(๔)การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know – Want - Learned)


กระบวนการอ่าน

การจัดการเรียนรู้แบบ   KWL  (Know – Want - Learned)

 ความหมาย

                                การจัดการเรียนรู้แบบ   KWL   เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน   ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่างรู้ตังว่าตนคิดอะไร   มีวิธีคิดอย่างไร   สามารถตรวจสอบความคิดของตนเองได้   และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนเองได้   โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการทำความเข้าใจตนเอง   มีการวางแผน   ตั้งจุดมุ่งหมาย   ตรวจสอบความเข้าใจของตน      มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

                                การจัดการเรียนรู้แบบ  KWL  มีขั้นตอนสำคัญ   ดังต่อไปนี้

                                1.   ขั้น   K   (What   you   know) 

                 เป็นขั้นของการเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนอ่าน   เช่น   ถ้าจะให้เรียนรู้เรื่อง 

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ   ผู้สอนอาจทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่อง  

ทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว  แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันระดมสมองในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   ขณะเดียวกันก็จะให้มีการบันทึกความคิดเห็นที่เกิดจากการระดมสมอง   ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี   เช่น   ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันบันทึกบนกระดานดำในรูปของแผนที่ความคิด   (Mind   Map)   หรือแผนผังใยแมงมุม   (Web   Diagram)   ให้ชัดเจน   ซึ่งจะประกอบด้วยความคิดหลัก   ความคิดรองและความคิดย่อยตามลำดับ   โดยผู้สอนช่วยจัดข้อความที่เป็นความคิดให้ถูกต้อง ก่อนที่จะให้ผู้เรียนคัดลอกแผนที่ความคิดหรือแผนผังนั้นลงในแผ่นกระดาษ   แต่ถ้าผู้เรียนคุ้นเคยกับการเขียนแผนผังความคิดแล้ว   ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเรียนรู้ เป็นแผนผังความคิดด้วยตนเอง

                                2.   ขั้น  W   (What   you   want   to   know)

2.1    การตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน       

หลังจากที่ผู้สอนกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนในขั้น   K   แล้วผู้สอนจะ

นำผู้เรียนไปสู่ขั้นการตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   โดยการอ่านซึ่งผู้สอนจะ

ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียน     เช่น

  • นักเรียนต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง   ในเรื่องการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

  • ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเกิดผลอย่างไร
  • นักเรียนจะมีวิธีการแนะนำให้เพื่อน  ๆ   หรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติอย่างไร   เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ถ้านักเรียนมีโอกาสพูดคุย  กับท่านนายกรัฐมนตรี   นักเรียนต้องการจะถาม    อะไรบ้าง    เกี่ยวกับเรื่องนี้    เป็นต้น

2.2 ผู้เรียนเขียนคำถาม

ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนคำถามที่ตนมีลงในกระดาษให้มากที่สุด

2.3  ผู้เรียนหาคำตอบ

ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านข้อความที่ผู้สอนเตรียมไว้   โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตนตั้งคำถามไว้แล้วนั้น   ในขั้นนี้ผู้สอนอาจดัดแปลงจากการอ่าน   เป็นการใช้วิธีบรรยายหรือดูวีดิทัศน์ก็ได้ และจะเป็นการเน้นทักษะการฟังแทนการอ่าน

                                3.    ขั้น   L   (What   you   have   learned)

หลังจากที่ผู้เรียนอ่านข้อความแล้ว   ให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ได้ลงในกระดาษเปล่า    รวมทั้งเขียนข้อมูลอื่น  ๆ   ที่ศึกษาเพิ่มเติมได้   แต่ไม่ได้ตั้งคำถามไว้การบันทึกข้อมูลตามกิจกรรมในขั้น   K   W   และ   L   นั้นผู้สอนควรให้ผู้เรียนบันทึกโดยใช้ตาราง   3   ช่องดังตัวอย่างข้างล่าง

 

K

(ผู้เรียนเรียนรู้อะไรบ้าง)

W

(ผู้เรียนต้องการรู้อะไรบ้าง)

L

(ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                4.    ขั้นการเขียนสรุปและนำเสนอ

กิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมเพิ่มเติมในขั้นตอนหลัก   KWL   หลังจากผู้เรียน

ได้เรียนรู้และเขียนข้อมูลความรู้ที่ได้ในขั้น   W   และ   L    แล้ว   ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนผังความคิดเดิมที่ผู้เรียนเขียนไว้ในขั้น   K   ซึ่งอาจจะมีการตัดทอนเพิ่มเติม   หรือจัดระบบข้อมูลใหม่   เพื่อให้ผังความคิดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   หรืออาจมีกิจกรรมอื่น    ที่ผู้สอนเห็นว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้   เช่น   มีการอภิปรายถึงเหตุและผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อม    หรือให้ผู้เรียนนำเสนอแผนผังความคิด     เป็นต้น

ข้อสังเกต

                                เทคนิค   KWL    โดยปกตินิยมใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้เรียนอ่านหรือศึกษาเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง   หรืออาจเป็นการศึกษาจากการฟังบรรยาย   หรือดูวีดิทัศน์   แล้วต้องการให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้   ถือเป็นการฝึกทักษะการอ่าน   การฟังด้วย   หลังจากนั้นผู้เรียนจะเขียนคำตอบ   ซึ่งคำตอบของผู้เรียนจะมีต่าง   ๆ    กัน   สิ่งที่ผู้เรียนเขียนจะสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในการเรียนรู้   หรือสิ่งที่เขาต้องการศึกษาและความคิดรวบยอดที่เขาเขียนเป็นแผนผังความคิด   นั่นคือสิ่งที่เขาได้จากการเรียนรู้นั่นเอง

                 โดย ดร.สุวิทย์  มูลคำ

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนการอ่าน
หมายเลขบันทึก: 317056เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เก่งมากพี่เรา เขียน blog ด้วย

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท