การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่


การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่

วิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย รหัสวิชา 503 103

หน่วยการเรียนที่ 4  ความต้องการของชีวิตมนุษย์เพื่อสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ

4.4      การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในวัยผู้ใหญ่

¨     ความต้องการของบุคคลในวัยผู้ใหญ่

¨     การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่

อาจารย์อภิฤดี จิวะวิโรจน์

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในวัยผู้ใหญ่

          วัยผู้ใหญ่เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น หากวัยรุ่นแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยก็ก้าวเข้าสู้ความเป็นผู้ใหญ่เลย วัยผู้ใหญ่คือวัยที่รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตน โดยนำประสบการณ์ต่าง ๆที่ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กมาใช้ในการปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต ผู้ที่ปรับตัวได้ดีในวัยผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่ได้ผ่านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยต่าง ๆมาตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น มีวุฒิภาวะ คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา สามารถเผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยามปกติและยามคับขัน มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม

         พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ การประเมินสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้พยาบาลสามารถสร้างเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้นอกจากจะทำให้บุคคลมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังทำให้บุคคลวัยผู้ใหญ่สามารถกระทำบทบาทหน้าที่อื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการประกอบอาชีพการงาน การเป็นบิดามารดา การดูแลบุพการี การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อันจะส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

  1. วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย 
  2. วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
  3. วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่

การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกาย

1.       การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

       มีการเปลี่ยนแปลงจจากวัยรุ่นไม่มากนัก และมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุ  20-30 ปี ร่างกายสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดดังเช่น

-          ระบบหัวใจและหลอดเลือด หลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว จะทำหน้าที่ลดลงเรื่อยๆ ประมาณ 0.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

-          ระบบหายใจจะทำงานลดลง ประสิทธิภาพของปอดลดลง 8 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 10 ปี

-          ระบบย่อยอาหารก็ทำงานลดลงเช่นกัน การหลั่งน้ำย่อยและความต้องการพลังงานลดลง หากยังรับประทานอาหารเช่นเดิมจะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิดภาวะอ้วยเกิน (obesity)

-          ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่ออายุประมาณ 21 ปี กระดูกจะหยุดเจริญเติบโต จะไม่มีการพัฒนาด้านความสูงอีกต่อไป ส่วนกล้ามเนื้อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเพศชายจะมีกล้ามเนื้อโตและแข็งแรงกว่าเพศหญิง

-          ระบบผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อยลง เริ่มมีรอยย่น ปรากฎเมื่ออายุได้ 30 ปี โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า คอ และมือ ผมจะเริ่มร่วงและเจริญเติบดตช้า เริ่มมีผมหงอก

-          ระบบประสาท เซลล์สมองจะมีวุฒิภาวะและมีน้ำหนักสูงสุดเมื่ออายุ 25 ปี หลังจากนั้จะลดลง สมองมีน้ำหนักประมาณ 13.80 กรัม ดังนั้นในช่วงอายุ 20-30 ปี จึงเป็นวัยที่มีความสามารถในการจำ การระลึกได้ถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-          ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดเช่นเดียวกับระบบอื่นๆของร่างกาย ในเพศหญิงจะมีไข่สุกเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 18-24 ปี เพศชายจะมีการผลิตสเปิร์มที่สมบูรณ์ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ระหว่างอายุ 20-39 ปี ไตจะมีขนาดโตที่สุดเมื่ออายุได้ 30 ปีโดยมีน้ำหนัก 270 กรัม และจะเริ่มลดขนาดลงช้าๆ

2.       การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่กลางคน

-          การพัฒนาด้านร่างกายรูปร่างจะอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น มีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง สะโพกเนื่องจากวัยนี้กิจกรรมที่ใช้พลังงานลดลง

-          สีผมจะเริ่มหงอกขาวเห็นชัดเจนเมื่ออายุ 50 ปีทั้งเพศชายและหญิง เนื่องจากสารเมลานิน (melanin) ที่สร้างจากรากผมมีจำนวนลดลง

-          ฟันจะหักและร่วงหลุด กระดูกเริ่มเปราะบางและหักง่ายเนื่องจากการสร้างกระดูกเกิดขึ้นน้อย

-          ผิวหนังบริเวณใบหน้าลำคอ แขนและมือเริ่มหยาบ และปรากฎรอยย่นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผิวหนังแห้งเพราะต่อมรูขุมขนทำงานน้อยลง ผิวหนังบริเวณรอบตาจะปรากฎเป็นถุงและเป็นรอยคล้ำ กล้ามเนื้อบริเวณใต้คอ ใต้แขนและช่องท้องจะนุ่มไม่แข็งแรง

-          อวัยวะที่ทำหน้า ที่รับรู้และสัมผัส จะมีความเสื่อมเกิดขึ้น เช่น ตา เปลือกตาจะเหี่ยวย่น ดวงตาไม่สดใสเริ่มฝ้าฟาง เพราะเยื่อบุลูกตาและท่อน้ำตาเหี่ยว ทำให้ขาดน้ำเลี้ยงลูกตากล้ามเนื้อควบคุมรูปของดวงตาจะขาดความกระชับลงเป็นลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงที่แก้วตา แก้วตาไม่สามารถจะยืดหดตัวได้เหมือนก่อนๆ จึงไม่สามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสายตายาว หลังอายุ 40 ปี จะมองไม่ชัดในที่มืดเนื่องจากมีการลดขนาดของรูม่านตา จะมีปัญหาในการอ่านหนังสือและการขับรถในตอนกลางคืน อวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน คือ หู จะมีความเสื่อมของเซลล์ทำให้การทำงานของหูผิดปกติ การได้ยินเสียงแหลมจะเสียก่อน การได้กลิ่นจะเสื่อมลง

ปัญหาที่พบในวัยผู้ใหญ่

1.       ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย

-          วัยหมดประจำเดือนหรือสตรีวัยทอง ( Menopause )

-          ปัญหาการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

  • การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ

-          ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

  • โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง การสั่นสะเทือน
  • โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคปอดชานอ้อย
    • โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น พิษจากตะกั่ว ปรอท แคดเมียม

ฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นซิลิกา เบนซีน

ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง การสั่นสะเทือน

ความร้อน

  • ทำให้อ่อนเพลีย หมดสติจากการเสียเหงื่อ เป็นตะคริว สูญเสียเกลือแร่
  • งานที่เสี่ยง ได้แก่ งานที่มีการอบ การเผา งานหลอม งานหล่อเชื่อมโลหะ

 

 

ความเย็น

  • ทำให้เกิดอาการปวด บวม เป็นแผลบริเวณที่ถูกความเย็นจัด ทำหมีเนื้อตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  • อาชีพเสี่ยง ได้แก่ อุตสาหกรรมห้องเย็นที่เก็บอาหารสดก่อนจำหน่าย โรงน้ำแข็ง โรงเบียร์ โรงงานผลิตนม

แสง

  • แสงสว่างที่จ้าเกินไปทำให้ตาลาย ปวดศีรษะ
  • แสงน้อยเกินไปทำให้สายตาเมื่อล้า ทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้

เสียง

  • ทำให้เกิดความรำคาญ หูอื้อ สูญเสียการได้ยินชั่วคราว
  • งานที่เสี่ยง ได้แก่ โรงโม่หิน งานระเบิดเหมือง โรงทอผ้า

** กฎหมายกำหนดให้ทำงานได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ในเสียงที่ดัง 90 เดซิเบล

                                                เกิน 8 ชั่วโมง  ในเสียงที่ดังไม่เกิน 80 เดซิเบล

การสั่นสะเทือน

  • ทำให้เกิดโรคนิ้วตาย (Raynaud’s Phenomenon)**
  • เกิดจากการใช้เครื่องมือซึ่งสั่นสะเทือนนานๆ เช่น เครื่องเจาะ เครื่องตัด เครื่องปั่น
  • ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วขัดข้อง มีการอุดของเส้นเลือด

โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคปอดชานอ้อย

โรคแอนแทรกซ์

  • สาเหตุจากเชื้อ Bacillus anthracis
  • อาการ ผิวหนังเป็นตุ่มใสๆ ตรงกลาง มีไข้ ไอ ปวดบวม
  • พบในคนเลี้ยงสัตว์ โรงงานฆ่าสัตว์

โรคปอดชานอ้อย

  • สาเหตุจากการสูดฝุ่นชานอ้อยที่มีเชื้อราเข้าไป
  • ในระยะ 2-3 เดือน เกิดอาการไข้ต่ำๆ หายใจเหนื่อย มีเสมหะข้นเหนียว สีค่อนข้างดำบางรายมีเลือดปน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • พบในผืที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับกากชานอ้อย คนงานโรงงานน้ำตาลที่มีหน้าที่เก็บกวาดชานอ้อย คนงานทำแผ่นกระเบื้องจากชานอ้อย

 

 

 

โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น พิษจากตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นซิลิกา เบนซีน

พิษจากตะกั่ว

  • อาการคอแห้ง กระหายน้ำ ปวดท้องแบบโคลิก คลื่นไส้อาเจียน มีอาการทางประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวด เป็นตะคริว ไตวาย ตายได้ใน 1-2 วัน โลหิตจาง สมอง ระบบสืบพันธ์ พบเส้นสีเทาที่เหงือก (lead line)**อาจมีอาการทางประสาท ข้อมือข้อเท้าตก สมองบวม ซึม ชักเป็นอัมพาต
  • พบได้ในคนงานเหมืองแร่ตะกั่ว ทำแบตเตอรี่ ช่างบัดกรี ทำสีชุบโลหะ ทำเครื่องเรียงพิมพ์

ปรอท

  • ทำให้เกิดโรคมินามาตะ
  • มีการอักเสบของเยื่อจมูก ลำคอเจ็บไอ เจ็บหน้าอก ผิวหนังอักเสบเปลี่ยนสี ระคายเคืองตา สั่น กล้ามเนื่อกระตุก มีผลต่อตับ ไต ผิวหนัง โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวน้อย มีผลต่อทารกในครรภ์
  • พบในคนทำเครื่องมือวัดอุณหภูมิ อุปกรณ์ไฟฟ้า สีทาบ้าน

แคดเมียม   ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต

  • ระยะที่ 1 : ปวดแขน ขา ตะโพก ปวดศีรษะ มึนงง หายใจขัด เจ็บหน้าอก ไอ ไข้
  • ระยะที่ 2 : ฟันที่ติดกับเหงือกมีวงสีเหลือง “วงแหวนแคดเมียม”   ขับโปรตีนทางปัสสาวะมาก เหงื่อมาก ปอดอักเสบ บวมน้ำ
  • ระยะที่ 3 : กระดูกทั่วร่างกายเริ่มสลาย ปวดร้าวกระดูก เดินขาถ่าง ปัสสาวะสีน้ำตาล โปรตีนสูง ไอเสมหะมีเลือดปน ปอดเริ่มเป็นพังผืด
  • ระยะที่ 4 : เจ็บปวดจนเดินไม่ไหว ร่างกายเตี้ยค่อม กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไตพิการปอดอักเสบเป็นพังผืด เสียชีวิต

พบในคนงานฉาบวัสดุที่เป็นโลหะ เช่น เครื่องมือไฟฟ้า แบตเตอรี่ เหล็กเส้น อัลลอยด์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกซ์ น้ำยากันสนิม โรงงานทำพลาสติก เครื่องปั้นดินเผา

ฝุ่นแร่ใยหิน

  • ทำให้เกิดแอสเบสโตซีส (Asbestosis) และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด
  • พบตุ่มแข็งที่ผิวหนัง หายใจลำบาก เกิดเยื่อพังผืดในช่องปอด
  • พบในคนงานเหมืองแร่แอสเบสเอส โรงงานทอผ้าแอสเบสตอส ผ้าเบรก ผ้าครัส ผ้าทนไฟ

ฝุ่นซิลิก้า

  • ทำให้เกิดโรคปอดซิลิโคซิส (Silicosis)
  • มีอาการแทรกซ้อนของโรคปอดได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ถุงลมโป่งพอง
  • พบในคนทำงานเกี่ยวกับหินทราย โรงงานโม่หิน ทำครกหิน

เบนซีน

  • ทำอันตรายต่อระบบเลือด โรคโลหิตจาง มะเร็งเลือด
  • พบในคนงานโรงงานสีน้ำมันชักเงา น้ำมันเชื้อเพลิง

2.       ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตใจ

-          วิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เสื่อมลง

-          วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ

-          มีภาวะเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว

-          วิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตสมรส

-          ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาของบุตร

3.       ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านสังคม

-          ปัญหาการปรับตัวในการประกอบอาชีพ

-          ปัญหาเรื่องการเลือกคู่ครอง

-          ปัญหาชีวิตสมรส

-          ปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับบทบาทใหม่

-          ปัญหาสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่

4.       ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ

-          มีความกดดันเนื่องจากไม่สามารถแสดงศักยภาพด้านสติปัญญาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดโอกาสในสังคมและที่ทำงานขาดการยอมรับ

-          ขาดที่พึ่งทางจิตวิญญาณเนื่องจากไม่สามารถจัดสรรเวลาไปปฏิบัติศาสนกิจได้

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ

เป็นการปฏิบัติตนที่ส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ให้มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่

  1. 1.       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านร่างกาย

-          สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

-          คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย

  • การออกกำลังกาย
  • การรับประทานอาหาร
  • สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี 

-               สร้างเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

-               สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การกดจุด การฝังเข็ม การใช้น้ำมันหอมระเหย การบำบัดด้วยโภชนาการและอาหาร ดนตรีบำบัด เป็นต้น

สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

  • ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น สาเหตุ อาการและอาการแสดง เช่น ปัญหาความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ปัญหาหมดประจำเดือน หรือชายวัยทอง
  • ควรแนะนำการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น และวิธีการชะลอความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเลือกอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่อนคลายความตึงเครียด

คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย

  • การออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
  • การรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารโคเลสเตอรอลให้น้อยลง เช่น ไข่นกกระทา ไข่แดง อาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปลาหมึก อาหารมัน เช่น หมู เนื้อ ของทอด ควรเปลี่ยนมาเป็นรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายแทน เช่น รับประทานปลาให้ย่อยขึ้น และปรับเปลี่ยนกระบวนการปรุงอาหาร จากการทอด มาเป็นการปิ้ง ย่าง ต้ม นึ่งตุ๋น แทน รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ทั้งผักใบเขียว และผลไม้ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย น้ำตัมกระดูก นม เพื่อป้องกันกระดูกเปราะบาง หักง่าย โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดประจำเดือน

 

สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี 

  • อายุ 35-59 ปี ได้แก่ วัดความดันโลหิต วัดส่วนสูง-น้ำหนักเพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ (BMI) ตรวจไขมันในเลือด
  • ในชายอายุ 35 ปี หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป  ตรวจน้ำตาลในเลือด
  •  ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในหญิงต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยทำ Pap smear และตรวจมะเร็งเต้านม

การให้วัคซีนที่จำเป็น

  1. วัคซีนป้องกันบาดทะยักและคอตีบ ควรได้รับการฉีดเริ่มต้น 3 เข็ม และรับการกระตุ้น 1 เข็ม ทุก 10 ปี
  2. วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน สำหรับหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ (ให้ก่อนตั้งครรภ์)
  3. วัคซีนอื่นๆ เช่น

-          วัคซีนตับอักเสบบี ในผู้ที่มีคู่สมรสเป็นพาหะตับอักเสบบี และได้รับการตรวจแล้วว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน

-          วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรได้รับในผู้ที่ต้องสัมผัสโรคบ่อยๆ เช่น พยาบาล  ผู้ที่สุขภาพอ่อนแอ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในเมืองหนาว ที่มีการระบาดรุนแรง

-          วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น ควรให้กับผู้ที่จะไปยังแหล่งที่มีโรคระบาด เช่น ไปแสวงบุญที่เมกกะ เป็นต้น

  1. 2.       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านจิตอารมณ์

-               พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับตน และในส่วนที่สัมพันธ์กับผู้อื่น

-               สร้างเสริมเทคนิคการจัดการความเครียด

-               สร้างเสริมสุขภาพจิตหญิงวัยหมดประจำเดือนและชายวัยทอง

-               ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา

  1. 3.       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านสังคม

-               ส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับแบบแผนชีวิตแบบใหม่และบทบาทในสังคม เช่น การเตรียมตัวมีคู่ชีวิต การปรับตัวเข้ากับคู่ครอง

-               ส่งเสริมความผูกพันของพ่อแม่กับลูกวัยทารก

-               ส่งเสริมการบริหารเวลาที่เหมาะสม

  1. 4.       แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวันผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ

-               ส่งเสริมการมีที่พึ่งทางจิตวิญญาณ

-               ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา

แนวทางในการป้องกันโรค

  1. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
  2. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนำโรค
  3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

สรุป

        วัยผู้ใหญ่ตอนต้นร่างกายมีความสามารถสูงสุด  มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น  กลุ่มเพื่อนลดน้อยลง  มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมากมาย   ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยนี้ที่สำคัญคือ  ความผิดหวังในความรัก  การไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทใหม่  ในวัยกลางคน  ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง  เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะในเพศหญิงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน  อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ ในวัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและอารมณ์มั่นคง  มีความพึงพอใจกับชีวิตที่ผ่านมา   และควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กัลยา นาคเพร็ชร์, จุไร อภัยจิรรัตน์, & สมพิศ ใยสุ่น. (2548). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สุภา จำกัด.

เพ็ญพิไล ฤธาคณานนท์. (2549). พัฒนาการมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.

ศิริพร ขัมภลิขิต, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, นันทวัน สุวรรณรูป, รัชนี สรรเสริญ, & ประภาพร จินันทุยา. (บรรณาธิการ). (2545). คู่มือการสอนการส่งเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. [ม.ป.ท.] : ทบวงมหาวิทยาลัย.

สกุณา บุญนรากร. (2551). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: เทมการพิมพ์.

สมจิต หนุเจริญกุล, วัลลา ตันตโยทัย, & รวมพร คงกำเนิด. (บรรณาธิการ). (2543). การส่งเสริมสุขภาพ. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 320419เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทาย และมาอ่านการดูแลสุขภาพค่ะ

    ขอบคุณบันทึกดีๆ น่ะค่ะ.

ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะ

ได้ความรู้เพียบเลย

ดีมากเลยครับขออนุญาตนำข้อมูลไปเผยแพร่ด้วยนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนี้นะคะ ขออณุญาตนำข้อมูลไปประกอบการเรียนรู้และเผยแพร่ให้เพื่อนๆในห้องนะคะ.....ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆที่นำมาให้กันนะคะ  พอดีจะเอาไปสอนสุขภาพให้กับวัยผู้ใหญ่พอดีเลย

ดูเหมือนว่าจะเข้าเกณฑ์ menopause กับเขาเหมือนกัน อิอิ

ขอบคุณมากๆๆๆเลยคะ

ได้ข้อมูลแยะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้

คนรักดพลงสุนทราภรณ์

ลดเยอะ แถมเยอะ กับกล่องเพลงสุนทราภรณ์ที่มีทุกเทศกาล
สอบถามเลย ที่ Line : @metrorecords
รายละเอียด คลิ๊ก

ของสำหรับผู้ใหญ่เพื่อสุขภาพ

ลดเยอะแถมเยอะทุกเทศกาล

สอบถามได้เลยที่ Line :@metrorecords

สนใจสินค้าคลิ๊กเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท