บรอดแบรนด์ (Broadbanding) คือ อะไร?...


บรอดแบรนด์ (Broadbanding) คือ อะไร?...

"บรอดแบรนด์ (Broadbanding) คืออะไร?..."

ปัจจุบันเราจะสังเกตว่า จากยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการเพื่อไปสู่สากลนั้น ทำให้เราเห็นถึงว่าในยุคปัจจุบันการทำงานจะมีคำซึ่งเป็นภาษาอังกฤษเข้ามาในการทำงานของระบบราชการไทยเราค่อนข้างมาก แต่ในระบบราชการไทยก็ยังมีข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ค่อยสันทัดกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากล (เหตุที่รัฐต้องนำศัพท์ภาษาอังกฤษเข้ามาเกี่ยวพันกับการทำงานของระบบราชการ ก็เพราะเพื่อเป็นการนำประเทศไทยและบุคลากรของประเทศไทยเข้าสู่สากลค่ะ) ...ผู้เขียนคิดว่าสำหรับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในอนาคตนั้น ควรเหมาะกับข้าราชการยุคใหม่ ซึ่งจะต้องมาสานฝันให้กับประเทศไทยที่จะก้าวไปสู่สากลให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของภาครัฐ ถึงแม้ข้าราชการไทย อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สันทัดกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ท่านก็คงต้องหมั่นฝึกฝนตนเองเพื่อให้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทยว่าจะมีการก้าวเดินไปในทางทิศใด...โดยบันทึกนี้ ผู้เขียนจึงขอนำคำว่า บรอดแบรนด์(Broadbanding) คือ อะไร?... และมีความเกี่ยวข้องกับระบบราชการไทยเราอย่างไรมาเล่าสู่กันเพื่อจะได้ทราบถึงว่ารัฐมีการดำเนินการเกี่ยวกับราชการไทยเราอย่างไร...สรุปได้ดังนี้ค่ะ...

ความเป็นสากลและการทำความรู้จักกับระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Broadbanding

ปัจจุบันโครงสร้างการจำแนกตำแหน่งในราชการไทยเป็นไปตามลักษณะอาชีพและประเภทของข้าราชการ หากเป็นข้าราชการครูก็ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Academic Rank Classification (ARC) หากเป็นข้าราชการทหารและตำรวจก็ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Rank Classification (RC) และหากเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Position Classification (PC)

สำหรับการนำระบบจำแนกตำแหน่งแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมามาใช้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะอาชีพและความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการประเภทต่างๆ เช่น ข้าราชการทหารและตำรวจปฏิบัติงานตามสายบังคับบัญชาที่เป็นชั้นยศ ดังนั้น ความก้าวหน้าของตำแหน่งงานก็จะจำแนกตามชั้นยศ ข้าราชการครูจะต้องพัฒนาความรู้ทางวิชาการ ดังนั้น ความก้าวหน้าของตำแหน่งงานก็จะจำแนกตามวิทยฐานะของครูแต่ละคน สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญจำแนกตามระดับชั้นของตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือมากชั้นขึ้น

การนำระบบ Broadbanding มาปรับใช้กับระบบจำแนกตำแหน่งนั้น ทำให้การจำแนกตำแหน่งตามระดับชั้นที่เดิมมีหลายระดับและหลายสายอาชีพมีจำนวนน้อยลง โดยยังสามารถครอบคลุมตำแหน่งทุกตำแหน่งให้อยู่ในโครงสร้างตำแหน่งใหม่ที่มีเพียงไม่กี่ระดับ ดังนั้น จึงเป็นการขยายขอบเขตของตำแหน่งงานๆ หนึ่งให้สอดคล้องกับการจัดระดับความก้าวหน้าในอาชีพที่ยึดโยงกับทักษะ ความรู้ในงาน สมรรถนะและผลการปฏิบัติงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ความจำเป็นที่จะต้องประเมินค่างานเปรียบเทียบระหว่างตำแหน่งงานหนึ่งกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือกับตำแหน่งงานอื่นๆจึงมีน้อยลง เพราะระบบ Broadbanding เป็นระบบที่ลดความแตกต่างของระดับตำแหน่งงานลงให้มีระดับใกล้เคียงกันมากที่สุด จึงถือว่าเป็นผลดีต่อการบริหารตำแหน่งในองค์การ นอกจากนั้น การออกแบบระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Broadbanding ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกเช่น
1. การลดค่าใช้จ่ายขององค์กร (Cost management)
หากองค์กรมุ่งเน้นไปที่การเลื่อนตำแหน่งโดยไม่อิงกับความสามารถของบุคคลในด้านทักษะ ความรู้ในงาน สมรรถนะ และผลการปฏิบัติงานจะทำให้องค์การต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าตอบแทนที่สูง ระบบ Broadbanding จะช่วยให้องค์กรจ่ายค่าตอบแทน รวมทั้งเลื่อนระดับตำแหน่งโดยยึดโยงกับทักษะ ความรู้ในงาน สมรรถนะ และผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

2. การให้อิสระในการบริหารตำแหน่ง (Freedom to manage) ระบบ Broadbanding ให้อิสระในการตัดสินใจบริหารตำแหน่งและจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารองค์การได้มากขึ้น ดังนั้นการจ่ายค่าตอบแทนที่อิงกับระดับตำแหน่งแบบเดิมก็จะเปลี่ยนเป็นการบริหารงบประมาณด้านบุคลากรเพื่อจ่ายค่าตอบแทนตามทักษะ ความรู้ในงาน สมรรถนะ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรแทน นอกจากนั้น

3. การจ่ายค่าตอบแทนที่อิงกับสมรรถนะและผลการปฏิบัติงาน (Merit Pay) การจ่ายค่าตอบแทนเดิมขึ้นอยู่กับประเภทของตำแหน่งงาน ดังนัน หากตำแหน่งงานใดมีค่าของงานสูงก็จะมีการกำหนดค่าตอบแทนที่สูงตามไปด้วย แต่ระบบ Broadbanding นอกจากจะเน้นที่ค่าของงานแล้วยังเน้นเรื่องทักษะ สมรรถนะ และความรู้ของผู้ปฏิบัติงานควบคู่ไปด้วยโดยการจ่ายค่าตอบแทนจะขึ้นอยู่กับทักษะ สมรรถนะและผลการปฏิบัติงานของบุคคล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานก็จะต้องพยายามเร่งพัฒนาทักษะ สมรรถนะ และความรู้ของตนให้สอดคล้องกับระดับตำแหน่งเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย
4. การสร้างการทำงานเป็นทีม (Team) ระบบ Broadbanding เป็นระบบที่ง่ายต่อการสร้างการทำงานเป็นทีม เนื่องจากระบบ Broadbanding ที่เหมาะสมจะช่วยลดความแตกต่างในด้านสถานะของระดับตำแหน่งงาน ดังนั้น สมาชิกในทีมจะลดความกังวลในเรื่องของความแตกต่างในด้านบทบาทและสถานะ และจะมีความรู้สึกว่าเป็นการปฏิบัติงานกับผู้ร่วมปฏิบัติงานในระดับเดียวกัน

5. การบริหารความก้าวหน้าของสายงาน (Career Management) การลดจำนวนระดับตำแหน่งและการปรับขอบเขตของชั้นงานจะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นความก้าวหน้าในสายงานได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนลักษณะงานจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมีไม่กี่กลุ่มประเภทตำแหน่ง และบุคลากรก็จะสามารถปรับเปลี่ยนกลุ่มประเภทตำแหน่งได้ตามประเภทของงาน

ความเป็นสากลของระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Broadbanding คือการจำแนกความแตกต่างระหว่างระดับตำแหน่ง (ชั้นงาน) ได้ชัดเจนขึ้นและทำให้องค์กรมีสายบังคับบัญชาที่สั้นลง ง่ายต่อการจัดโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับระบบค่าตอบแทน นอกจากนั้นยังช่วยทำให้เกิดความคล่องตัวในการย้ายกลุ่มตำแหน่งเพิ่มขึ้น

แม้ว่าการจัดระบบจำแนกตำแหน่งแบบ Broadbanding จะถือเป็นระบบที่มีความเป็นสากล เป็นระบบตำแหน่งงานและค่าตอบแทนที่ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศโดยได้รับความสำเร็จทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งระบบ Broadbanding นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

โดย...ดร.มาฆะ ภู่จินดา

ที่มา : คอลัมน์ "กระแสคน กระแสโลก"

ในหนังสือพิมพ์ มติชนสุดสัปดาห์ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม

ถึง 2 สิงหาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 350756เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2010 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ...อาจารย์บุษยมาศ

สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ไทย

และระลึกถึงท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท