ไวรัสตับอักเสบซี (น่ากลัวไหม)


โรคตับอักเสบ ซี
     
 

ในปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสตับอักเสบ เอ, บี, ซี, ดี, อี, จี แต่ไวรัสที่ก่อ
ให้เกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ คือ ชนิดบี, ซี และดี ส่วนใหญ่เราจะคุ้น
เคยกับไวรัสตับอักเสบบีมาก เพราะประชากรบ้านเราติดเชื้อไวรัสนี้ประ
มาณ 4-5 ล้านคน แต่เราแทบจะไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบซีเลย

ไวรัสตับอักเสบ ซี คือ ....ไวรัสที่ติดเข้าไปร่างกายแล้วจะเข้าไปอยู่ใน
เซลล ์ตับและมักก่อให้เกิด โรคตับอักเสบเรื้อรัง โดยมีการทำลาย
เซลล์ตับไปเรื่อยๆ มักพบว่าการ ทำลายเซลล์ตับจะรุนแรงกว่าชนิดบีมาก
เมื่อผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง ตับที่ถูกทำลายจะกลายเป็นตับแข็งและ
มะเร็งตับ ในที่สุด เมื่อได้รับเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซ ี เข้าไปในร่างกายแล้ว
อาจจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ เช่นอาการที่พบอาจมีแค่เหนื่อยอ่อน
เพลีย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีอาการแต่จะตรวจพบได้โดยบัง
เอิญมากกว่าจากการ ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายประจำปี ถึงแม้ว่า
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่พบว่าไวรัสยัง คงมีการทำลายตับไปเรื่อยๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรค ตับอักเสบเรื้อรังจาก
ไวรัสซีจะประกอบด้วย

  1. การตรวจการทำงานของตับ โดยพบว่าค่า SGPT จะสูงมากกว่าค่า
    ปกติ 1.5 เท่า (ประมาณมากกว่า 60 U/L) ติดต่อนานกว่า 6 เดือน
    โดยที่ต้องไม่มีประวัติดื่มสุรา, รับประทานยาสมันไพร
  2. การตรวจหาภูมิต้านทานจากเชื้อไวรัส (Anti HCV) ซึ่งตรวจโดยการเจาะ
    เลือด, ไม่ต้องอดอาหาร, สามารถทราบผลได้ใน 24 ชม. สะดวกและรวดเร็ว
  3. การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV-RNA) เป็นการเจาะตรวจ
    ทางเลือด แต่วิธีการตรวจค่อนข้างซับซ้อน เพื่อดูว่ามีปริมาณไวรัสในร่าง
    กายมากน้อยเพียงใด สามารถพยากรณ์โรคว่าผู้ป่วย
    จะมีโอกาสเกิด ตับแข็งและตอบสนองต่อการรักษาได้เพียงใด
  4. การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ เพื่อดูความรุนแรงของโรค
    เพื่อใช้ในประกอบ การตัดสินใจรักษา
  5. บุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี คือ
    เคยมีประวัติได้รับเลือดมาก่อน, ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น,
    ใช้เข็มสักผิวหนังร่วมกับผู้อื่น, มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ
    ไวรัสตับอักเสบซี แต่อย่างไรก็ตามพบว่าประมาณ 50% ของ
    ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ไม่สามารถพบปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี

  • หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานและการออกกำลังกายต่างๆ อย่างหักโหม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ·         งดดื่มสุราหรือยาสมุนไพร
  • พบแพทย์สม่ำเสมอโดยในปัจจุบันมีการรักษาด้วยยาชื่อ อินเตอร์เฟอร์รอน
    (Interferon) แต่ผลการรักษายังไม่ดีและผลข้างเคียงของยายังมีมาก
หมายเลขบันทึก: 321931เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อความที่ได้รับจากการเข้าไปดู ข้อมูลนับว่ามีประโยนชืมาก เลยครับผม ยินดีที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท