ตัวอย่างการเขียนวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย


การวิจัยในชั้นเรียน

    วันนี้ผมมีตัวอย่างการเขียนรายงานวิจัยอย่างง่าย แบบไม่เป็นทางการให้กับคุณครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนแล้ว  แต่กังวลเรื่องรูปแบบที่เป็นทางการ 5 บท ที่อาจจะค่อนข้างยากหากไม่เข้าใจ  แต่ก็มีรูปแบบการเขียนที่ไม่เป็นทางการ หรือแบบกึ่งทางการ ที่ไม่เกิน 10 หน้า ที่ช่วยให้ครูเราสามารถเขียนรายงานวิจัยกันได้ง่ายขึ้นครับ

ตัวอย่างรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง  การใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก (graphic organizers) เพื่อพัฒนาความคิด รวบยอดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย  : นายจักรกฤษณ์  จันทะคุณ

------------------------------------------------------------

 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย

            จากการจัดการเรียนการสอนวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2545 - 2550 พบว่า นักเรียนยังไม่สามารถสรุปเนื้อหาที่เรียนได้ ไม่เกิดความคงทนในการเรียนรู้  เรียนแล้วลืม  ทำให้ผลสัมฤทธิ์   ทางการเรียนต่ำ  อีกทั้งเนื้อหาที่เรียนยังเป็นนามธรรม  ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาความสามารถในการคิด โดยเฉพาะการคิดรวบยอด  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสรุปเนื้อหาได้ดีขึ้น  โดยใช้เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (graphic organizers) เนื่องจากผังกราฟิกเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบอยู่ในรูปแบบที่อธิบายให้เข้าใจและจดจำได้ง่าย  นอกจากใช้ประมวลความรู้หรือจัดความรู้แล้ว ในหลายกรณีที่ผู้เรียนมีมีความคิดริเริ่มหรือสร้างความคิดขึ้น  ผังกราฟิกยังเป็นเครื่องมือทางความคิดได้ดี  เนื่องจากการสร้างความคิดซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมอยู่ในสมอง จำเป็นต้องมีการแสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม  ผังกราฟิกเป็นรูปแบบของการแสดงออกของความคิด    ที่สามารถมองเห็นและอธิบายได้อย่างเป็นระบบชัดเจนและอย่างประหยัดเวลาด้วย (ทิศนา  แขมมณี, 2551, หน้า 388)

 ปัญหาการวิจัย

       1. การเรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก จะช่วยให้นักเรียนมีความคิดรวบยอดสูงขึ้นหรือไม่

        2. การเรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก  จะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหรือไม่

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       1. เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

โดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก  

       2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       1. นักเรียนมีความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก (graphic organizers)

       2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สูงขึ้น

       3. เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียน

 วิธีดำเนินการวิจัย

       1. รูปแบบการวิจัย  เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง  ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา      ปีที่ 4/1 โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก

       2. กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 38 คน

      3. เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย

         3.1 แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน 6 แผน มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

              3.1.1 วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา  และหน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  

              3.1.2 วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อนำมาเขียนเป็นจุดประสงค์     การเรียนรู้ 

              3.1.3 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ 

              3.1.4 วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

             3.1.5 วิเคราะห์กระบวนการประเมินผล  โดยเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผล

ตามสภาพจริงที่หลากหลาย และให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้งด้านความรู้  ทักษะกระบวนการและคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม หรือ KAP นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ 

             3.1.6 วิเคราะห์แหล่งเรียนรู้  โดยเลือกใช้สื่อการเรียนรู้  และแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้   

              3.1.7 จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนรู้

          3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                ขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้

                3.2.1 ศึกษาหลักสูตร  เอกสาร  ตำรา เกี่ยวกับเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้ ที่นำมาจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก

                3.2.2 ศึกษาเอกสาร และตำราที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                 3.2.3 วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหา  และกำหนดพฤติกรรมที่จะออกข้อสอบ

                  3.2.4 กำหนดประเภทของแบบทดสอบเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ

                  3.2.5 สร้างและจัดพิมพ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

           3.3 แบบบันทึกการตรวจให้คะแนนการเขียนผังความคิด

 การเก็บรวบรวมข้อมูล

            1. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

            2. ทดลองสอนโดยใช้เทคนิคการสร้างผังกราฟิก เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ผู้วิจัยได้ฝึกให้นักเรียนเขียนผังความคิด  และในแต่ละแผนจะให้นักเรียนสรุปเนื้อหาโดยการเขียนผังความคิด  ผู้วิจัยตรวจให้คะแนน ประเมินผล

            3. ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 การวิเคราะห์ข้อมูล

         1. ศึกษาความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพ 5 ระดับ ได้แก่  ดีเยี่ยม  ดี  พอใช้ ผ่านเกณฑ์  และปรับปรุง  เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน มีดังนี้

 

คะแนน

ระดับคุณภาพ

26-30

ดีเยี่ยม

20-26

ดี

14-19

พอใช้

7-13

ผ่านเกณฑ์

1-6

ปรับปรุง

 

2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้

เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก

 

ผลการวิจัย

     1. นักเรียนมีความสามารถในการคิดรวบยอด ภาพรวมอยู่ในระดับดี  ( =  20.71)

 (ดังตาราง 1)

     2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ดังตาราง 2)

               ตาราง 1 แสดงค่าเฉลี่ยจากการเขียนผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

 

รายชื่อนักเรียน

คะแนน (30)

ระดับคุณภาพ

นายณัฐพล

แผนสันเที๊ยะ

20

ดี

นายทรงวิทย์

คุ้มแดง

26

ดีเยี่ยม

นายศุทธา

สมบูรณ์แบบ

27

ดีเยี่ยม

นายอนุชิต

ทะมานนท์

19

พอใช้

นางสาวจารุวรรณ

ระสารักษ์

23

ดี

นางสาวจุฑามาศ

คำมา

24

ดี

นางสาวดรุณี

จันยอ

20

ดี

นางสาวธิดารัตน์

โสมา

16

พอใช้

นางสาวพรรณราย

ชูช่อ

27

ดีเยี่ยม

นางสาวฤทัยรัตน์

จันเพ็ง

21

ดี

นางสาวอภิญญา

พรมรัตน์

23

ดี

นางสาวอลิสา

ไม้แพ

25

ดี

นายจิรวัฒน์

ดวงงา

18

พอใช้

นายศราวุธ

ฤทธิ์ขุน

19

พอใช้

นายอภิสิทธิ์

ลาแก้ว

19

พอใช้

นางสาวดวงดาว

ป้านภูมิ

22

ดี

นางสาวกัณฐิกา

กุลจันทร์

17

พอใช้

นางสาวแก้วตา

พัวพันธ์

18

พอใช้

นางสาวจันจิรา

ราชเพียแก้ว

20

ดี

นางสาวชุติมา

วงค์ษา

20

ดี

นางสาวนวลนภา

บุญฉิมมา

19

พอใช้

 

ตาราง 1 (ต่อ)

 

รายชื่อนักเรียน

คะแนนรวม (30)

ระดับคุณภาพ

นางสาวน้ำฝน

จุลวิถี

18

พอใช้

นางสาวนิตยา

สีทา

22

ดี

นางสาวนิภาพร

จันดา

17

พอใช้

นางสาวพิกุล

ขัดติวงค์

18

พอใช้

นางสาวพุธิตา

สุรินทา

19

พอใช้

นางสาวเพ็ญนภา

ศรีบุญเรือง

23

ดี

นางสาวมณีรัตน์

คำบ้านฝ้าย

21

ดี

นางสาวรุ่งทิพย์

พุธฉิม

24

ดี

นางสาววัลภา

เพียลำแขก

20

ดี

นางสาวศิริพร

สีฟอง

21

ดี

นางสาวศิริวรรณ

นันทะแพทย์

23

ดี

นางสาวอชิรญา

บุญยัง

21

ดี

นางสาวอังคณา

สะคำภา

18

พอใช้

นางสาวอุไรวรรณ

บุญพันสอน

22

ดี

นายธีรพัฒน์

ดีธงทอง

19

พอใช้

นายนพดล

ศาสวัตชวาลวงศ์

18

พอใช้

นางสาววนาลี

ประมวลจิตร

20

ดี

รวม

787

 

เฉลี่ย

20.71

ดี

     จากตาราง 1 พบว่า  ภาพรวมนักเรียนนักเรียนมีความสามารถในการคิดรวบยอด

อยู่ในระดับดี  โดยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.71  เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้วพบว่า    นักเรียนมีความสามารถในการคิดรวบยอดอยู่ระหว่างพอใช้  ดี และดีเยี่ยม

 

ตาราง 2  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลัง  เรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก

 

                ก่อนเรียน                                        หลังเรียน

 

t

 

Sig.

                            S.D.                                          S.D.

      14.42                 2.37                   21.11                    2.24

16.45*

.000

 P < .05  *มีนัยสำคัญทางสถิติ .05

      จากตาราง 2 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคการสร้างฝังกราฟิก มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (  = 21.11) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 14.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

หมายเลขบันทึก: 319518เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีครับ... ครูจักรกฤษณ์
  • มาเยี่ยมชมห้องเรียนของครูครับ

สวัสดีขอรับที่มีความรู้ดีๆเเละหลากหลายขอรับ...

สวัสดีครับคุณจักกฤษณ์ มีคนชื่นชมให้ฟังจึงแวมาอยากสนทนาด้วยครับท่าน

สวัสดีค่ะ

  • ยังไม่เข้าระบบ  เพราะยังไม่ถึงเวลา แค่นั่งพักผ่อน
  • ดูทีวีรายการ ๘๔๐๐๐  แฝงธรรมะค่ะ
  • การวิจัยไม่ซับซ้อน ทำง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมหรูหรา
  • อยากให้ครูเขาเข้าใจนะคะว่าไม่ใช่เรื่องยาก  ได้ทดสอบตัวเองด้วย
  • ขอขอบคุณค่ะ
เนาวรัตน์ แสงจันทร์

แอบมาชมห้องคุณครูนะค่ะ ดีมากค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ ผมทำวิจัยเรื่องพัฒนาการอ่านและการเขียน แต่ผมติดอยู่ตรง อาจารย์บอกว่า ให้ส่งเป็นวิจัยกึ่งทางการ ผมเลยคิดไม่ออกว่า กึ่งทางการจะทำระดับไหน รูปแบบไหน กับ ทางการ นั้นระดับไหน ช่วยชี้ทางด้วยนะครับอาจารย์

อุษาพันธ์ บุญเสริมสุขเจริญ

สวัสดีค่ะอาจารย์จักรกฤษณ์

ดิฉันเข้ามาดูตัวอย่างการทำวิจัยอย่างง่ายค่ะ ขอชื่นชมอาจารย์ค่ะ และขอขอบคุณมากค่ะจะนำรูปแบบไปเป็นแนวทางในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ดิฉันรับผิดชอบค่ะ ดิฉันสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ดีครับ ผมเข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้ดี 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท