อิริเดียม-192 รั่วไหลได้หรือไม่


อิริเดียม-192 ใช้งานโดยการแผ่รังสี

วันนั้นได้ยินข่าวจากวิทยุว่าเกิดเหตุมีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลขึ้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ แต่เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติไปตรวจดูแล้ว พบว่าเป็นสารที่นำมาตรวจอะไรสักอย่าง สรุปว่าปลอดภัยไม่มีปัญหา ฟังข่าวไปก็วิเคราะห์ไปตามประสาคนว่างงาน ว่าการใช้ภาษาไทยของเรา บางทีก็ไม่ค่อยถูกต้องเท่าไรนัก เพราะภาพของคำว่ารั่วไหลนั้น เราเห็นว่าคงเหมือนถังรั่ว แล้วมีของเหลวบางอย่างไหลออกมา

หลังจากนั้นก็ได้ติดตามข่าวจากสำนักงานฯ ทางเว็ปไซต์  www.oaep.go.th ก็เห็นบทความเกี่ยวกับอิริเดียม– 192   และมาตรการขนส่ง กล่าวถึงว่าสารดังกล่าวเป็นสารกัมมันตรังสีที่นำมาใช้ทางการแพทย์ในการรักษามะเร็ง ส่วนทางอุตสาหกรรมก็มีการใช้ถ่ายภาพรอยเชื่อมโลหะ สารนี้มีลักษณะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวสูงมาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกลายเป็นของเหลวไหลออกมา แม้ว่าภาชนะบรรจุจะเกิดความเสียหายจนรั่ว ในความเป็นจริงสารดังกล่าวนี้ ใช้งานโดยการแผ่รังสี และเมื่อไม่ใช้ หรือเมื่อขนส่ง ก็มีการใช้วัสดุกำบังรังสีห่อหุ้มมาอย่างดี ตามมาตรฐานที่สำนักงานฯ ระบุไว้ และถ้าหากบังเอิญมีความเสียหายเกิดขึ้นกับภาชนะบรรจุจนทำให้แตกหรือรั่ว ก็น่าจะเรียกว่ากำบังรังสีรั่ว (ทำให้มีรังสีแผ่ออกมา) ไม่ใช่เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี

แต่กรณีที่เกิดนี้ได้ทราบว่าหีบห่อภายนอกมีร่องรอยการกระทบกระแทกเล็กน้อย และไม่ถึงกับทำให้รั่ว เมื่อตรวจวัดรังสีก็พบว่าอยู่ในระดับรังสีตามธรรมชาติ

หมายเลขบันทึก: 325389เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท