ความห่วงใยในวันที่ห่างเหิน + 7 ประเด็นน่าคิดที่ลึกซึ้งทางการศึกษา....


นิสิต ส.ม.1 มมส. ในเวลานี้ มีทั้งที่จบไปแล้ว และยังไม่จบ เนื่องจากยังทำวิทยานิพนธ์ไม่เสร็จ

คนที่จบไปแล้ว ก็ทำงานประจำตามวิถีชีวิตที่เคยเป็นมาและเป็นไป  เรื่องการติดต่อกับเพื่อนๆในรุ่นแทบจะขาดหายการติดต่อไปเลย

ในส่วนของนิสิต ส.ม.1 ที่ยังคงติดต่อกันอยู่ เป็นกลุ่มที่มีโอกาสไปมาหาสู่กันและเป็นกลุ่มที่พึ่งจะจบหมาดๆ และกำลังจะสอบ ซึ่งพึ่งจะผ่านอุปสรรคต่างๆ ยังมีความรู้สึกร่วมในสิ่งที่พึ่งจะผ่านไป ทำให้เกิดความห่วงใยเพื่อนๆที่กำลังจะฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านั้น..

คุณศิริจิต เทียนลัคนานนท์ แห่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ที่พึ่งจะจบเมื่อ มี.ค.2549 ยังคงโทรศัพท์ติดตามถามไถ่ และกระตุ้นให้กำลังใจเพื่อนๆ ส.ม.1 ที่ยังไม่จบ และพบกับสารพันปัญหาที่เป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้มีเวลาและสมาธิในการเรียนให้จบเสียที

เธอโทรติดต่อ โทรสอบถาม กระตุ้นให้กำลังใจ เพื่อนร่วมรุ่น ส.ม.1 ที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั้งที่ มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และส่งผ่านความห่วงใยไปยังเพื่อนที่ชัยภูมิ และนครราชสีมาอีกด้วย
ทางคณะสาธารณสุขศาสตร์ มมส. ก็ต้องการช่วยเหลือให้นิสิตได้เรียนจบตามหลักสูตรเช่นกัน ทางอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการจึงพยายามติดต่อ ติดตามนิสิตที่ยังไม่จบอยู่ทุกระยะๆ ซึ่งประสานกับทางคุณศิริจิต และนายบอน ทำให้ความห่างเหินในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นความห่วงใยที่สัมผัสได้ และเพื่อนๆพยายามกลับมา ทำต่อให้เสร็จ

ทางอาจารย์ในคณะก็พยายามหาทางออกให้ ช่วยเหลือเต็มที่..

ความจริงแล้ว เมื่อหลายคนเรียนจบไป แทบจะไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนฝูงที่ยังไม่จบมากนัก ลำพังภาระงาน ความรับผิดชอบในแต่ละวันก็มากมายเพียงพอแล้ว เหน็ดเหนื่อยจากภารกิจประจำวันจนหมดเรี่ยวแรงที่จะมีเวลาและสมาธิไปคิดห่วงใยใครได้อีก

แต่คุณศิริจิต แห่งมุกดาหาร กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น ยังคงพยายามติดต่อ กระตุ้นพรรคพวกต่อไป..
ความจริงแล้ว การช่วยเหลือนี้ ไม่ได้ผลประโยชน์อะไรมากนัก เสียทั้งเวลา แรงกาย สมาธิไปพอสมควร แต่สิ่งที่ได้กลับมา คงเป็นความสุขใจ และมิตรภาพที่ยังคงอยู่
เป้าหมายสำคัญของเธอ เพียงแค่อยากที่จะได้ร่วมฉลองพร้อมหน้ากันหลายๆคนในวันแห่งความสำเร็จ วันที่ฟันฝ่าอุปสรรค มาจนถึงจุดหมายเท่านั้น...

คือ การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรพร้อมหน้ากันนั่นเอง.. ถึงแม้ว่า จะจบช้าก็ตามที...

7 ประเด็นที่น่าคิด

1) การที่คนเราจะเกิดความรู้สึกเช่นนี้ได้ จะต้องได้รับการช่วยเหลือเช่นนี้มาก่อน ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ได้รับการห่วงใยในวันที่ห่างเหินมาก่อน

2)  ในช่วงเวลาที่ห่างเหิน เธอเคยได้รับความห่วงใย เกิดเป็นความประทับใจ จนอยากจะส่งต่อความรู้สึกที่ดีๆต่อไป ห่วงใยและช่วยเหลือเพื่อนๆบ้าง

3) ในวันที่ห่างเหิน เมื่อได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง ในส่วนที่ช่วยเหลือได้ เป็นการเติมเต็มช่องว่างของความรู้สึกดีๆในวันวานให้กลับมาอีกครั้ง

4) อุปสรรค และปัญหา ทำให้เกิดปัญญา ประสบการณ์ เกิดการพัฒนาความคิด เพื่อแก้ไขปัญหาให้ไปยังจุดมุ่งหมายที่วางไว้

5) โอกาสในการลงมือทำ อยู่ที่ตัวของเราจะไขว่คว้าโอกาสนั้นหรือไม่  หรือจะนอนรอให้โอกาสเข้ามาหา และปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป

6)  บางครั้ง คุณภาพของการใช้ชีวิต ไม่ได้ตัดสินกันที่ความสามารถในการเรียนให้จบภายในระยะเวลาที่กำหนดตามหลักสูตร แต่อยู่ที่ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาและประสบการณ์ชีวิตในช่วงเวลาที่ผ่านมา ..   คนที่เรียนในรุ่นเดียวกัน แต่กลับมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา การคิด การวางแผนต่างกัน  ..  (เมื่อคนที่จบตามหลักสูตร ได้ประสบการณ์แต่ในเรื่องเนื้อหาที่เรียน + วิจัยเท่านั้น แต่คนที่จบช้า ได้ประสบการณ์ตามหลักสูตร + ประสบการณ์ในการแก้ปัญหานอกหลักสูตรที่ซับซ้อน และอยู่นอกกรอบเวลาในการเรียนรู้ ได้สัมผัสกับเรื่องราวมุมมองที่หลากหลาย ได้เดินทางเพื่อไปค้นหาสิ่งที่ต้องการในหลายๆแห่ง ได้ใช้ความพยายามในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคหลายๆรูปแบบ)...

เมื่อเพื่อนในรุ่นได้รับใบปริญญาบัตรเหมือนกัน แต่ประสบการณ์ + ความลึกซึ้ง ของชีวิต ต่างกัน

คุณภาพชีวิตจึงไม่ได้ตัดสินกันตามเกณฑ์ของหลักสูตรการเรียนรู้เท่านั้น

7) มิตรภาพจะยั่งยืนนานแค่ไหน อยู่ที่การกระทำในวันนี้....


หมายเลขบันทึก: 34774เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอมาเป็นกำลังใจให้อีกคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท