พระพุทธรูปยุคทวาราวดี คือต้นแบบของพระกรุ และพระพุทธรูปปัจจุบัน


ในระยะสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมมีวาสนาที่ได้รับพระกรุยุคทวาราวดีมาบูชา เป็นจำนวนหลายองค์ ที่นับได้ว่ามากพอที่จะจัดหมวดหมู่ทั้งในเชิงของวัสดุ และศิลปะ ได้อย่างหลากหลาย

เนื่องจากผมมีพรรคพวกที่รู้ว่าผมชอบนำมาให้ก็บ่อยมาก จนเกือบจะเป็นทุกวัน

ทำให้ผมสามารถศึกษารูปแบบของพระพุทธรูปได้

เช่น ที่ผมเคยเขียนไปแล้วก็ พระจุฬามณี ที่เป็นทั้งต้นแบบของพระนางพญา และพระพุทธชินราช และพระหลักๆของเมืองพิษณุโลก

Shinarat024small

พระจุฬามณี ที่เป็นต้นแบบของพระนางพญาพิษณุโลก

Chulamanee3

ลักษณะของซุ้มพระจุฬามณี ที่เป็นซุ้มของพระพุทธชินราช

เมื่อหลายเดือนก่อนผมก็ได้ พระทวาราวดีของภาคกลาง ที่มีเค้าร่างของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง

007

พระทวาราวดีไม่ทราบที่ ที่มีเค้าของพระอู่ทอง

และน่าจะเป็นต้นแบบของพระหูยานลพบุรี

(หนึ่งในห้า เบญจภาคีเนื้อชิน)

เมื่อเดือนที่แล้วก็ได้พระกรุดอยคำ ที่เป็นเค้าร่างของพระรอด

Evolution013

พระกรุดอยคำ ยุคทวาราวดี ที่พิมพ์เดียวกับพระรอดลำพูน

เมื่อวันก่อนผมก็ได้พระทวาราวดี ที่เป็นเค้าร่างของพระร่วงนั่ง

Sritep5

พระทวาราวดี ไม่ทราบที่ ที่เป็นต้นแบบของพระร่วงนั่งลพบุรี

005

พระทวาราวดี ไม่ทราบที่ ที่น่าจะเป็นต้นแบบของพระร่วงยืน ศิลปะลพบุรี

 

เมื่อวานผมก็ได้พระทวาราวดี ที่มีลักษณะคล้ายพระศิลปะเชียงแสน และศิลปะพระกำแพงเพชร (ดังรูป)

Coin007

พระทวาราวดี ที่น่าจะเป็นต้นแบบของพระกรุเชียงแสน

เมื่อมีเหตุการณ์คล้ายคลึงกัน ผมจึงได้สรุปคร่าวๆว่า พระทวาราวดี ได้เป็นต้นแบบของพระกรุในระยะหลังๆ ตั้งแต่ยุคลพบุรี เชียงแสน ลำพูน สุโขทัย และอยุธยาตามลำดับ

ที่เป็นวิวัฒนาการของศิลปที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ถูกผิดอย่างไรก็หวังว่าผู้รู้จะชี้แนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 335358เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ยินมาว่าพระเครื่องบริเวณเทือกเขาภูพานมีอายุร่วมสมัยทราวดีโดยเฉพาะบริเวณไหล่เขาอำเภอเต่างอย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท