การศึกษาดูงานที่เมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สปป.ลาว


ศึกษาดูงานลาว

ศึกษาดูงานที่เมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สปป.ลาว

ดร.สุรศักดิ์ ราษี

วิทยาลัยเทคนิคเลย

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้บริบทของสงครามเย็นจึงทำให้ภูมิภาคนี้เป็นที่สนใจมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยและสปป.ลาว เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลทั้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความเป็นมาด้านประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ไทยเราได้ให้ความสนใจต่อประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคมากขึ้นตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวเองให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบว่าด้วยความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อลดข้อขัดแย้งและอุปสรรคนานัปการที่เกิดขึ้นจริง

การพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบันภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ เริ่มจากการกลับเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการพัฒนาของกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศกลุ่มเหนือ (The North) รวมถึงประเทศอดีตเครือสหภาพโซเวียต การเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาภูมิภาคและการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก การก่อสร้างรางระบายน้ำ การก่อสร้างระบบประปา และการก่อสร้างเขื่อนในสปป.ลาวและเวียดนามเป็นต้น

ในการพัฒนาประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ซึ่งรวมถึงไทย และสปป.ลาว ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น การสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ด่านบ้านนกกระเซ็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอหนองคาย จังหวัดหนองคาย และการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่จังหวัดมุกดาหารเป็นต้น โครงการต่างๆ เหลาสนี้ล้วนก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างประเทศและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ในการทัศนศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของประชาชนเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สปป.ลาว เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีดร.ประกอบ ผลงาม เป็นอาจารย์ที่สอนในรายวิชาดังกล่าว ได้นำไปศึกษาบริบทต่างๆ ของประชากรในสปป.ลาวเป็นเวลา 1 วัน ตั้งแต่เริ่มเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านนากระเซ็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ทุกคนต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าสปป.ลาวจำนวน 30 บาทต่อคน เมื่อเดินทางเข้าประเทศสปป.ลาว คณะผู้ศึกษาและข้าพเจ้าต่างแปลกใจในสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนนของสปป.ลาว ส่วนมากก็จะเป็นถนนดินเดิมและมีลูกรังปนบ้าง มีฝุ่นละอองเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยแตกต่างกันอย่างมาก เมื่อขบวนทัศนศึกษาไปถึงที่ว่าการอำเภอเมืองแก่นท้าว คณะเดินทางได้ไปเข้าพบเจ้าเมืองแก่นท้าวและปลัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการปกครองเมืองแก่นท้าว ฯพณฯ ท่านเจ้าเมืองและคณะได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติตัวในขณะที่อยู่ในสปป.ลาวซึ่งรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของคนในเมืองแก่นท้าวอย่างละเอียด

ต่อจากนั้น นักศึกษาก็ได้แยกกันไปเก็บข้อมูลตามที่สนใจ เช่น กลุ่มการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มการศึกษา กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยดำ และกลุ่มแรงงาน เป็นต้น สำหรับกลุ่มแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มที่ข้าพเจ้าศึกษา ข้าพเจ้าและคณะได้เดินสำรวจและสอบถามแรงงานด้านการเย็บผ้าและตัดเสื้อผ้าของประชาชน โครงการเย็บผ้าและตัดเสื้อผ้าเป็นโครงการของรัฐบาล โดยรัฐบาลได้เข้ามาสนับสนุนอาชีพให้กับประชาชนได้มีอาชีพและเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ค่าใช้จ่ายในการจ้างครูฝึกสอน หางานให้พร้อมวัตถุดิบ ส่วนแรงงานที่เข้ามาฝึกอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โครงการนี้จึงเป็นกิจกรรมที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก จึงทำให้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเย็บปักถักร้อยของสปป.ลาวอยู่ได้แบบพอเพียง จนมาถึงปัจจุบัน และในการเรียนภาษาอังกฤษ รัฐบาลก็จะส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยรัฐบาลจะจ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษให้กับผู้ที่สนใจศึกษา โครงการนี้ก็มีประชาชนสนใจจำนวนมาก ผลการศึกษาภาษาอังกฤษ คนทั่วโลกต่างให้การยอมรับในเรื่องภาษาอังกฤษของสปป.ลาว ในการแข่งขันระดับโอลิมปิก ประเทศสปป.ลาวติดอันดับต้นๆ ของการแข่งขันด้วย

ในช่วงเวลาพักเที่ยง คณะเดินทางได้พักรับประทานอาหารที่บ้านอาจารย์บุญเหลือ ตำแหน่งทางวิชาการของท่านคือรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยครูหลวงพระบาง ต้อนรับคณะนักศึกษาเป็นอย่างดี หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงกันเสร็จแล้ว คณะนักศึกษาจึงได้ไปเก็บข้อมูลในช่วงบ่ายโมงเกี่ยวกับข้อมูลแรงงานลาวที่เป็นแรงงานกรรมกรก่อสร้างที่กำลังก่อสร้างอยู่ในเมืองแก่นท้าวที่เป็นบ้านพักอาศัย และบ้านสมัยเก่าทรงดั้งเดิมของสปป.ลาวเป็นต้น

เมื่อคณะนักศึกษาได้เก็บข้อมูลได้ครบตามความต้องการจึงได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ในช่วงการเดินทางได้แวะรับประทานอาหารที่แก่งเขาเอน ศึกษาวัฒนธรรมการร้องเพลง พบปะสังสรรค์อารยธรรมระหว่างคนไทยและสปป.ลาว วัฒนธรรมในการต้อนรับของแม่หญิงชาวลาวจะแต่งตัวมิดชิดรัดกุมมากซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีการแต่งตัวเปิดเผย นี่แสดงว่าสังคมไทยได้รับเอาวัฒนธรรมของตะวันตกเข้ามามาก เป็นข้อแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยและสปป.ลาว ต่อจากนี้ตณะนักศึกษาได้แวะชมรีสอร์ทสปป.ลาว ที่อยู่บนเขา สามารถชมทิวทัศน์รอบๆ บริเวณเมืองแก่นท้าวได้อย่างทั่วถึง เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการท่องเที่ยวของสปป.ลาวแต่ลักษณะของรีสอร์ทจะเป็นรีสอร์ทแบบพักอาศัยธรรมดามีจำนวนบ้านพักทั้งหมด 5 หลัง และมีโรงเรือนใหญ่ 1 หลัง ทั้งหมดจะสร้างแบบมิดชิด มีประตูหน้าต่างน้อย ที่เป็นเช่นนี้เพราะลักษณะของรีสอร์ทอยู่ใกล้ถนนเกินไป ฝุ่นละอองที่มีมากทำให้เกิดมลภาวะอากาศเสีย การสร้างรีสอร์ทจึงต้องมิดชิด ทำให้ฝุ่นละอองไม่เข้าไปภายในรีสอร์ท ทำให้ภาพพจน์ในการพัฒนาของสปป.ลาว ไม่ดีในสายตานักท่องเที่ยว

กล่าวโดยสรุป ในการทัศนศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาและข้าพเจ้าได้ศึกษาวัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรวมถึงประชาชนในสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์วัฒนธรรม อารายธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสิ่งที่ดีในความคิดเห็นของนักอนุรักษ์และความเป็นปึกแผ่นทางสังคมอย่างทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ชื่อทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าคิดในอีกมุมหนึ่งของการพัฒนา ประเทศพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนาเป็นต้น สปป.ลาวยังด้อยพัฒนาเป็นอย่างมาก เช่น ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนลาดยาง รางระบายน้ำ ระบบประปา และอาคารบ้านพักอาศัย เป็นต้น สาธารณูปโภคเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ สปป.ลาวและรวมไปถึงระบบสาธารณสุข ระบบการติดต่อราชการ การให้ความสะดวกในการอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เรื่องข้อมูลพื้นฐานของวัฒนธรรม อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรวมถึงบริบทต่างๆ ของสปป.ลาว ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ยังได้รับการบริการจากข้าราชการและประชาชนของสปป.ลาวยังน้อยอยู่ และคณะผู้ศึกษาพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นจริงให้มากที่สุด และข้อมูลของสปป.ลาว ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในอุษาคเน เป็นประโยชน์มากในการทำวิจัยต่อไปในอนาคต

               

หมายเลขบันทึก: 319365เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
  • ลาวอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ดีมาก

ลาวดีมากครับ ลาวต้องพัฒนาอีกมากครับ

ลาว หรอเนี่ย อยากไปบ้างครับ อิอิ

สวัสดีครับ ท่าน อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ราษี

ช่วงนี้อากาศหนาวครับดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

อาจารย์ สุรศักดิ์ ถ่ายรูปเท่จังเลยครับ

จำไม่ได้เลยคับ

ชอบบันทึกลักษณะนี้ ได้ใจความและสาระดีคะ

นายพลากร ศรีพระจันทร์

สุด ยอด มาก ครับ อาจารย์...

ปวเรศ มณีจาร๊ญาณ ช่างก่อสร้าง กลุ่ม 1

Ok หน้าสนใจมากเลยครับ มันมากๆๆๆๆ สุดยอดเลย ครับ อยากให้ มี ผล งาน แบบ นี้ อีก ต่อไป นาน ๆๆ เลย คับ

นายธีรยุทธ ชาจันทร์ ช่างก่อสร้าง กลุ่ม 1

ดีมากๆๆ เลยครับ

นายศราวุฒิ คมกล้า ปวส.1 โยธา

ผลงานนี้มีความรู้มากครับ ไปดูงานที่ไหนเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

จะได้มีความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณล่วงหน้าครับ

นายอภิสิทธิ์ ต่อศักดิ์

อ่านแล้วอยากไปเลยทีเดียวคับ

สุดยอดป๋า

สุด ๆ ๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นเรื่องที่ดีครับ

เป็นแนวคิดที่ดี

คนไทยแต่หัวจัยลาว

อยากปัยเทียวแก่นท้าวมากๆๆเลยค่ะ ตั้งแต่จำความด้ายเคยปัยที่นั้นแค่2ครั้งเอง

คิดถึงญาติๆที่นั้นมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท