หากเราต้องการฟื้นฟู...ผู้ติดยาเสพติด จำเป็นต้องยัดเยียดสารตัวใหม่เช่น คาเฟอีนให้หรือไม่?


"บันทึกนี้เสี่ยงต่อการขัดใจของคนทำงานด้านนี้แต่ข้าพเจ้าก็อยากเขียนถึง"

จากความสนใจและทำงานวิจัยทางด้านการให้คำปรึษา...ต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอกใบแรก และได้มีโอกาสได้ช่วยงานวิจัยอาจารย์ที่ได้รับทุนจาก ปปส. ย้อนไปเมื่อประมาณปี 45-47 นั้น...ข้าพเจ้ามักมีคำถามต่อตนเองเสมอ....แต่โดยทั่วไปกระบวนการเยียวยาที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ ก็คือ เรื่องของการจัดการที่ "ใจ"...

ณ วันนี้...ประมาณซักสี่ห้าเดือนเห็นจะได้...ที่ได้รับข้อมูลจากงานวิจัย เกี่ยวกับส่วนประกอบของยาบ้า...ที่มีส่วนประกอบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก...และพบว่า มี "คาเฟอีน" เป็นสารตัวหนึ่งที่มามีส่วนประกอบ...

ข้าพเจ้าก็เกิดคำถามต่อตนเอง...

เมื่อได้สัมผัส..กับเด็กและกระบวนการฟื้นฟูจากหลายๆ ที่ที่ตนเองได้เคลื่อนเข้าไปเรียนรู้มาหลายปีจากหลายๆ แห่งจะพบว่า ... เจ้าหน้าที่มักจะให้เด็กๆ ได้ดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมคาเฟอีน...

ก็เลยเกิดเป็นคำถามต่อตนเอง..ว่า จริงๆ แล้วเรากำลังช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านี้จริงหรือไม่หรือว่าเราแค่กำลังเบี่ยงเบนสภาวะการเสพติดจากสิ่งหนึ่งไปเสพติดอีกสิ่งหนึ่งเท่านั้น...

อ้างอิงข้อมูล...ที่แบบพออ่านได้ง่ายๆ ไม่ต้องถึงกับเป็นรายงานวิจัย จากวิกิพิเดีย ... ข้าพเจ้าก็เลยนำข้อมูลของ "คาเฟอีน" มาแปะไว้ หากว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการช่วยเหลือและเยียวยาเด็กและเยาวชน...ที่ยังไม่ตระหนักในเรื่องนี้ จะได้เกิดการกระทุ้งเกิดขึ้นในปัญญาบ้าง...

เมแทบอลิซึมและเภสัชวิทยา

คาเฟอีนจัดเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเมแทบอลิซึมหรือกลไกการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย [3]เพื่อลดความง่วง ความเหนื่อยล้า และจะส่งผลกระตุ้นเส้นประสาท โดยมีการปล่อยโปแตสเซียมและแคลเซียม เข้าสู่เซลล์ประสาท เพิ่มการตื่นตัวของร่างกาย โดยในระบบประสาท คาเฟอีนจะไปกระตุ้นการทำงานในระดับสูงของสมอง เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ทำให้กลไกการคิดรวดเร็วและมีสมาธิมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ร่างกายมีกระบวนการต่างๆในการแปรรูปคาเฟอีนที่ได้รับมาเป็นสารอนุพันธุ์ชนิดอื่นซึ่งมีฤทธิ์ต่างๆกัน ซึ่งกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

[แก้] เมแทบอลิซึม

คาเฟอีนถูกแปรสภาพโดนเอนไซม์ในตับ ได้เป็นอนุพันธุ์ของคาเฟอีนสามชนิด คือ พาราแซนทีน (84%), ธีโอโบรมีน (12%), and ธีโอฟิลลิน (4%)

คาเฟอีนจะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กภายใน 45 นาทีหลังจากการบริโภค หลังจากนั้นจะถูกนำเข้ากระแสเลือดและลำเลียงไปทั่วร่างกาย ครึ่งชีวิตของคาเฟอีนในร่างกาย หรือเวลาที่ร่างกายใช้ในการกำจัดคาเฟอีนในปริมาณครึ่งหนึ่งของที่บริโภค จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลโดยมีปัจจัยต่างๆ เช่นอายุ ระดับการทำงานของตับ ภาวะตั้งครรภ์และการใช้ยาอื่นร่วมด้วย ในผู้ใหญ่ปกติจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนประมาณ 3-4 ชั่วโมง ในขณะที่หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดและหญิงตั้งครรภ์อาจมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนประมาณ 5-10 ชั่วโมง [4] และ 9-11 ชั่วโมง .[5] ตามลำดับ ในผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง อาจมีการสะสมของคาเฟอีนในร่างกายได้นานถึง 96 ชั่วโมง.[6] สำหรับในทารกและเด็กจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนที่นานกว่าผู้ใหญ่ พบว่าในทารกแรกเกิดจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนประมาณ 30 ชั่วโมง คาเฟอีนจะถูกเปลี่ยนแปลงสภาพที่ตับ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ ไซโตโครม พี 450 ออกซิเดส (Cytochrome P450 oxidase) ซึ่งเอนไซม์นี้จะเปลี่ยนคาเฟอีนให้เป็นอนุพันธุ์สามชนิด [7] คือ

อนุพันธุ์ทั้งสามชนิดนี้จะถูกแปรสภาพต่อไป และขับออกทางปัสสาวะในที่สุด

[แก้] การออกฤทธิ์

เนื่องจากคาเฟอีนเป็นสารในกลุ่มแซนทีนแอลคาลอยด์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับแอดิโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง โมเลกุลของคาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับแอดิโนซีน (adenosine receptor) ในสมองและยับยั้งการทำงานของแอดิโนซีนได้ [8] ผลโดยรวมคือทำให้มีการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ซึ่งทำให้สมองเกิดการตื่นตัว นอกจากนี้พบว่าอาจจะมีการเพิ่มปริมาณของซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค ทำให้รู้สึกพึงพอใจและมีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนมิได้ลดความต้องการนอนหลับของสมอง เพียงแต่ลดความรู้สึกเหนื่อยล้าลงเท่านั้น

อย่างไรก็ดี สมองจะมีการตอบสนองต่อคาเฟอีนโดยการเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน ทำให้ฤทธิ์ของคาเฟอีนในการบริโภคครั้งต่อไปลดลง เราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะทนต่อคาเฟอีน (caffeine tolerance)และทำให้ผู้บริโภคต้องการคาเฟอีนมากขึ้นเพื่อให้เกิดผลต่อร่างกาย ผลอีกประการที่เกิดจากการที่สมองเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน นั่นคือทำให้ร่างกายไวต่อปริมาณแอดิโนซีนที่ผลิตตามปกติมากขึ้น [9]เมื่อหยุดการบริโภคคาเฟอีนในทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียงคืออาการปวดศีรษะและรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อแอดิโนซีนมากเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้ ในผู้ที่หยุดบริโภคคาเฟอีนจะทำให้ปริมาณของโดปามีนและซีโรโทนินลดลงในทันที ส่งผลให้สูญเสียสมาธิและความตั้งใจ รวมทั้งอาจเกิดอาการซึมเศร้าอย่างอ่อนๆได้ อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากการหยุดบริโภคคาเฟอีน แต่จะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน อาการของการอดคาเฟอีนดังกล่าวสามารถบรรเทาได้โดยการใช้ยาแอสไพริน หรือการได้รับคาเฟอีนในปริมาณน้อย[10

ภาวะเสพติดคาเฟอีน และภาวะพิษคาเฟอีน

การบริโภคคาเฟอีนปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะเสพติดคาเฟอีน (caffeinism) ซึ่งจะปรากฏอาการต่างๆทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก นอนไม่หลับ ใจสั่น เป็นต้น [11] นอกจากนี้การบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กอักเสบ และโรคน้ำย่อยไหลย้อนกลับ (gastroesophageal reflux disease) [12]

ในผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมากๆในเวลาเดียว (มากกว่า 400 มิลลิกรัม) อาจทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นมากเกินไป ภาวะนี้เรียกว่าภาวะพิษคาเฟอีน (caffeine intoxication) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ความคิดและการพูดสับสน หน้าแดง ปัสสาวะมากผิดปกติ ปวดท้อง หัวใจเต้นแรง ในกรณีที่ได้รับในปริมาณสูงมาก (150-200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม) อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ [13]การรักษาผู้ที่เกิดภาวะพิษคาเฟอีนโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิด แต่หากผู้ป่วยมีปริมาณคาเฟอีนในเลือดสูงมาก อาจต้องได้รับการล้างท้องหรือฟอกเลือด

 หากว่าไปแล้ว...ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านนี้...

ตั้งใจและปรารถนาที่จะช่วยเหลืออย่างจริงใจ ข้าพเจ้าเชื่อว่ากระบวนการเยียวยาจะให้ผลได้ดียิ่ง...และนำไปสู่กระบวนการบ่มเพาะต้นกล้าให้เติบโตเป็นต้นไม้งามในสังคมได้ต่อไป

ที่มา ; คาเฟอีน

หมายเลขบันทึก: 323714เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ระบบประสาทกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ระบบประสาทส่วนกลาง)
แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:
1. สมอง
2. ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง)
3. ไขสันหลัง

ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system หรือ CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน

เนื้อหา

[ซ่อน]
หน้าที่

จากอิทธิพลของทฤษฎีของไซเบอร์เนติกส์ในทศวรรษที่ 1950 การทำความเข้าใจระบบประสาทกลางโดยการคิดว่าเป็นระบบประมวลข้อมูล ซึ่งข้อมูลสั่งการ (motor output) จะออกมาจากการประมวลข้อมูลรับความรู้สึกเข้ามา (sensory input) แม้ว่าจะมีผลการวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ (motor activity) เกิดขึ้นมาและมีประสิทธิภาพก่อนที่จะมีการพัฒนาเต็มที่ของระบบรับความรู้สึก ความรู้สึกจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเท่านั้นโดยไม่ได้ควบคุมมัน ซึ่งความคิดนี้นำมาสู่แนวคิดว่าระบบประสาทกลางเป็นระบบที่ทำงานโดยอิสระ (autonomous system)

ที่มา ; ระบบประสาทส่วนกลาง

เวลาที่เด็กๆ หรือใครดื่ม....เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนนี้ จะรู้สึกกระปรี้ประเปร่า สดชื่น และหากว่าเมื่อหมดฤทธิ์แล้วจะมีอาการอ่อนเปลี้ย

เด็กๆ...ที่ใช้สารเสพติด มักจะดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ทดแทน ในช่วงเวลาที่อยู่ในระยะเวลาของการบำบัด...และฟื้นฟู

แล้วจะมีประโยชน์อันใดเหล่าต่อการช่วยเหลือ...หากว่าผู้ให้การช่วยเหลือยัดเหยียดเครื่องดื่มเหล่านี้ให้กับเด็กเอง...

ชัดเจนและลุ่มลึกในองค์ความรู้ ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ

สวัสดีค่ะ

  • โชคดีค่ะ  ไม่มีนักเรียนหรือผู้ใกล้ชิดติดยา
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • มาอวยพรปีใหม่ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท