เมื่อน้องบอกให้สร้างสรรค์


เป็นความคิดแค่คนตัวเล็กคนหนึ่ง เป็นลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้นครับ โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ

ถอดบทเรียนจากการสนทนา

"สร้างสรรค์ พี่ สร้างสรรค์"

     หลายวันมานี้ผมเอง ได้ยินคำพูดในคำนี้จากเพื่อนที่นับถือเป็นน้องชายของผม กับเรื่องราวที่สร้างสรรค์ เป็นคำพูดคำเดียวที่สะดุดใจผมมากๆ

ความจริง ความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ มันละม้ายกันมาก

         ความคิดริเริ่ม หรือการริเิริ่ม (Initiative) การปฏิบัติที่สิ่งที่ใหม่ ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดคุณค่า (Value) ก็ได้ เรียกว่า ได้ประโยชน์ (ดี) กับ ไม่ได้ประโยชน์ (ไม่ดี)

        ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เกิดจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดย ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทดแทน เสริมหรือเพิ่มเติม ในสิ่งเดิมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความบริบูรณ์ นั่นคือ สิ่งที่ดี (คิดดี ทำดี)ยิ่งขึ้น เกิดคุณค่า มีความคุ้มค่า หรือ มูลค่า

 ถ้าความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่ไม่ดี ก็อาจเป็นเพียงความคิดริเริ่มที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่านั้น

Creativity มีคุณค่าทางใจ มีคุณค่าที่ได้กระทำ มีความคุ้มค่า หรืออาจจะมีมูลค่า...

    ถ้า Creativity ไ่ม่มี Value แล้ว เป็นเพียงแค่ ความคิดริเริ่ม เท่านั้น น้อยที่สุดอาจจะมีคุณค่า มากทีุ่สุดอาจจะมีมูลค่าตามมาด้วย

ทีนี้ อะไรคือตัววัด Creativity เหล่านั้น ?

จึงต้องมองถึงที่มาของ Creativity นั้นว่า มาจากอะไร ?

Creativity ในด้านที่ให้ความ "สุขทางใจ" จะวัดยากกว่า "ความสุขจากผลงานที่ได้กระทำ"

เลยต้องเปรียบเหมือนกับ "คุณภาพ" (Quality) กับ "ปริมาณ" (Quantity)

เพราะ สุขใจ มีความสุขที่ลุ่มลึก คือ มีคุณค่า มากกว่า ความสุขทางกายที่วัดเพียงครั้งคราว

ผมเลยลองคิดดูว่า ถ้าคำตอบที่ได้รับจาก Creativity คือ "สุขใจ" ค่าของความสุขก็ต้องอยู่ที่คนซึ่งหมายถึงผู้ชม ผู้ฟัง ผู้ดู หรือ ผู้เข้าร่วม ผู้ปฏิบัติทุกท่าน...หรือแม้กระทั่งตนเอง

   การวัดคุณค่าในทางจิตใจ ถือเป็นคุณค่าเชิงคุณภาพ ที่วัดยากครับ แต่หากผันเป็น ความคุ้มค่้าและมูลค่า ก็อาจพอที่จะวัดได้

     การวัดความคุ้มค่า ที่เกิดขึ้นนั้น อาจมองที่ ความพึงพอใจเป็นหลัก ได้แก่ คำวิจารณ์ คำติชม ความคิดเห็น จำนวนผลงานที่เผยแพร่ หรืออาจจะมองที่การยอมรับนับถือเป็นหลัก ได้แก่ การได้รับรางวัล เกียรติยศ เกียรติคุณ ในระดับต่างๆ  ซึ่งอาจพอบอกถึงความคุ้มค่าในความคิดสร้างสรรค์นั้นได้

      การวัดมูลค่าหรือการสร้างต้นทุน ในด้านธุรกิจจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการเทียบ ความคุ้มค่า เป็น มูลค่า นั่นคือ หากพึงพอใจมาก ความศรัทธาก็ยิ่งมาก มูลค่าก็ยิ่งมากตามด้วย หากได้รับรางวัล เกียรติยศ เกียรติคุณ สูง ผลงานความคิดสร้างสรรค์นั้นจะมีมูลค่าที่สูงตามไปด้วย

        จากตัวชี้วัดนี้ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น เราร้องเพลง ได้รับความสุขใจ ร้องเพราะ ร้องดี ได้รับคำชมเชย ไปประกวดร้องเพลงได้รางวัลกลับมา ในระดับต่างๆ ยิ่งสูงขึ้น มีคนมาจ้างเราให้ร้องเพลงมากขึ้น บริัษัทค่ายเพลงก็จ้างให้เราร้องเพลงเพราะเห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่าได้นั่นเอง

      ในทางกลับกัน หากเรามีรายได้มากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวหรือ พอเพียงแล้ว อาจไม่คิดที่จะสังกัดค่ายเพลง อาจทำผลงานอิสระโดยคำนึงถึง ความพีงพอใจของผู้ฟังเป็นหลัก ทำให้เกิดคุณค่าที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์เพื่อมอบให้กับสังคมหรือส่วนรวม

        นั่นคือ สร้างสรรค์ (ร้องเพลง) --> คุณค่า (สุนทรีย์) -->คุ้มค่า (ความพึงพอใจ) -->มูลค่าที่นับได้

      หรือ สร้างสรรค์ (ร้องเพลง)-->คุณค่า (สุนทรีย์) -->คุ้มค่า (ความพึงพอใจ)-->มูลค่าที่นับไม่ได้

       หรือ สร้างสรรค์ (ร้องเพลง)-->คุณค่า (สุนทรีย์)-->คุ้มค่า (ความพึงพอใจ)

         หรือ สร้างสรรค์ (ร้องเพลง)-->คุณค่า (สุนทรีย์)

      ฉะนั้น หากผมจะทำตัวชี้วัด เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จากความสุขที่ได้รับจากความคิดสร้างสรรค์ นั้น อาจจะกระทำได้ในระดับ 2 ทาง ด้านผลงาน นั่นคือ ส่วนความพึงพอใจ (ความสำเร็จของผลงานที่ได้เผยแพร่ในระดับต่างๆ) และ ส่วนการยอมรับนับถือ (ผลงานที่ก่อให้เกิดชื่อเสียงต่อตนเองและส่วนรวม รวมถึงความถูกต้องในกรรมสิทธิ์ถือครองของผลงานนั้น) และ ด้านบุคคล ในส่วนความพึงพอใจ (สถิติผู้เข้าชม หรือ แบบสำรวจความพึงพอใจ) และในส่วนการยอมรับนับถือ (การได้รับรางวัล หรือ เกียรติบัตร หรือ การยกย่องเชิดชูที่มีหลักฐานชัดเจน)

      สิ่งที่ผมได้รับจากการสนทนากับน้องชายคนนี้ เกิดข้อคิดดีๆ ใ้ห้กับผมเองได้มากทีเดียว ซึ่งเป็นผู้จุดประกายทางความคิด ให้กับผมได้คิดต่อยอด ให้ผมได้ข้ิอคิดที่ว่า

  • จุดเริ่มคือ ความคิดริเริ่ม (Initiative)
  • ด้วยความคิดเชิงบวก หรือความคิดที่ดี คือ สร้างสรรค์ (Creativity)
  • ผลที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์ คือ คุณค่า ได้แก่ ความสุข (Happiness)
  • กระเทาะความสุขที่ได้ัรับ เป็นความคุ้มค่า โดยตัววัดทางใจ คือ ความพึงพอใจ (satisfaction) หรือ การยอมรับนับถือ (Respect)
  • อาจจะเปลี่ยน ความคุ้มค่า (Value) ให้เป็น มูลค่า (Cost) หรือต้นทุน (Principal) หรือไม่ก็ได้

ขอบคุณน้องต่อ สำหรับคำพูดที่ชวนให้จุดประกายความคิดดีๆ ครับ

• คนที่ได้ชื่อว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูงมาก เป็นคนที่กล้าเสี่ยง (take risk)  กล้าเผชิญความผิดพลาด     คนที่มีผลงานสร้างสรรค์ชนิดเหลือเชื่อคือคนที่เคยทำผิดพลาดมามากมาย    แต่ไม่ย่อท้อ และรู้จักแก้ไข
หมายเลขบันทึก: 343379เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • การวิเคราะห์เชิงคุณค่า  เป็นที่อ่อนด้อยกับเด็กนักเรียนมากค่ะ
  • เป็นเพราะกระบวนการเรียนรู้นั่นเองนะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ สำหรับบันทึกที่มีคุณค่าในทางสร้างสรรค์

ขอบพระคุณ พี่P ครูคิม

  • สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นทางความคิดนะครับ
  • เริ่มแรกคือ ผมปิดตำราทุกเล่ม และใช้ ใจของตนเอง พินิจพิจารณาดูจากตนเอง เลยนำมาเขียนเพื่อเป็นประเด็นทางความคิดครับ
  • ซึ่งอาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ประการใด ใครที่ได้อ่านตรงนี้ อาจเห็นขัดหรือแย้งกันไป ก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ
  • ผมเองเห็นว่า ผมทำงาน มีคุณค่าคือผลงานที่ได้ทำ มีความคุ้มค่า คือเป็นที่พึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและตนเอง มีการยอมรับคือ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บังคับบัญชา สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และมีมูลค่าคือรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือผันเป็นต้นทุนทางปัญญาได้ครับ
  • ขอบพระคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจอยู่เสมอครับ

สวัสดีค่ะ

* เป็นการจุดประกายความคิดที่เยี่ยมยอดมากค่ะ 

* ชอบบทสรุปนี้ จังค่ะ

 

จุดเริ่มคือ ความคิดริเริ่ม (Initiative)

ด้วยความคิดเชิงบวก หรือความคิดที่ดี คือ สร้างสรรค์ (Creativity)

ผลที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์ คือ คุณค่า ได้แก่ ความสุข (Happiness)

กระเทาะความสุขที่ได้ัรับ เป็นความคุ้มค่า โดยตัววัดทางใจ คือ ความพึงพอใจ (satisfaction) หรือ การยอมรับนับถือ (Respect)

อาจจะเปลี่ยน ความคุ้มค่า (Value) ให้เป็น มูลค่า (Cost) หรือต้นทุน (Principal) หรือไม่ก็ได้

 

* และ เมื่อรู้คิด ต้องรู้ทำด้วย เพราะจะมีพลังอำนาจสูงสุดที่จะนำพาให้ไปสู่ความสุข ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ค่ะ

* ยินดีที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

 

ขอบพระคุณครับ คุณP ครูใจดี

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท