การพยากรณ์ (Forecasting)



  การพยากรณ์ คือ การประมาณ หรือ การคาดคะเนว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การพยากรณ์ยอด
ขายของ 3 ปีข้างหน้า การพยากรณ์มีบทบาทสำคัญกับทุกด้าน ทั้งหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน รัฐ
บาลต้องประมาณ หรือ พยากรณ์รายได้ รายจ่ายในปีหน้า เพื่อนำมาวางแผน เอกชนต้องพยากรณ์ยอด
ขาย เพื่อนำมาวางแผนการผลิต สินค้าคงคลัง แรงงาน ฯลฯ

การพยากรณ์แบ่งได้ 2 ประเภท
การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative methods)
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative methods) เป็นการพยากรณ์ที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ใน
อดีตเพื่อนำมาพยากรณ์ค่าในอนาคต โดยสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ การพยากรณ์ประเภทนี้แบ่ง
ออกเป็น 2 เทคนิคย่อย คือ

1) การพยากรณ์ความสัมพันธ์ (Casual Forecasting)  เป็นเทคนิคที่ใช้ปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์
กับตัวแปรที่จะพยากรณ์ เช่น ถ้าต้องการพยากรณ์ยอดขาย จะพิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างยอด
ขายกับค่าโฆษณา รายได้ของประชากร สภาพสินค้า ฯลฯ การหาความสัมพันธ์ดังกล่าวจะใช้เทคนิคที่
เรียกว่า การวิเคราะห์ความถดถอย และสหสัมพันธ์

2)  การพยากรณ์อนุกรมเวลา (Time series Forecasting) เป็นเทคนิคที่ใช้เฉพาะข้อมูลในอดีตของตัว
แปรที่ต้องการพยากรณ์ เพื่อพยากรณ์ค่าของตัวแปรนั้นในอนาคต เช่น ใช้ข้อมูลยอดขายปี 2530-2541
เพื่อพยากรณ์ยอดขายปี 2542

การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods)
  เป็นการพยากรณ์ที่ใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ เป็นผู้พยากรณ์ โดยไม่ใช้ตัวแบบทาง
คณิตศาสตร์ จึงตรวจสอบความแม่นยำของการพยากรณ์ได้ยากกว่าการพยากรณ์เชิงปริมาณ การ
พยากรณ์เชิงคุณภาพประกอบด้วย

1) การคาดคะเน หรือ ประมาณการ (Judgement) วิธีนี้มักใช้กับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว
หรือหน่วยงานขนาดเล็กที่หัวหน้ามีอำนาจเต็ม เจ้าของหรือหัวหน้างานจะคาดการณ์ยอดขาย หรือ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยประสบการณ์ที่ทำงานในด้านนั้นๆ มาเป็นระยะเวลานานพอ

2) การระดมความคิด (Jury of Executive Operation) วิธีนี้เป็นการระดมความคิด หรือประชุมกลุ่มผู้
บริหารของบริษัท เช่น ประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้ทุกคนออกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่
จะเกิดในอนาคต เช่น ยอดขายปีหน้า จะเป็นเท่าใด ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่  และผลสรุป
จะได้เสียงส่วนใหญ่ของการประชุม แต่วิธีนี้จะมีข้อเสียตรงที่อาจเกิดความเอนเอียง หรือ เกรงใจ
ทำให้ไม่กล้าออกความคิดเห็น ถ้าความคิดเห็นไม่ตรงกับคนอื่นๆ หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของ
ผู้มีอำนาจมากกว่าหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ และมักจะเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้มีอำนาจหรือผู้ถือ
หุ้นใหญ่

3) การพยากรณ์ยอดขาย (Sale Force Composite Forecasts) เป็นการพยากรณ์โดยให้แต่ละฝ่าย เช่น
ให้หัวหน้าฝ่ายขายตามภาคต่างๆ ประมาณยอดขาย แล้วนำมารวมกันทุกภาคกลายเป็นค่าพยากรณ์
ยอดขายรวมของบริษัท หรือให้ตัวแทนขายแต่ละคนประมาณยอดขายของตนเองแล้วนำมารวม
กันเป็นยอดขายรวมของบริษัท การพยากรณ์ยอดขายโดยวิธีนี้ค่อนข้างจะแม่นยำ เนื่องจากตัวแทน
ขายแต่ละคน/หน่วยจะใกล้ชิดกับลูกค้า/ตลาดมาก ทำให้คาดคะเนได้ถูกต้อง

4) พยากรณ์โดยการสำรวจตลาด ( Survey of Expectations and Anticipations) เป็นการพยากรณ์ยอด
ขายโดยทำการสำรวจลูกค้าหรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่าในอนาคตลูกค้าต้องการ
สินค้าอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ด้วยการทำวิจัยตลาด ซึ่งอาจใช้การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว โทรศัพท์
หรือจดหมาย เป็นต้น

5) การพยากรณ์ด้วยเทคนิคเดลไฟ (Delphi)  เทคนิคเดลไฟเป็นเทคนิคที่แก้ข้อเสียของวิธีระดมความ
คิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเอนเอียง หรือคล้อยตามผู้อื่น เทคนิคเดลไฟ จึงแก้ปัญหาโดยการไม่ให้ผู้
บริหารพบปะกัน หรือมาประชุมกัน หรือระดมความคิดเห็นกันซึ่งๆหน้า แต่จะส่งคำถามเกี่ยวกับ
สิ่งที่ต้องการพยากรณ์ให้ผู้บริหารทุกคนเขียนตอบมา พร้อมทั้งระบุเหตุผล เช่น ยอดขายปีหน้า
ควรเป็นเท่าใด ควรออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด ดังนั้น โดยวิธีนี้จะได้ความคิดเห็น
ของทุกคน และไม่มีการชี้นำ เมื่อได้คำตอบจากทุกคนแล้วให้นำมารวมกัน ซึ่งมักจะพบว่าจะมี
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ผู้รวบรวมจะต้องสรุป แล้วส่งกลับไปให้ผู้บริหารทุกคนเป็น
รอบที่ 2 เพื่อให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ข้อสรุปเป็นหนึ่งเดียว


การพยากรณ์ หรือการประมาณ : การวิเคราะห์ความถดถอย (Regression Analysis )
 เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประมาณหรือ
พยากรณ์ค่าของตัวแปรตัวหนึ่งจากตัวแปรอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่ต้องการพยากรณ์ โดย
จะต้องมีการกำหนดหรือทราบค่าของตัวแปรอื่นๆ    ล่วงหน้า เช่น ถ้าทราบความสัมพันธ์ระหว่างยอด
ขายกับค่าโฆษณาแล้ว  จะทำให้สามารถประมาณ / พยากรณ์ยอดขายเมื่อกำหนด หรือทราบงบ
ประมาณในการโฆษณา และจะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของยอดขายเมื่องบประมาณในการโฆษณา
เปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยหลักการของการวิเคราะห์ความถดถอย การวิเคราะห์ความถดถอย มี 2
ประเภท คือ

    1. การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย
     2. การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน หรือ เชิงพหุ

การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression)
  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือลักษณะที่สนใจศึกษา 2 ลักษณะ โดยที่ต้อง
ทราบค่าของตัวแปรตัวหนึ่ง หรือต้องกำหนดค่าของตัวแปรตัวหนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ถ้าศึกษาความ
สัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายกับรายได้ ยอดขายกับค่าโฆษณา ฯลฯ ซึ่งจะต้องทราบหรือกำหนดรายได้
และค่าโฆษณาไว้ล่วงหน้า เช่น ทราบว่า เงินเดือนพนักงานทำความสะอาดของบริษัทแห่งหนึ่งเป็น
2,000, 2,500, 3,000, 3,500 และ 4,000 บาท ผู้วิเคราะห์จะต้องสอบถามพนักงานทำความสะอาดที่มี
เงินเดือนดังกล่าวถึงรายจ่ายต่อเดือน จึงจะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับรายจ่ายได้ หรือ
ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างยอดขาย กับค่าโฆษณาจะต้องทราบถึงงบประมาณในการโฆษณาที่
บริษัทกำหนดไว้หรือใช้ไปแล้วจึงจะทราบถึงยอดขาย โดยจะเรียก รายได้ และค่าโฆษณา ซึ่งเป็นตัว
แปรที่ต้องกำหนดค่าไว้ล่วงหน้าว่า ตัวแปรอิสระ (Independent Variable)( และมักจะใช้สัญลักษณ์ X  
ส่วนยอดขายกับรายจ่ายจะเรียกว่า  ตัวแปรตาม (Dependent Variable) และใช้สัญลักษณ์ Y ซึ่งหมาย
ถึง ยอดขายเป็นตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับค่าโฆษณา และรายจ่ายเป็นตัวแปรที่ขึ้นกับรายได้

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ถ้า X และ Y มีความ
สัมพันธ์กันมาก แสดงว่า ถ้า X มีค่าเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลกระทบต่อค่าของ Y เป็นอย่างมาก
2. ใช้ความสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้มาประมาณค่าหรือพยากรณ์ค่า Y ในอนาคต เมื่อกำหนดค่า X
จากหนังสือ การวิเคราะห์สถิติ สถิติเพื่อการตัดสินใจ- .กัลยา วานิชย์บัญชา 2544

หมายเลขบันทึก: 34519เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านแล้วดีมากเลย  ตอนนี้ผมเรียนปริญญาโท

พอดีมาเจอของคุณบอน  ขอชมเชยว่าทำดีแล้วครับ  จะขออนุญาตินำข้อมูลนี้มาใช้ในวิทยานิพนธ์นะครับ

ขออนุญาตินำบางส่วนไป ใช้ทำรายงาน นะครับ
ยินดีครับ ที่เนื้อหามีประโยชน์สำหรับท่านอื่นๆ

มีข้อมูลที่เป็นกราฟของการพยากรณ์ (เป็นข้อมูลทางด้านสถิติ)ไม่ทราบว่าพอจะอธิบายให้ได้มั้ย และขออนุญาตนำข้อมูลของคุณบอนไปทำรายงาน

ยินดีครับคุณเอ้...

ส่วนข้อมูลที่เป็นกราฟ คุณสามารถปรึกษา สอบถามผู้รู้ที่อยู่ใกล้ๆ หรือเปิดตำราจากห้องสมุด อ่านทำความเข้าใจ จะกระจ่างมากขึ้นครับ

อยากได้การพยากรณที่เป็นของม.1อะมีไหม

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์ทางการตลาดมาก ๆ ช่วยหน่อยนะคะ

การพยากรณ์ทางการตลาดในปัจจุบันมีความสำคัญหรือไม่อย่างไร

การพยากรณ์เชิงปริมาณ  ถ้าได้ค่าพยากรณ์เป็นลบ หมายความว่าอย่างไรค่ะ


ค่าพยากรณ์เป็นลบ หมายความว่า คำนวณผิดค่ะ

เพราะจากสูตร มีแต่ค่าบวกหรือ 0 เท่านั้นที่เป็นไปได้

เช่น

MA3 = (A1+A2 + A3)/3

นอกจากค่า Error จากการพยากรณ์ (At - Ft)

ถ้า Error ติดลบ แปลว่า ค่าจริง มีค่าน้อยกว่าค่าพยากรณ์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท