อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน


การทอกกฐินเป็นกาลทาน

กฐิน  แปลว่า  กรอบหรือไม้สะดึงสำหรับขึงเย็บจีวรของภิกษุ เป็นทานที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้พุทธบริษัทถวายแด่ภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาสสามเดือน ณ อาวาสแห่งนั้นๆ

ผมนำความรู้ ตำนาน บ่อเกิดประเพณี ความเชื่อ ของชาวไทยมาฝากผู้อ่านที่สนใจ

การทำบุญทอดกฐินนับได้ว่าเป็นการทำบุญที่มีอานิสงส์มากทั้งผู้ถวายคือญาติโยมพุทธบริษัท และพระสงฆ์ที่รับกฐิน พระจะได้รับอานิสงส์ 5 ประการคือ

1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาพระภิกษุด้วยกัน

2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้

3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้

4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปราถนา

5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

สำหรับผู้ทอดกฐิน หรือญาติโยมก็จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการเช่นกัน

1. ทำให้มีอายุยืนยาว

2. ทำให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์

3. จะไม่ถูกวางยาพิษให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

4. ทรัพย์สมบัติจะไม่เป็นอันตรายด้วยโจรภัยหรืออัคคีภัย

5. จะได้เป็นเอหิภิกขุในอนาคต

มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชายยาจกคนหนึ่งอาศัยท่านศิริธรรมเศรษฐี เลี้ยงชีพโดยการเฝ้าไร่หญ้า จึงมีชื่อว่าติณบาล ได้อาหารเป็นค่าจ้างวันละหม้อ เขาคิดว่าเรายากจนต้องมาทนรับใช้คนอื่นเช่นนี้ ก็เพราะไม่ได้ทำทานไว้ เขาจึงแบ่งอาหารเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งถวายแด่ภิกษุที่มาบิณฑบาต ส่วนหนึ่งตนบริโภค ทำอยู่เป็นเวลานาน ท่านเศรษฐีสงสารจึงเพิ่มอาหารให้อีก 1 ส่วน เขาเอาส่วนที่ได้เพิ่มมาให้แก่พวกยากจนเอาไปกิน

ต่อมาเป็นวันออกพรรษา ท่านเศรษฐีจะทอดกฐินจึงประกาศให้คนในบ้านได้มีส่วนร่วมกุศลด้วย นายติณบาลได้ฟังมาว่า การทอดกฐินได้บุญมากอยากจะร่วมกุศลด้วย แต่หาของร่วมไม่ได้ จนใกล้วันทอด จึงตัดสินใจเอาผ้านุ่งของตนออกมาพับแล้วกลัดใบไม้นุ่งแทน เที่ยวเดินขายตามตลาด ประชาชนเห็นเข้าก็พากันเยาะเย้ยต่างๆนานา เขาตอบว่า พวกท่านอย่าเยาะเย้ยเราเลยเรายากจน เราจะนุ่งใบไม้เฉพาะชาตินี้เท่านั้น ชาติต่อๆไปเราจะนุ่งห่มผ้าทิพย์ ในที่สุดเขาก็ขายได้ราคา 5 มาสก 1 บาท จึงเอาเงินไปให้เศรษฐี ท่านเศรษฐีเอาเงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บจีวร กิตติศัพท์ เกียรติคุณที่เขาทำบุญได้ลือกระฉ่อนจนทราบถึงพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า เขาบอกว่าไม่มีผ้านุ่ง พระราชาจึงสั่งพระราชทานผ้านุ่งราคาหนึ่งแสนไปให้เขาแล้วพระราชทานบ้าน ทรัพย์ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาส ทาสีแก่เขาเป็นจำนวนมาก เขานึกถึงบุญคุณของบุญกุศลจึงได้ทำบุญเป็นการใหญ่ และพยายามสร้างฐานะจนได้เป็นเศรษฐี ในกาลต่อมาเมื่อเขาตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสุขอันเป็นทิพย์ทุกอย่าง มีนางเทพอัปสรเป็นบริวารหนึ่งหมื่นคน แม้ท่านเศรษฐีเมื่อตายแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดเยวกัน มีความสุขอันเป็นทิพย์เช่นกัน

การทอกกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียว ในปีหนึ่งๆต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติเพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศลกาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย

ขอให้ผู้อ่านจงถึงพร้อมด้วยความดี........

อ้างอิง

พระกฐินพระราชทาน โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร

อาจารย์เก

 

หมายเลขบันทึก: 312088เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หลายวันก่อน นิสิตเก่า นิเทศศาสตร์ รุ่น 13 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพทำบุญทอดกฐิน ณ วัดหนองคูราษฎร์บำรุง ต.ฟากห้วย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

หลายวันก่อน นิสิตเก่า นิเทศศาสตร์ รุ่น 13 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพทำบุญทอดกฐิน ณ วัดหนองคูราษฎร์บำรุง ต.ฟากห้วย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

 

อานิสงส์ 5 ประการครับ รับไปเลยตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา

อาจารย์เก

ถามท่านผู้รู้ครับ อยากทราบอานิสง ของการแจกไม้สวรรค์นำคณะทำบุญครับ


นานที..ปีละครั้ง สวรร์เป็นที่หวังได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท