อาหารใจ


เรื่องเล่าจากหนังสือที่ได้อ่าน ตอนที่ 2

    "น้อยใจ" หรือ "ใจน้อย" เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ปกติกับคนที่เมื่อตั้งความหวังกับคนอื่นไว้มากแม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ผลที่ได้รับกลับเกิดการผิดจากที่หวังไว้ เช่นหวังว่าจะให้เขาเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เจตนาคือให้เขาได้ดี แต่แล้วเขาไม่เป็น ไม่ทำตามที่เราหวังเอาไว้ ก็เกิดอาการน้อยใจขึ้นมาว่า ทำไมเขาไม่เชื่อเราละ หรือเขาไม่เห็นความสำคัญของเรา ...คือ จิตจะเริ่มคิดไปต่างๆ นานา

    "น้อยใจ" หรือ "ใจน้อย" หากไม่ได้รับการบำบัดโดยการพูดคุย ขอโทษคืนดี ให้อภัยและทำตัวให้ไว้วางใจได้ซึ่งกันและกันแล้ว มักจะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมต่างๆ นานา เพียงแค่พริบตาเดียว.... นั่นคือ อาจจะได้เป็นทั้ง โมหะ คือ ทุกข์เพราะหลงติดในอาการดังกล่าว เสียใจฟูมฟาย หนักเข้าทำให้ครองสติตนเองมิได้ หรือคิดสั้น หรือเป็นโทสะ คือ ทุกข์เพราะโกรธที่เขาไม่เห็นในความสำคัญของตน...ยิ่งถ้าสื่อสารกันไม่เข้าใจหรือไม่พูดไม่คุยกันแล้ว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความแค้น เคือง เกลียดชัง ในจิตใจได้ อาจกระทำการที่่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตนเองและผู้อื่นได้

   ที่ผมพูดเกริ่นมานี้ นักเรียนรู้หลายท่านอาจจะงงๆ กันว่าวันนี้จะพูดเรื่องอะไรกันแน่ ?

     วันนี้ผมขอนำสาระดีๆ เกี่ยวกับ "อาหาร" นำมาฝากกันครับ เป็นบทความที่นำมาจากหนังสือ "พุทธวิธีครองใจคน" หรือ "Human Relations in Buddhism" แต่งโดย ท่าน พันเอกปิ่น มุทุกันต์ ในตอนที่ชื่อว่า "อาหารใจ" มาเล่าสู่กันฟังครับ

Buddha1

    ท่านอาจารย์ได้เขียนบรรยายดังนี้ว่า ประเด็นต่างๆ ที่เราศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่องรูปลักษณะ ที่อยู่ การงาน และอื่นๆ แต่ในบรรดาเรื่องเหล่านั้น มีเรื่องใหญ่ยิ่งอยู่อีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาจะข้ามไปเสียมิได้ คือเรื่องอาหารเพราะชีวิตทุกๆ ชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร

   สิ่งที่มีการเิติบโตได้ทุกชนิด ต้องมีอาหารหล่อเลี้ยงต้นไม้ พืชผัก เถาวัลย์ และอื่นๆ กินอาหารคือ น้ำปุ๋ย และอากาศ และทรงชีวิตอยู่ได้ แต่จำพวกชีวิตล้วนๆ หรือชีวิตโดดๆ ไม่มีใจครอง กับพวกชีวิตที่มีใจครอง มีความยุ่งยากในเรื่องอาหารต่างกัน คืออาหารนั้นอาหารนั้นตามปกติมีผลสองอย่างคือ

ก. เพื่อบำรุง และ ข. เพื่อบำเรอ

    อาหารบำรุง ได้แก่ อาหารประเภทหล่อเลี้ยงให้ตัวเติบโต และมีชีวิตอยู่จริงๆ เช่น ต้นไม้กินน้ำ ปุ๋ย อากาศ วัวควายกินหญ้า กินน้ำ เป็ดไก่กินแกลบ กินรำ และคนกินข้าว อย่างนี้เรียกว่าอาหารบำรุง ทุกๆ ชีวิตขาดไม่ได้ ถ้าไม่กินตามคราวที่ควรจะกิน ตัวก็ทรุดโทรม ถ้าไม่กินเลยก็ตาย

      ส่วนอาหารประเภท ข คือ อาหารบำเรอ ชีวิตที่มีใจครองเท่านั้นที่ต้องการอาหารประเภทนี้ได้แก่สิ่งบำเรอใจต่างๆ เช่นรูปที่สวย การประดับตกแต่งหรูหรา เสียงเพลงเพราะๆ กลิ่นหอมรวยริน ตลอดจนคำสรรเสริญเยินยอ และสรวลเสเฮฮา สิ่งเหล่านี้เป็นอาหารเหมือนกัน อาหารประเภทนี้ประเภทชีวิตที่ไม่มีใจครอง เขาไม่ต้องการ..

      ชีิวิตที่มีใจครองนี้ต้องการอาหารทั้งสองประเภท คืออาหารบำรุงและอาหารบำเรอ พูดมาตรงนี้หลายท่านคงสงสัยว่า สัตว์เดรัจฉานก็มีใจเหมือนกัน แต่ก็ไม่เห็นมันต้องการอาหารบำเรอ ซึ่งความจริงในสัตว์เดรัจฉาน ก็ต้องการอาหารบำเรอเหมือนกัน  แต่ไม่เหมือนกับมนุษย์ที่หลงใหลกับอาหารบำเรอกันมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่ิองกินเรื่องนุ่งห่ม และสารพัดเรื่อง เป็นต้องแฝงสิ่งให้เกิดความเพลิดเพลินใจไว้เสมอ เช่น ความงาม

      ทีนี้ย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า อะไรเป็นอาหารของใจ ?

   เป็นที่ทราบกันดีว่าใจนั้นเป็นคู่กับ "ธรรมารมณ์" ซึ่งความหมายว่า ใจกินธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์เป็นอาหารของใจ

Scan

    จากภาพประกอบนี้จะเห็นว่าความเป็นไปเกี่ยวกับใจและอาหารของใจหลายอย่าง ซึ่งท่านอาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า ให้พิจารณาตัวคนเสียก่อน คนๆ หนึ่งประกอบด้วยอายตนะ 6 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยทุกสรรพสิ่งจะต้องเข้ามในลักษณะเป็นรูปให้ตาเราเห็น หรือเป็นเสียงให้หูเราได้ยิน หรือเป็นกลิ่นให้เราได้สูดดม หรือเป็นรสให้ลิ้นเราได้ลิ้ม หรือเป็นผัสสะให้ตัวเราได้ถูกต้อง หรือเป็นอารมณ์ให้ใจเราคิดอย่างนี้เท่านั้น

     ถ้าสิ่งทั้งห้าเหล่านี้ เข้าไปบังเกิดผลในใจ ก็จะบังเกิดในฐานะเป็นอารมณ์เท่านั้น ฉะนั้นเรื่องอาหารใจก็เหมือนกัน รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ก็เปรียบเหมือน ผัก ปลา พริก ฯลฯ ซึ่งมาจากคนละทิศละทาง แล้วก็มาปรุงเ็ป็นอารมณ์ให้ใจได้เสวยอารมณ์นั้นเปรียบเหมือนแกงในชามที่ว่ามา ถ้าจะถามว่าแล้วอะไรเป็นอาหารใจ จะตอบว่ารูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ เป็นอาหารใจก็ว่าได้ หรือจะว่า "อารมณ์" เป็นอาหารใจก็ได้เหมือนกัน แล้วแต่จะหยิบยกตอนไหนมาตอบ ถ้ามองเข้า รูป เสียง ฯฯ เหล่านั้นก่อนจะเข้าถึงใจก็แปรเป็นอารมณ์ก่อน ถ้ามองออก อารมณ์นั้นก็มาจากสิ่งทั้งห้าเหล่านั้นเอง

  ท่านอาจารย์ได้พูดถึงอารมณ์ที่เกิดจากสิ่งทั้งห้า ยังมีอาหารใจอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมะ ธรรมะนั้นเป็นอาหารที่เกิดขึ้นจากใจโดยตรง เช่น ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความสงบ ความรอบคอบ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมะ เกิดขึ้นแก่ใจได้และชุบย้อมบำรุงใจได้นับเป็นอาหารใจอย่างหนึ่ง  ด้วยเหตุนี้ เวลานับอารมณ์ จึงนับเป็น 6 อย่างคือ

  1. รูปารมณ์  อารมณ์ที่เกิดจากรูป
  2. สัททารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากการได้ยินเสียง
  3. คันธารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากการได้สูดกลิ่น
  4. รสารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากการได้ลิ้มรส
  5. โผฏฐัพพารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากถูกต้องผัสสะ
  6. ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากธรรมะ

ธรรมะเป็นอาหารบำรุงใจ

ซึ่งท่านอาจารย์ได้แสดงได้เห็นโดยเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างในตารางดังนี้ครับ

Eating

    ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า อาหารประเภทบำเรอนั้น ให้ผลเพียงทำให้ใจชุ่มชื่นเบิกบานเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้จิตใจพัฒนาการไปสู่ความดีวิเศษอะไรหนักหนา ไม่เหมือนกับอาหารประเภทบำรุง ซึ่งมีผลให้ใจดีขึ้นบริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นจริงๆ

    แต่คนเราโดยมากชอบฝากใจไว้กับอาหารประเภทบำเรอ คิดแต่ว่า ถ้าได้ รูป รส กลิ่น เสียง มาบำเรอใจให้เบิกบานไปวันๆ ก็พอแล้ว มองไม่เห็นความจำเป็นทางธรรมะบำรุงใจ ก็เลยเหมาเอาว่าธรรมะเป็นของนอกเรื่อง และเห็นคนที่สนใจธรรมะเป็นคนไม่ฉลาดเหมือนตนเอง ทีุุ่ทุ่มเทเงินทองและเวลาแห่งชีวิต ในการหาอาหารบำเรอใจเท่าัันั้น

     ท้ายที่สุด ท่านอาจารย์ ได้กล่าวสรุปไว้ว่า ใจของคนเราทุกๆ ดวงใจ ย่อมจะต้องพัฒนาการไปได้ดีที่สุด ในเมื่อเราพยายามป้อนอาหารให้แก่ใจให้ถูกส่วนครือให้อาหารประเภทบำรุง ให้พอกับความเติบโตของใจ และเมื่อใจเกิดความเหน็ดเหนื่อยตึงเครียด ก็ให้ได้รับการผ่อนคลายด้วยอาหารประเภทบำเรอแต่พอเหมาะ

    สำหรับด้านทางครองใจคน การที่เรารู้จักลักษณะอาหารทางใจ ย่อมทำให้เราพบจุดที่จะจับใจคนอื่นได้ คืออาหาร ใจทุกดวงชอบกินอาหารทั้งนั้น ต่างแต่ว่าใครจะชอบอาหารประเภทบำรุงมากกว่าประเภทบำเรอ หรือชอบอาหารประเภทบำเรอมากกว่าประเภทบำรุง ตามชนิดจากปรุงด้วยรูปหรือปรุงด้วยเาสียง หรือปรุงด้วยกลิ่น หรือปรุงด้วยรส ทางด้านจิตใจโดยตรงก็เหมือนกัน ลองปรุงอาหารใจให้เขาเหมาะๆ การครองใจจะสำเร็จผล

..............................................

    สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นข้อคิดได้เล็กๆ กับผมได้เองเหมือนกันครับ เพราะมนุษย์ต้องการทั้งอาหารบำรุงร่างกาย และบำรุงจิตใจ และอาหารบำเรอความต้องการทางอารมณ์ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใดก็ตาม หากเราใช้ให้ถูกส่วน จะเกิดความสมดุลทั้งกายและใจ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ท้ายที่สุดก็เพื่อ "ความสุข" ที่ทุกคนต้องการครับ จึงขอนำเรื่องนี้ มาเล่าให้พี่ๆ นักเรียนรู้ได้อ่านกันนะครับ

ขอบคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #อาหารใจ
หมายเลขบันทึก: 338921เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

นำอาหารฝีมือ Blogger มาฝากครับ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์P JJ

  • เห็นแล้วน่าทานจังเลยครับ อยากกินอยู่พอดี ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ครับ

คุณณัฐวรรธน์

ก็ยังนึกถึงค่ะ

มาเยี่ยมแล้วค่ะ

"อยากฟังนิทานไหมคะ" อิอิอิ

  • อ่านแล้วเข้าใจได้ชัดเจน  ใช้ภาษาธรรมง่าย ๆ ขอชื่นชม
  • ขอบคุณ "อาหารใจ" ดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ

ขอบพระคุณPครูจิ๋วมากๆ ครับ

  • ด้วยความระลึกถึงนะครับ
  • ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับที่มอบสิ่งดีๆให้แก่ผมมาโดยตลอด คำแนะนำ ข้อคิด และกำลังใจที่ครูจิ๋วมอบให้ กระผมจะเก็บเอาไว้นะครับ

ขอบพระคุณครับ ครูP ธรรมทิพย์

  • เรื่ืองนี้เป็นเรื่องเล่าที่ได้อ่านนะครับ จุดประสงค์คืออยากจะนำสาระดีๆ มาแบ่งปันกันครับ ความจริงแล้วหนังสือแต่ละเล่มมีคุณค่ามากครับ หากเราได้อ่านแล้วนำมาบอกเล่าหรือบันทึกเก็บไว้ เผื่อวันหน้าพี่ๆ นักเรียนรู้ อาจจะได้อยากนำไปใช้ประโยชน์หรือเก็บไว้เป็นแหล่งเรียนรู้อีกทางหนึ่งครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ สำหรับกำัลังใจที่คุณครูมอบให้กระผมเสมอมาครับ

สวัสดีค่ะคุณณัฐ

อ่านแล้วอาหารเพื่อบำเรอแล้ว ชวนให้ชอบใจ ในคำมากกว่าค่ะ

หากแต่ อาหารเพื่อบำรุงนี่ ก็ โห มั่นคง เยือกเย็น หนักแน่น กล้าแข็ง

... เยือกเย็น ก็แปลกนิดๆ เหมือนใจ ยะเยือก ไร้ความรู้สึก 

แล้ว อิ่มตัว ก็ยิ่งแปลก เหมือนไขมันอิ่มตัว กระนั้นค่ะ

แต่สุดท้ายแล้ว เราก็ต่างอิ่มแท้ ที่อาหารใจ ... ขอบคุณค่ะ

อ่านรายการอาหาร

แล้วรู้สึกแตกต่างจังค่ะ

Eating

ขอบพระคุณครับ ท่านP poo

  • ขอบพระคุณมากๆ นะครับ ที่ท่านแวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจครับ
  • เป็นภาษาง่ายๆ ครับ เยือกเย็น อาจหมายถึง ใจเย็น คือมีความสุขุม ลุ่มลึก ส่วนใจอิ่มตัว อาจหมายถึงความเพียงพอหรือความพอเพียงครับ คนถือสันโดษส่วนมากจะอิ่มเอมใจ ใช้ชีวิตเรียบง่าย พอใจ พอเพียงในสิ่งที่ทำ สิ่งที่มี ไม่อยากได้อะไรเพิ่มเติมครับ
  • ขอบพระคุณครับ สิ่งที่นำมาเติมเต็มเป็นข้อคิดดีๆ กันครับ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์P มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจนะครับ
  • รายการอาหารอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ท้ายที่สุดก็เพื่อ "ความสุข" ที่ทุกคนต้องการครับ

ใช่ค่ะ ในบางเวลาอาการใจน้อย หรือน้อยใจจะมา....จึงต้องเพียรหาอาหารใจมาบำรุง สร้างภูมิคุ้มกันค่ะ ไม่อยากให้เป็นการบำเรอด้วยใจจะเฟ้อมากเกินไปค่ะ

ขอบพระคุณครับ คุณครูP noktalay

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจนะครับ

  • ได้อาหารใจ  อาหารตา กันไปแล้ว
  • นายก้ามกุ้ง จึงเอาอาหารปากมาฝากครับพี่น้องงงงงงงง

แหม พี่กุ้งก็... น่าอร่อยเชียวครับ กินเล่นๆ แซ่บหลาย

สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่านรับอาหารใจ...ค่ะ

ได้สาระดี ๆ แล้วยังได้เห็นอาหารน่าทาน ๆ ด้วย

ขอบคุณนะคะ

(^___^)

ขอบพระคุณท่านอาจารย์P คนไม่มีราก ครับ

  • ขอบพระคุณอีกครั้งครับที่แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจกระผม น้องณัฐวรรธน์ครับ
  • คำชมเชยที่ท่านมอบดุจดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจกระผมได้เป็นอย่างดีครับ
  • ขอให้ท่านมีความสุขมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท