กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์


E- Business strategies

กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E- Business strategies)
          การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้

1.    กลยุทธ์การประเมิน
2.    กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
3.    กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
4.    กลยุทธ์การดำเนินงาน
5.    กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)

          กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน

สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ             

1.    ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่

2.    กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร

3.    กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

4.    เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด

5.    จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

กลยุทธ์ของช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business strategies)

          องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม หากปราศจากการกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด จำเป็นที่จะต้องกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะถูกไปใช้ร่วมกันกับช่องทาง อื่นๆได้อย่างไร สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับความพึงพอใจจากภายในและเกิดผลประโยชน์จากการนำเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาใช้

การตัดสินใจในการทำกลยุทธ์การตลาด ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์   แบบหลายช่องทางมีดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ของธุรกิจเล็กทรอนิกส์ คือ กลยุทธ์ช่องทางการค้า 
วัตถุประสงค์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องถูกสร้างเพื่อเป็นตัวชี้ของช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดสิ่งที่ต้องทำดังนี้
 -   สื่อสารและทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

-   ให้สิทธิผู้บริโภคหรือหุ้นส่วนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก่อนสำหรับการนำช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

-   ให้สิทธิกับสินค้าที่ถูกขายหรือชื้อผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อน

-   เข้าถึงช่องทางการค้าของกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสำเร็จได้เมื่อมีการสร้างคุณค่าที่ต่างกันสำหรับทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่เกิดขึ้นแบบเดี่ยวๆ ดังนั้นจะต้องมีการนำหลายๆ ช่องทางมาใช้ร่วมกัน ซึ่งการเลือกช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมนั้นบางทีอาจเรียกว่า การใช้ช่องทางการค้าที่ถูกต้อง สามารถสรุปได้ดังนี้
-   เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง

-   ใช้ช่องทางที่ถูกต้อง

-    ใช้ข้อความที่จะสื่ออย่างถูกต้อง

-   ใช้ในเวลาที่ถูกต้อง

กลยุทธ์ของธุรกิจเล็กทรอนิกส์ ต้องกำหนดวิธีที่องค์กรจะได้รับคุณค่าจากการใช้เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และกลยุทธ์อื่นๆ


การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)

การวิเคราะห์กลยุทธ์หรือการวิเคราะห์สถานการณ์จะต้องคำนึงถึง

ทรัพยากรภายในและขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัทเพื่อทำให้บริษัทแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถ
ภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ซึ่งรวมไปถึงอุปสงค์และพฤติกรรมของลูกค้า การดำเนินงานของคู่แข่ง
   3. โครงสร้างตลาด และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและหุ้นส่วนทางธุรกิจ

   4.  สิ่งแวดล้อมภาพรวม เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ และกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือภาษี

 การวิเคราะห์องค์กรและการวิเคราะห์

( SWOT ( Organizational and IS SWOT Analysis )

           การวิเคราะห์ ( SWOT ) สามารถช่วยองค์กรวิเคราะห์ทรัพยากรภายใน  ในลักษณะของจุดแข็งและจุดอ่อน  และนำมาเชื่อมโยงกับปัจจัยแวดล้อมจากภายอกได้ได้แก่ โอกาส  อุปสรรค สำหรับในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจจะแยก ( SWOT ) แต่ละอันให้เป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างกลยุทธ์ต่างๆ  ดังรูปต่อไปนี้

 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ในบริษัทธุรกิจแบบ B2B

  วัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ (Strategic Objectives)

          การนิยามและการสื่อสารวัตถุประสงค์กลยุทธ์ขององค์กรนั้น เป็นปัจจัยหลักของโมเดลการดำเนินกลยุทธ์ แทบทุกอย่าง เนื่องจาก

1.   การนิยามกลยุทธ์และการนำส่วนประกอบต่างๆของกลยุทธ์มาใช้นั้นจะต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อให้บรรลุผลมาที่สุด

2.   ความสำเร็จโดยการรวมของกลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะต้องมีการเทียบผลที่ตามมากับวัตถุประสงค์ และดำเนินการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม

3.   วัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้และชัดเจนจะช่วยทำให้เข้าใจเป้าหมายและส่งผลให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการตั้งวัตถุประสงค์มักจะเกิดขึ้นในรูปแบบเส้นขนานกับการวิเคราะห์กลยุทธ์ การกำหนดวิสัยทัศน์ รวมถึงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างส่วนประกอบของการวางวัตถุประสงค์ด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ (Defining Vision and Mission)

             วิสัยทัศน์องค์กรเป็นภาพสะท้อนของอนาคตที่เป็นไปได้และที่พึงปรารถนา การสำหรับกำหนดวิสัยทัศน์บริษัทในรูปแบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ จะขึ้นอยู่กับมุมมองในอนาคตของผู้บริหารที่เชื่องโยงกับการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์แผนการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่จะช่วยในการระดมวิสัยทัศน์ในอนาคตก่อนที่จะกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมา การวิเคราะห์แผนการนั้นเกี่ยวข้องกับโมเดลหรือต้นแบบที่เป็นไปได้สำหรับอนาคตของภาวะแวดล้อมองค์กร ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่เพียงแค่ทำนายอนาคต แต่เพื่อที่จะหาสิ่งที่เป็นไปได้ สำหรับมุมมองของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ แผนการนี้ รวมถึง

1.  การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้บุคคลในบริษัทกลายเป็นจุดเด่นขึ้นมา

2.  ลูกค้ากลุ่มหลักไม่นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เนื่องจากอุปสรรคในองค์กร

3.  การกำจัดช่องทางการจัดจำหน่ายแบบเก่า โดยสร้างช่องทางใหม่ให้เกิดขึ้นในธุรกิจ        

4.  ตลาดประเภทธุรกิจสู่ธุรกิจ กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักในธุรกิจหรืออาจจะไม่เป็น

5.  สินค้าใหม่หรือสินค้าทดแทนกำลังเปลี่ยนธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่

          วิสัยทัศน์ทำให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการสร้างวิสัยทัศน์ เช่นนี้ ควรจะต้องมีความอดทนและสามารถยอมรับต่อความไม่แน่นอน ได้เป็นอย่างดีกลุ่มผู้บริหารกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจ คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ ในขณะเดียวกันก็มีการแปรรูปโครงสร้างภายในให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด”

          อย่างไรก็ตามวิสัยทัศน์ยังรวมถึงกรอบของเวลา ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเท่าไร และที่สำคัญจะต้องสื่อสารไปยังพนักงานรวมไปถึงลูกค้า หุ้นส่วนหรือผู้ผลิต ให้รับรู้เข้าใจ ตรงกันนอกจากนั้นวิสัยทัศน์ที่มีนั้นก็จะต้องระบุวิธีการปฏิบัติ และมีความเป็นไปได้ในความเป็นจริง ดังนั้นถ้าหากเชื่อว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะเข้ามาแทนที่ช่องทางอื่นๆ นั่นก็หมายถึงจะต้องมีการลงทุนที่มหาศาลเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคนิค ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรองค์กร ซึ่งการเข้าแทนที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อ

1.  ลูกค้าที่ใช้อินเตอร์เน็ตมีปริมาณมาก

2.  อินเทอร์เน็ตสามารถสร้างข้อเสนอที่มีคุณค่าได้มากกว่าสื่ออื่นๆ

3.  สินค้าสามารถถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต           

4.  สินค้าจะต้องถูกทำให้มีมาตรฐาน

ซึ่งมีเพียง  2 ใน 4 ข้อนี้ การเข้ามาแทนที่ถือว่าเกิดขึ้นแล้ว

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างคุณค่าทางธุรกิจได้อย่างไร (How   can   E-Business  create business value?)

          คุณค่าทางธุรกิจที่เกิดจากธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นั้น เนื่องมาจากการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพความสำคัญของกลยุทธ์ในการจัดการข้อมลทางด้านธุรกิจในองค์กรนั้นสามารถถูกพิจารณาและถูกสร้างจากการใช้ วิสัยทัศน์ในรูป ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินข้อมูลเพื่อตลาดสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ ซึ่งชี้ให้เห็นความแตกต่างในการที่ข้อมูลสามารถเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ลูกค้าและตลาด

ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ

วิธีการหลัก คือ

1. การเพิ่มคุณค่า (Adding value)

          ทั้งนี้คุณค่าเหล่านี้จะสามารถเพิ่มได้โดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหรือให้บริการที่ดีขึ้นกับลูกค้าขององค์กรสำหรับข้อมูลจะถูกนำมาใช้เพื่อดูความต้องการลูกค้า ลักษณะนิสัยของลูกค้ารวมถึงระดับความพึงพอใจ

 2. การลดต้นทุน (Reduce Costs)

          การลดต้นทุนด้วยข้อมูลสามารถทำได้โดยการใช้กระบวนการทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งประสิทธิภาพนี้มาจากการใช้แหล่งข้อมูล การสร้างตลาด และการให้บริการด้วยการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด

 3.  การจัดการความเสี่ยง (Managa Risks)

          บริษัทเมอร์เชน (Marchand) ได้กล่าวถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรที่มีหน้าที่หรือสายงานต่างกัน เช่น การเงิน การบัญชี และการจัดการการดำเนินงาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท แคปปิทอลวัน(Capital one) ใช้ข้อมูลในการจัดการความเสี่ยงทางการเงินและโปรโมชั่นผ่านทางการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า

4. สร้างความเป็นไปได้ใหม่ขึ้นมา (Create new reality)

          เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถถูกนำมาใช้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือสร้างวิธีแปลกใหม่ในการพัฒนาสินค้าและบริการ

การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) 

          ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และการวัดการปฏิบัติงานนั้นทำโดยการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับประเภทธุรกิจสู่ธุรกิจ สามารถดูได้จากตาราง  แสดงตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และปัจจัยในการวัดการปฏิบัติงาน ตัวบ่งชี้แต่ละตัวควรจะต้องมีกรอบเวลาในการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy definition)

          การกำหนดกลยุทธ์มักจะถูกขับเคลื่อโดยวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาและทบทวนให้ดีก่อนสร้างกลยุทธ์ ในบทนี้จะกล่าวถึงการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ที่สำคัญ ๆ สำหรับขอบเขตในการกำหนดกลยุทธ์จะแสดงไว้ในตาราง ตัวอย่างหลักของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทั้ง 6 ข้อ จะสังเกตุได้ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นไปตามลักษณะองค์กรที่ต่างกัน เช่น ธุรกิจสู่ธุรกิจ, ธุรกิจสู่ผู้บริโภค, สินค้า หรือบริการ

การตัดสินใจ1: ช่องทางของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ มาเป็นอันดับแรก (E-business Channel priorities)           

          กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จะต้องถูกำหนดตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ต่างกัน สำหรับบริษัทแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ การลงทุนขั้นต้นด้วยช่องทางการขาย (buy-side channel) เป็นรูปแบบที่ดูเหมือนจะมีความเหมาะสมทางเลือกสำหรับกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละบริษัทนั้นควรจะเลือกจากเปอร์เซ็นต์หรือปริมาณของกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มในการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างในประเทศอังกฤษ ออโต้โมบาย (Automobile Association) และสายการบินบิติสแอร์เวย์ (British Airway) ได้ปิดร้านหลัก ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการจองผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ ในขณะเดียวกันการเปลี่ยน มาใช้ในลักษณะคลิกหรืออินเตอร์เน็ตนั้น ในแง่การบริการอาจเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกันกับร้านค้าปลีกที่ขายมือถือ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งลูกค้ามักต้องการเปรียบเทียบสินค้า และขอคำแนะนำจากผู้ขาย ดังนั้น ร้านโทรศัพท์หลายยี่ห้อ เช่น ทีโมบายออเรนจ์ (t-mobile Orange) และโวดาโฟน (Vodaphone) ยังคงมียอดขายที่มาจากการขายหน้าร้าน

  ช่องทางที่ถูกต้อง (Right Channeling) 

          การเลือกช่องทางการสื่อสารแบบต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต่างกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ หลังจากนั้น จึงกำหนดวิธีหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมลูกค้าให้เลือกช่องทางที่เหมาะสมหรือช่องทางที่ถูกต้องซึ่งเกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์และเทคนิคการจัดซื้อโดยมีเทคโนโลยีสนับสนุน เพื่อให้เข้าถึง                                      

-  บุคคลที่เหมาะสม         

-  เวลาที่เหมาะสม            

-  การใช้ช่องทางสื่อที่เหมาะสม   

-  การนำเสนอสินค้าและข้อความที่เหมาะสม

การตัดสินใจ 2 : การปรับโครงสร้างองค์กรและขีดความสามารถ (Organizational restructuring and capabilities )

          เป็นการตัดสินใจว่าบริษัทจะทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ

 1.  การบูรณาการแผนกในบริษัทเอง

 2.  การร่วมค้า  การร่วมมือกับบริษัทอื่นๆเพื่อดำเนินธุรกิจออนไลน์

 3.  คู่ค้าเชิงกลยุทธ์

 4.  การแตกออกเป็นบริษัทย่อยๆ

          ข้อได้เปรียบของการร่วมมือกันระหว่างบริษัทต่างๆ ว่าเป็นการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารร่วมกันและเป็นการประหยัดจากการขยายการผลิต  ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง  แนวทางการแยกเป็นบริษัทย่อยจะเหมาะสมในสถานการณ์ดังนี้

 1.  กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง

 2.  ราคาที่แตกต่างกันระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

 3.  มีความขัดแย้งอย่างมากในช่องทางการสื่อสาร

 4.  ช่องทางอินเตอร์เน็ตอาจทำให้รูปแบบของธุรกิจที่มีอยู่เสียหายได้

 5.  ต้องมีการเพิ่มทุนและสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาร่วมดำเนินงาน

การตัดสินใจที่ 3:  ระบบธุรกิจการบริการและตัวแบบของรายได้ (  Business  Service and revenue models )

      การใช้รูปแบบธุรกิจใหม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเนื่องจากว่า  หากบริษัทไม่เปิดโอกาสในการใช้นวัตกรรมเลยก็อาจจะทำให้คู่แข่งมีความได้เปรียบทางการค้า  การใช้รูปแบบยืดหยุ่นนั้นไม่ควรจะก่อผลเสียให้กับบริษัท  แม้ว่าการใช้โครงสร้างธุรกิจแบบยืดหยุ่นจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากก็ตาม  ก็อาจจะไม่สามารถนำมาใช้กับธุรกิจบางรูปแบบได้  ผู้บริหารอาจจะเลือกทางเลือกแบบอยู่กับที่ซึ่งจะทำให้รูปแบบธุรกิจใหม่ของบริษัทไม่เสี่ยงจนเกินไป  เช่น

  -          เว็บไซต์ที่ใช้ในการซื้อขายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  -          ผู้ค้าปลีกหรือเจ้าของสื่อสามารถขายบริการผ่านทางออนไลน์ของพวกเขา

  -          บริษัทสามารถได้รับค่าตอบแทนจากการขายสินค้าแต่ต้องไม่แข่งกันเอง

  -          สามารถขายหนังสือโดยใช้โปรแกรมออนไลน์ผ่านผู้ขายปลีก

การตัดสินใจที่  4:  การปรับโครงสร้างตลาด  ( Marketplace  Restructuring )

          การใช้รูปแบบของธุรกิจใหม่นั้น  คือทางเลือกที่ถูกสร้างขึ้นโดยการลดหรือเพิ่มคนกลางในตลาด  ซึ่งจะช่วยขจัดความขัดแย้งทางช่องทางธุรกิจซึ่งอาจเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง

การตัดสินใจที่ 5:  กลยุทธ์การพัฒนาตลาดและสินค้า (Market and Product Development Strategies)                  

          การตัดสินใจว่าจะใช้ตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายแบบใดนั้น  เป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาด  ทั้งนี้ผู้บริหารกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์  จะต้องตัดสินใจได้ว่าควรจะใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงขอบเขตธุรกิจหรือไม่  เพื่อนำมาซึ่งตลาดและสินค้าใหม่

 1.  การเจาะตลาด  การใช้ช่องทางดิจิทัลเพื่อขายสินค้าที่มีอยู่ในตลาดเดิม  อินเทอร์เน็ตเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือรักษาระดับให้คงที่

2.  การพัฒนาตลาด   เป็นการนำช่องทางออนไลน์มาใช้ตลาดใหม่  เป็นการสร้างข้อได้เปรียบทางการตลาดที่ใช้ต้นทุนต่ำ  อินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วยที่สำคัญ  โดยสามารถช่วยสายการบินต้นทุนต่ำ เช่น อิสซีเจ็ท ให้เข้าสู่ตลาดใหม่ได้ต้นทุนที่ใช้ในแต่ละเส้นทางที่ต่ำมาก

 3.  การพัฒนาสินค้า  เว็บไซต์สามารนำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า  หรือขยายสินค้าที่มีอยู่แล้วไปยังหลายๆบริษัท

 4.  การแตกธุรกิจ  สินค้าใหม่จะถูกผลิตขึ้นและนำไปขายในตลาดใหม่  การใช้อินเทอร์เน็ตเดียวยังคงไม่เพียงไม่พอสำหรับกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่นนี้  แต่จะช่วยได้ดีในเรื่องของการลดต้นทุน

ตัวอย่างของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เหมาะสมกับการทำกลยุทธ์ออนไลน์ควรมีลักษณะดังนี้

ลูกค้ากลุ่มที่กำไรได้มากที่สุด  
บริษัทใหญ่ การให้บริการผ่านเอกซ์ทราเน็ตกับลูกค้า เพื่อเพิ่มความภักดีต่อตราสินค้า
บริษัทเล็ก การใช้อินเตอร์เน็ตในการให้บริการ 
กลุ่มสมาชิกเฉพาะของหน่วยการซื้อเว็บไซต์ควรให้รายละเอียดของข้อมูลเพื่อให้ตัดสินใจซื้อได้เร็ว  
กลุ่มลูกค้าที่สื่ออื่นเข้าถึงยาก 
ลูกค้าที่ภักดีต่อตราสินค้า
ลูกค้าที่ไม่ภักดีต่อตราสินค้า
การตัดสินใจที่ 6:  กลยุทธ์การวางตำแหน่งสินค้าและกลยุทธ์ความแตกต่าง (Positioning and Differentiation  Strategies)

          พิจารณาถึงสินค้าและคุณภาพการให้บริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น  ซึ่งเหมาะสมกับราคาและเวลาที่ควรจะลดลง  มีวิธีการอยู่ 4 วิธี  สำหรับกลยุทธ์การวางตำแหน่งสำหรับบริษัทในตลาดออนไลน์  ควรจะสร้างขึ้นบนจุดแข็งเดิมที่มีอยู่คือ

 1.   ความเป็นเลิศของคุณสมบัติสินค้า

 2.   ความเป็นเลิศของคุณสมบัติราคา

 3.   ความเป็นเลิศทางด้านธุรกรรม

 4.    ความเป็นเลิศทางด้านความสัมพันธ์

กลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้มเหลว (Failed e-business Strategies)

          สำหรับความสำเร็จของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์  แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่ไม่สำเร็จ เช่น CDNow, Peapod  ยังมีอีกหลายบริษัทที่มีชื่อเสียงและได้รับประสบความล้มเหลวในการนำอินเตอร์เน็ตหรือต้องไปรวมกับบริษัทระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่มีอยู่เนื่องจากขาดทุน เช่น ร้านขายหนังสือวอเตอร์สโตน ที่ได้ลงทุนไปหลายล้ายยูโรในการให้บริการออนไลน์ แต่หลังจากนั้นได้เปลียนมาเป็นพันธมิตรกับอเมซอนเนื่องจากไม่สามารถสู้อเมซอนได้ในการขายหนังสือออนไลน์

          ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจขนาดย่อม(E-business Strategy Implementation Success Factors for SMEs)                        

 ปัจจัยที่สำคัญ 11 ปัจจัย  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ได้ดังนี้

 1.    เนื้อหา  การนำเสนอของสินค้าหรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพ  

 2.   ความสะดวก  การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์

 3.   การควบคุม  มีขั้นตอนการดำเนินงานที่สามารถควบคุมหรือบริหารได้

 4.   การมรปฏิสัมพันธ์กัน  วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

 5.   กลุ่มคนหรือชุมชน คือ การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มคนหรือองค์กรที่มี ความชอบเหมือนกัน                          

 6.   ราคาที่ปรับตัวได้ง่าย  ความอ่อนไหวของราคา

 7.   ภาพลักษณ์ของตราสินค้า  ความสามารถในการสร้างตราสินค้าให้น่าเชื่อถือ

 8.   ข้อผูกมัด  การสร้างแรงจูงใจในการใช้อินเทอร์เน็ต

 9.   พันธมิตรทางธุรกิจ  ความสัมพันธ์ทางห่วงโซ่ธุรกิจในการที่จะทำให้ธุรกิจขยายตัว

 10.   การปรับปรุงขั้นตอนดำเนินงาน  การที่บริษัทสามารถเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานหรือให้อิสระมากขึ้น

 11.   การรวมกันแบบครบวงจร  การเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศในการส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจ

 

Credit by  อ.กัญญารัตน์ ศรีวิสทิยกุล

เอกสารประกอบการสอน BCS 426 Introduction to E-Business

คำสำคัญ (Tags): #เรือนร่มรื่น
หมายเลขบันทึก: 340746เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

ดีอ่ะ อ่านแล้วเข้าใจดี

ควรเพิ่มเนื้อหามากกว่านี้อ่ะ

ก็อ่ะครับ

กำลังหาข้อมูล

ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีเลย

ขอบคุนมากมายเลยครับ

 

ข้อมูลครบถ้วนดีมากครับ

ขอบคุณคับ

รบกวนขอเนื้อหาวิธีวิเคราะห์ SWOT ด้วยได้ไหมคับ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาค่ะ

อยากได้เนื้อหาเยอะกว่านี้

เป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการข้อมูล e-commerce มากครับ

เพราะ Trend ของ e-commerce กำลังแรงขึ้นทุกวัน

น่าสนใจ ต้องเก็บไว้เป้นความรู้

มีเนื้อหาเยอะครบถ้วน

อ่านแล้วเข้าใจดี

ขอบใจจ้า

ดีครับดี

เน้อหาเยอะแล้วครับ

แค่นี้ก็อ่านไม่หมดแล้วครับ ^^

ดีครับดี

มีเนื้อหาเยอะครบถ้วน

น่าสนใจ ต้องเก็บไว้เป้นความรู้

ดีดี

ก้ทามดีน่ะ

เก่งๆ

เนื้อหาเยอะดีอ่ะ

อยากรู้เรื่อง กลยุทธ์ของช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มานานเเล้ว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคะ

เป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากคับสำหลับเนื้อหาดีๆ

เนื้อหาเยอะดีค่ะ มีประโยชน์ด้วย

เนื้อหามีสาระดีจังคับ

ใช้ได้ในชีวิตจริง

มีประโยชน์มมากคับ

ได้ประโยชน์มากเลย

ขอบคุณที่ลงเรื่องหาดีๆคับ

ขอบคุณมากนะค่ะ

สำหรับเนื้อหา ข้อมูลดีๆ

อ่านแล้วเข้าใจง่ายจัง

ขอบคุนสำหรับข้อมูลนะค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ๆหลายๆอยางค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆๆ

ใช้ได้ดีเลยนะ เก่งจังเลย หาเอามาลงอีกเยอะๆนะัครับ

ขอบคุณมากๆเลยครับ

เนื้อหาละเอียด มีภาพประกอบเพิ่มความเข้าใจเยี่ยมเลยครับ การเว้นวรรคของคำ การขึ้นบรรทัดใหม่ช่วยให้อ่านแล้วลื่นไหลไม่ติดขัดทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเยอะครับผม

เยี่ยมๆ

หัวข้อหลัก

ตัวหนาหน่อยจิ

มอง งงงง

รูปน้อยจัง

=.=!!

เนื้อหาดี มีประโยชน์ มีสาระ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท