่พอปีนี้ แทบจะไม่ได้ยินเลยรู้สึกแปลกใจมาก เพียงระยะเวลา สิบกว่าปีจั๊กจั่นลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ ก็เลยลองค้นข้อมูลดูพบว่า ที่จั๊กจั่นลดลงอย่างมากเพราะ เราทำลายป่า ถางป่าที่อยู่อาศัยของจั๊กจั่น ทำให้มันไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ จั๊กจั่นเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างยาว โดยมีระยะไข่ 4 เดือน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ หลังจากนั้นก็จะมุดลงดินกลายเป็นตัวอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชจากรากที่อยู่ใต้ดิน ใช่เวลาถึง 4-6 ปีในระยะนี้ แล้วก็ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยขึ้นมาจากดิน (ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร) ดังนั้นการตัดต้นไม้เพื่อทำการเกษตร เช่นปลูกป่าเศรษฐกิจ ปลูกยางพารา ปลูกยูคา ทำไร่  ทำให้ตัวอ่อนจั๊กจั่นที่อยู่ในดินไม่มีอาหารมันจึงตายในที่สุด จากภาพด้านบนเป็นภาพไข่จั๊กจั่นที่มีชาวบ้านนำมาขาย ขืนเป็นอย่างนี้ต่อไปเราคงได้เรียนรู้เรื่องจั๊กจั่นจากพิพิธภัณธุ์แน่ๆ ผมขอวิงวอนให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ไว้ โดยการไม่ซื้อไข่จั๊กจั่นหรือ ตัวจั๊กจั่นเอง พอไม่มีคนซื้อ ก็ไม่มีคนขาย ช่วยกันคนละไม้ละมือคงจะทำให้จั๊กจั่นในบ้านเราสูญพันธุ์ช้าลง

 

    

หมายเลขบันทึก: 350783เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2010 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนเป็นเด็ก...เคยกินข้าวเหนียวคลุกไข่จั๊กจั่น....มันจะมีสีเหลือง....คล้ายไข่ไก่บ้าน... แต่ไม่รู้ว่า...วงจรชีวิตของมันยาวนานขนาดนี้.... และที่ตลาดก็ไม่เคยเห็นวางขายนะ... เราควรช่วยกันอนุรักษ์มันไว้... จะให้เด็กค้นหาวงจรชีวิตของมัน...ทำความเข้าใจ.... ขอบคุณข้อมูลดี ๆ...นะคะ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท