ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ


ภาวะเกร็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก เรียกว่า ITP ชนิดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใดพบได้ทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในช่วงอายุ 2-6 ปี และมักจะหายเป็นปกติภายใน 6 เดือน เด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคเกร็ดเลือดต่ำ ITP ชนิดเรื้อรัง ในรายที่มีเกร็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีเลือดออกมาก จำเป็นต้องให้การรักษาจำเพาะที่ทันท่วงที และพิจารณาตัดม้ามเมื่อเด็กมีอายุเกิน 4 ปี

image

สาเหตุสำคัญของโรคเกร็ดเลือดต่ำชนิด ITP ในเด็ก มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเกร็ดเลือดของตนเอง ทำให้เกิดการทำลายเกร็ดเลือดของตนเองที่ม้าม จำนวนเกร็ดเลือดในกระแสเลือดจะลดต่ำลง ทำให้เกิดปัญกาเลือดออกเนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ ที่พบได้บ่อยคือ พบจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เซลล์ต้นกำเนิดของเกร็ดเลือดในไขกระดูกจะสร้างเกร็ดเลือดตัวอ่อนๆ เพิ่มขึ้นสู่กระแสเลือด แต่เกร็ดเลือดที่สร้างใหม่นี้จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ระดับเกร็ดเลือดในเลือดต่ำ

image

ลักษณะอาการของโรคนี้ ผู้ป่วยจะมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 2-3 สัปดาห์ ตามหลังการติดเชื้อไวรัส โดยมีประวัติเป็นไข้หวัดนำมาก่อนเกิดปัญหาเลือดออก หรือได้รับวัคซีนชนิดตัวเป็น บางรายมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องปาก ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกใต้เยื่อบุตา มีประจำเดือนออกมากผิดปกติ บางรายมีเลือดออกในสมองซึ่งต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยโรคเกร็ดเลือดต่ำชนิด ITP ตับและม้ามมักจะไม่โต ตรวจไขกระดูกแล้วพบว่าปกติ พบเซลล์ต้นกำเนิดของเกร็ดเลือดตัวอ่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น

โลหิตหรือเลือดเป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ร่างกายมนุษย์ใช้ในการสร้างเม็ดโลหิตคือไขกระดูก ในร่างกายของคนเรามีโลหิตมากน้อยตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณ 80 ซีซีต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม ดังนั้นถ้าท่านมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ท่านจะมีโลหิตประมาณ 4000 ซีซี โลหิตแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิตซึมมีอยู่ประมาณ 45% และส่วนที่เป็นน้ำหรือพลาสมาประมาณ 55%

image

เกร็ดเลือดมีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือด เป็นส่วนของเมกะคารีโอไซท์ (megakaryocytes) ซึ่งเป็นระยะหนึ่งของเม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างมาจากไขกระดูกแต่ไม่พัฒนาต่อ โดยปรกติเกร็ดเลือดในกระแสเลือดจะเป็นแผ่นรูปไข่ แต่ถ้านำมาย้อมสีดูในกล้องจุลทรรศน์จะเป็นแผ่นกลมรูปร่างคล้ายดาว หรืออาจจะพบเป็นกลุ่ม รูปร่างไม่แน่นอน เกร็ดเลือดมีอายุ 8 -11 วัน หน้าที่หลักของเกร็ดเลือด คือลดการสูญเสียเลือดจากร่างกายในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยเกาะกันจับกับผนังของหลอดเลือดหรือบริเวณอื่น ๆ ที่เกิดบาดแผล แล้วประกอบกันเป็นก้อนที่หยุดการไหลของเลือด อุดปากแผลทำให้หยุดการไหลของเลือดได้ โดยทำงานร่วมกับไฟบรินและมีโปรตีนซึ่งเป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดเป็นตัวช่วยในการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 337170เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2010 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท