KVเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ตอนที่1


การมองโรคจิตเวช/โรคที่เกี่ยวข้องเป็นโรคเฉพาะทาง จึงไม่จัดบริการที่ดีพอ ทำให้ต้องส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ป่วยไม่มั่นใจจึงต้องขอไป

ต้อนรับรูปแบบของเวบใหม่ด้วยการบันทึกซักหน่อยครับ

เมื่อวานผมไปประชุมการจัดการความรู้ ในเรื่อง "การพัฒนาระบบการดูแลผุ้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต เครือข่ายนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์"

เป็น KV ที่กำหนดจาก CKO จังหวัด คือท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ นายแพทย์บัวเรศ ศรีประทักษ์

แนวคิดที่กำหนดหัวข้อนี้ ผมได้ยินแล้วรู้สึกเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ แต่ผมต้องเล่าบริบทของจังหวัดนครสวรรค์ก่อนนะครับ(ในเรื่องการรักษาผู้ป่วยจิตเวช)

นครสวรรค์มีโรงพยาบาลศูนย์คือโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ มีแผนกจิตเวช ตรวจและรักษาผู้ป่วยจิตเวช (มีแพทย์เฉพาะทาง) มีโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ ซึ่งรับรักษาผู้ป่วยจิตเวชโดยตรง

ผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลชุมชน บางส่วนรับการรักษาที่โรงพยาบาลแต่ไม่มีระบบการรักษาที่ชัดเจน บางส่วนส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเฉพาะทาง (ทั้งเราส่งไปเองและผู้ป่วยขอไป....ซึ่งมีหลายสาเหตุ)

โรงพยาบาลเฉพาะทางดังกล่าวจึงรับภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชค่อนข้างมาก

ท่านนายแพทย์สสจ.มองว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลชุมชนเราเหมือนถอยหลังเข้าคลอง เพราะไม่ได้มีการพัฒนาในการดูแลผู้ป่วยเลย ทั้งที่สามารถทำได้ในระดับโรงพยาบาลชุมชน หรือการมองโรคจิตเวช/โรคที่เกี่ยวข้องเป็นโรคเฉพาะทาง จึงไม่จัดบริการที่ดีพอ ทำให้ต้องส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ป่วยไม่มั่นใจจึงต้องขอไปเอง 

การจัดการความรู้ในเรื่องนี้ จึงเกิดขึ้นครับ

และก็เป็นความโชคดีที่ในจังหวัดนครสวรรค์เราที่มีความรู้ในเรื่องนี้จาก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ และโรงพยาบาลตาคลี ที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนเพียงแห่งเดียวในนครสวรรค์ที่สามารถจัดระบบบริการในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้เป็นอย่างดี 

หมายเลขบันทึก: 34022เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ก่อนเขียนอะไรหนักๆ...ขอชมรูปเด็กน้อยนะคะว่าน่ารักมาก...หมอหรือว่าลูกชายหมอคะ...(ยิ้มๆ)

มาเล่าต่อ...เรื่อง "คนจิตเวช..." มักถูกละเลยจากสังคมและมอง..เขาเหล่านี้อย่างที่ไม่ให้โอกาส..การทุ่มเทที่ดูเหมือนการทุ่มเท..หากแต่ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดอะไรที่ดีได้เลย หน่วยงานภาครัฐในกระทรวงฯที่รับผิดชอบเรื่องนี้ดูเหมือนมีงบมากมาย...หากแต่งบนั้นก์ไม่ได้ทำให้สภาพผู้ป่วยในกลุ่มนี้ดีขึ้นเลย...หากเราๆ ลุกขึ้นมาจริงจังในการแก้ไข...พัฒนาในกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ เราก็อาจจะได้ "คน" ที่มีคุณภาพกลับคืนสู่สังคม...ได้

นอนดึกอีกแล้วนะครับ พี่Dr.ka-poom

รูปลูกครับ แต่มีแต่คนบอกว่าสำเนาถูกต้องครับ เลยมาใช้แทนรูปผม

ผมยังไม่รู้เหมือนกันว่าโรงพยาบาลจะวางระบบอย่างไรตอนพัฒนา แต่หวังว่าการดูแลน่าจะดีขึ้นจากเมื่อก่อนครับ เพราะบางครั้ง(หลายครั้ง) เวลาผมเจอผู้ป่วยจิตเวชที่ OPD จะถามเล็กน้อยมาก แล้วก็ยาเดิมครับ หากดูหนักหน่อย Refer อย่างเดียวเลยครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท