บันไดร้อยกรอง ๘ คำเอก คำโท เอกโทษ โทโทษ


          คำเอก คำโท  ในร้อยกรอง  คำเอก คือที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ  ส่วนคำโท คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ นั่นเอง   ซึ่งคำเอก คำโท  ยึดถือตามรูปวรรณยุกต์  ไม่เกี่ยวกับเสียง  คำเอก บางคำ อาจจะเป็นเสียงโท  และ คำโท บางคำอาจจะเป็นเสียงตรี  คำเอกและคำโท เป็นคำที่นำมาใช้ในการแต่งโคลงทุกโคลง

 

        ตัวอย่างคำเอก  เช่น   เล่ห์    ย่อ  เพื่อ แม่  แก่  ท่าน   บ่น  

       ตัวอย่างคำโท  เช่น   น้อง ป้า   น้า   บ้าน    เอื้อ เกลี้ยง   รุ้ง 

 

       ตัวอย่างคำเอกคำโท ในโคลงสี่สุภาพ ซึ่งกวีต้องวางคำให้ตรงตามฉันทลักษณ์

 

 

          จากมามาลิ่วล้ำ               ลำบาง

     บางยี่เรือราพลาง                 พี่พร้อง

    เรือแผงช่วยพานาง               เมียงม่าน  มานา

   บางบ่รับคำคล้อง                   คล่าวน้ำตาคลอ

                                         นิราศนรินทร์

 

         คำเอกโทษ คือการนำคำที่ปกติใช้วรรณยุกต์โทกำกับมา มาใช้ วรรณยุกต์เอกกำกับแทน เพื่อใช้แทนที่คำเอก ในตำแหน่งบังคับของโคลง   เช่น  

 

                   หมั้นหมาย        เขียนเป็น มั่นหมาย   มั่น เป็นคำเอกโทษ

                   เขี้ยวคม           เขียนเป็น  เคี่ยวคม   เคี่ยวเป็นคำเอกโทษ

 

 

       คำโทโทษ คือการนำคำที่ปกติใช้วรรณยุกต์เอกกำกับ   มาใช้  วรรณยุกต์โทกำกับแทน เพื่อให้ใช้แทนคำโทในตำแหน่งบังคับ  เช่น

 

                   หยอกเล่น        เขียนเป็น    หยอกเหล้น     เหล้น เป็นคำโทโทษ

                   มั่นคง             เขียนเป็น    หมั้นคง           หมั้น   เป็นคำโทโทษ

                   ชมพู่              เขียนเป็น    ชมผู้               ผู้       เป็นคำโทโทษ

 

 

ตัวอย่างโคลงที่ใช้คำโทโทษ

                 หัวลิงหมากเรียกไม้    ลางลิง
    
             ลางลิงหูลิงลิง                หลอกขู้   (ความหมายคือ หลอกขู่)  


             ลิงไต่กระไดลิง               ลิงห่ม


             ลิงโลดฉวยชมผู้ (พู่)      ฉีกคว้าประสาลิง

 

              ยูงทองย่องย่างเยื้อง           รำฉวาง

           รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง            เฉิดหน้า 

           ปากหงอนอ่อนสำอาง            ลายเลิศ  

           รำเล่นเต้นงามหง้า (ง่า)         ปีกป้องเป็นเพลง

 

         คำเอกโทษ และโทโทษ จะพบในโคลงที่แต่งสมัยโบราณ  สาเหตุที่กวีต้องใช้คำเอกโทษ คำโทโทษ  คงเป็นเพราะสมัยก่อน  เรายังมีคำน้อย  การสร้างคำ  การยืมคำ ยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน   ในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนจะไม่นิยมใช้คำเอกโทษ คำโทโทษแล้ว   และเมื่อหาคำเอกไม่ได้   ผู้เขียนจะใช้คำตายแทน   จากคำประพันธ์ด้านบน  "เฉิด" เป็นคำตายแทนคำเอก

หมายเลขบันทึก: 340480เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ขอขอบคุนค่ะที่นำความรู้ สาระดี ๆ มามอบให้

หามานานแล้วค่ะ ตอนนี้มีการบ้ายส่งคตรูแล้ว ขอบคุนมากนะคะ

ปล มีสาระอย่างนี้เยอะ ๆ นะคะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพดีใจมากที่บันทึกนี้มีประโยชน์ต่อหนู

และขอบคุณมากที่หนูสละเวลามาโพสท์ข้อความไว้

แต่....จะดีกว่านี้หากหนูตรวจทานการพิมพ์ของหนูก่อนโพสท์

โห...ได้ความรู้เพิ่มเลย..

ขอบคุณนะคะ^^++!

ว้าว....ได้ความรู้เรื่องวรรณยุกต์เพิ่มเติมเต็มดีจังเลยพี่ครูภาทิพ

      อุ้มบุญมาเร่งรู้        เรียนโคลง   ฤๅแม่

สัมผัสจัดรัดโยง           เยี่ยงนั้น

คำโทเอกออกโรง        นำแต่ง  ลองนา

หวังว่าโคลงเธอคั้น      คิดได้งดงาม

 

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณครู ผมได้ความรู้และเข้าใจการใช้มากเลย

เดียวพรุ่งนี้ผมจะสอบแล้ว ขอบคุณมากครับ

ดีใจด้วยครับ ที่นิวได้รับความรู้

ขอบคุนคับที่ให้ความรู้ ^^

ดีใจด้วยครับ ที่เฟิร์ส [IP: 223.207.102.107]  ได้รับความรู้

ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะพอดีว่าจะใช้สอบเข้า เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

ยังไงก็ต้องขอขอบคุณคุณครูภาทิพมากๆเลยนะคะที่ช่วยทำให้หนูเข้าใจในเรื่องเอกโทษ โทโทษมากขึ้น หนูสัญญาว่าหนูจะนำมาใช้ในบทเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุดนะคะ

เย้!ทำการบ้านได้>_<

ขอบคุณครับ การบ้านเสร็จแล้ว

ขอบคุณค่า^^

ขอบคุณนะค่ะ เป็นประโยชน์มากๆเลย

  1. ขอบคุณมากค่ะ ถึงหนูจะไม่รู้จักครูแต่ถือว่าได้ความรู้มาจริงๆค่ะ ตอนนี้การบ้านเยอะจริงๆค่ะ คำเอก เอกโทษ คำโท โทโทษ

ได้ความรู้เยอะเลยครับ

ดีจิงๆครับผมนี้ชักเลย

แต่งโคลงเกี่ยวกับการเดินชมสวนดอกไม้หน่อยครับ ผมจะเอาไปเป็นปกเฟสครับผมชอบสวน??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท