การจัดทำโครงสร้างรายวิชา


การจัดทำโครงสร้างรายวิชา

สวัสดีครับเพื่อนครูภาษาอังกฤษทุกท่าน

วันนี้ผมจะมาคุยเรื่องหลักสูตรใหม่เหมือนเดิมครับ (ตอนนี้หลักสูตรกำลังขึ้นสมอง) เป็นยังไงบ้างครับจากบันทึกสองเรื่องที่ผ่านมา เพื่อนครูเห็นว่าเป็นประโยชน์หรือต้องการจะท้วงติงตรงไหนบ้างครับ ยังไงก็อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ วันนี้ผมจะมาคุยเรื่องการจัดทำโครงสร้างรายวิชา ตามแนวทางครูบ้านนอกอย่างผมครับ เอาเป็นว่าพูดไปทำไมมี เราเริ่มกันเลยดีกว่า....

1. ผมจัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยยกเอาตัวชี้วัดชั้นปีที่เขียนไว้ในคำอธิบายรายวิชามา (เพื่อนครูคนไหนยังไม่ได้อ่าน ให้ย้อนกลับไปอ่านการจัดทำคำอธิบายรายวิชาด้วยนะครับ) ใส่เลยครับ

2. หลังจากนั้นให้เริ่มคิดว่าในคำอธิบายรายวิชาเป็นทักษะอะไร และนักเรียนควรจะเรียนอะไร และทำอะไรได้จึงจะบรรลุมาตรฐาน สาระ และตัวชี้วัดชั้นปี หลังจากนั้นจึงเขียนเป็นความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญของหน่วย ซึ่งในความเห็นของผม ผมคิดว่าความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญในรายวิชาภาษาอังกฤษน่าจะเขียนแตกต่างจากรายวิชาที่เป็นทักษะ (เอาเป็นว่าเราคุยเรื่องนี้กันวันหลังดีกว่าครับ)

3. เมื่อเขียนความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญของหน่วยแล้ว ก็มากำหนดเรื่องย่อยที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้กัน ตอนนี้เราต้องทบทวนกันหลายๆรอบครับว่า ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญที่เราเขียนนั้นครอบคลุมเรื่องย่อยๆหรือไม่ ถ้าไม่ครอบคลุมต้องปรับความคิดรวบยอดใหม่นะครับ

4. ขั้นตอนสุดท้ายก็มากำหนดชั่วโมงและน้ำหนัก ซึ่งตามความเห็นของเพื่อนครูคนอื่นเห็นว่าน้ำหนักเมื่อรวมทุกหน่วยแล้วควรจะเป็น 100 แต่สำหรับผมขอคิดต่างจากเพื่อนครูท่านอื่นครับ เพราะเวลาเราทำแผนหรือผังการประเมินผล (Test Blueprint) เราควรกำหนดแยกว่าเราจะวัดและประเมินผลอะไร ด้วยวิธีการอะไร ซึ่งถ้าหากมีเวลาว่างผมจะขอเสนอวิธีทำอีกครั้งหนึ่งครับ

5. ในส่วนที่ 5 นี้ก็เป็นตัวอย่างที่ผมได้ลองจัดทำให้เพื่อนครูพิจารณานะครับ มาเยี่ยมชมแล้ว ยังไงก็ขอกำลังใจให้จัดทำต่อไปด้วยนะครับ 

การจัดทำโครงสร้างรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ23101) ทักษะฟัง

ที่

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ความคิดรวบยอด

ชื่อหน่วย

ชั่วโมง

น้ำหนัก

1.

อ 1.1 1/1 1/4

อ 2.1 1/1

อ 2.2 1/1

อ 4.1 1/1

ทักษะการฟังเป็นทักษะรับสาร การฟังแต่ละชนิดต่างกันไปตามเนื้อสาร (input) ในแต่ละเนื้อสารมีศัพท์ การออกเสียง และโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ และนักเรียนต้องมีความสามารถในการเดาสารตามบริบทหรือสถานการณ์ จึงจะทำให้การรับสารด้วยการฟังเป็นไปอย่างสมบูรณ์

Pardon? I can’t catch what you said?

เรื่องย่อย

1. คำสั่งหรือภาษาในชั้นเรียน (ฟังแล้วปฏิบัติ)

2. คำอธิบายการทำอาหาร (ฟังแล้วเรียงลำดับภาพ)

3. คำชี้แจงวิธีการกินยา (ฟังแล้วตอบคำถาม)

20

20

การจัดทำโครงสร้างรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ23101) ทักษะพูด

ที่

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ความคิดรวบยอด

ชื่อหน่วย

ชั่วโมง

น้ำหนัก

2.

อ 1.2 1/1 1/2 1/3 1/4 1/5

อ 1.3 1/1 1/2 1/3

อ 2.1 1/1 1/3

อ 2.2 1/1

อ 3.1 1/1

อ 4.1 1/1

อ 4.2 1/1

ทักษะการพูดเป็นทักษะสื่อสาร ซึ่งทักษะการพูดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การพูดแบบสองทางจะประกอบด้วยผู้สนทนา และคู่สนทนา  และ 2. การพูดเพื่อการนำเสนอ จะเป็นการพูดแบบทางเดียว การจะพูดได้ดีนั้นนักเรียนจำเป็นต้องรู้เรื่องศัพท์ การออกเสียง โครงสร้างในการพูด การออกเสียงสูงต่ำ และความเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะซึ่งแตกต่างกันไปตามการพูดแต่ละจุดมุ่งหมาย เนื้อสาร และสถานการณ์ต่างๆ  

Interpersonal and Intrapersonal Communication

เรื่องย่อย

1. การทักทาย การขอโทษ

2. การพูดขอร้อง/ การแสดงความต้องการ การตอบการขอร้องและความต้องการ

3. การขอและให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ การตอบคำแนะนำ ความช่วยเหลือ

4. การถามทาง การระบุสถานที่

5. การพูดนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และคำศัพท์หน้าแถว

6. การพูดเพื่อแสดงความเห็น

40

40

การจัดทำโครงสร้างรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ23101) ทักษะอ่าน

ที่

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ความคิดรวบยอด

ชื่อหน่วย

ชั่วโมง

น้ำหนัก

3.

อ 1.1 1/2 1/4

อ 2.1 1/1 1/2

อ 3.1 1/1

อ 4.2 1/1

ทักษะการอ่านเป็นทักษะรับสารที่สำคัญ การอ่านจะประกอบด้วยการอ่านออกเสียงและการอ่านเอาความ การอ่านเอาความแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการอ่านเรื่องในชีวิตประจำวัน และการอ่านในเชิงวิชาการ นักเรียนจะสามารถเรียนรู้ทักษะการอ่านได้ดีนั้นจำเป็นต้องรู้เรื่องคำศัพท์ และรูปประโยค รวมทั้งการวิเคราะห์รูปประโยคแบบต่างๆ เมื่ออ่านแล้วนักเรียนต้องสามารถระบุหรือบอกใจความสำคัญ รายละเอียดปลีกย่อย และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล

Can you read them well?

เรื่องย่อย

1. การอ่านป้าย และสัญลักษณ์ต่างๆ

2. การอ่านฉลากยา วิธีการต่างๆ

3. การอ่านนิทานเรื่องเทวดาไม้เสียบ เรื่องสั้น ข่าว ประกาศรับสมัครงาน

4. การอ่านเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

5. การเปรียบเทียบโครงสร้างนิทานเกี่ยวกับแม่เลี้ยงของต่างประเทศกับของไทย

39

50

 การจัดทำโครงสร้างรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ23101) ทักษะเขียน

ที่

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ความคิดรวบยอด

ชื่อหน่วย

ชั่วโมง

น้ำหนัก

4.

อ 1.2 1/3 1/4 1/5

อ 1.3 1/1 1/2 1/3

อ 2.1 1/1

อ 2.2  1/1

อ 4.1 1/1

อ 4.2 1/1

การเขียนเป็นทักษะในการสื่อสาร ซึ่งนอกจากนักเรียนจะต้องมีความรู้เรื่องคำศัพท์ การเรียงลำดับคำในประโยค ระดับภาษาที่เหมาะกับบุคคลและวัฒนธรรมในสารแต่ละชนิดแล้ว นักเรียนจะต้องมีความรู้เรื่องรูปแบบการเขียนงานแต่ละประเภท รวมทั้งการสะกด และการใช้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนด้วยจึงจะเป็นผู้สามารถเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

Can you write well?

เรื่องย่อย

1. การเขียนบันทึกสั้นๆเพื่อแสดงความต้องการ ความเห็น และความรู้สึก รวมทั้งการตอบรับของสารแต่ละประเภท

2. การเขียนเรื่องเกี่ยวกับตนเอง สถานที่ต่างๆภายในชุมชน

3. การเขียนประวัติย่อเพื่อนำไปสู่การเขียนประวัติย่อเพื่อการสมัครงาน

 

21

30

หมายเลขบันทึก: 330686เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ

ถ้าไหมจะขอโครงสร้างแบบของพี่ได้ไม่คะภาษาอังกฤษ ป1-ม3คะ

เครียดเลยตอนนี้

ขอบคุณล่วงหน้าคะ

ขอบคุณคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท