การใช้สารสนเทศทางด้านการศึกษา


รวมบทความแปลของการใช้สารสนเทศทางด้านการศึกษาในแง่ด่างๆ

Holmes  (1987) ได้ศึกษาพฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นโรงเรียนของรัฐ ในรัฐฟลอริด้า ประเทศอเมริกา พบว่า ส่วนใหญ่ครูวิทยาศาสตร์ใช้หนังสือ หรือตำราวิทยาศาสตร์ ประกอบการค้นคว้าและประกอบการสอนมากที่สุด  สำหรับแหล่งสารสนเทศที่นิยมใช้ คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหรือห้องสมุดวิทยาลัย ตลอดจนใช้หนังสือตำราส่วนตัว  ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการค้นหาสารนิเทศของครูวิทยาศาสตร์ที่พบมากที่สุด ได้แก่  ไม่มีเวลาในการสืบค้น และไม่รู้แหล่งสารสนเทศ ตามลำดับ

 

Holmes, Gloria Price.  1987. An Analysis of the Information-Seeking Behavior of Science Teacher in Selected Secondary Public School in Florida.  Dissertation Abstract International. 48 (Auguest): 240-A.

 

 

Uibu (2008) ได้ทำการศึกษาผลกระทบและสภาพการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)  ในด้านการศึกษาของครู  จำนวน 5 คนที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาของประเทศ Estoniaโดยใช้วิธีการศึกษาแบบคุณภาพและการสัมภาษณ์  ผลการศึกษาพบว่า ในด้านการศึกษามีการใช้สารสนเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นและมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นด้วย พบว่า ครูมีการอบรมหรือเรียนรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การนำมาใช้ในการจัดเตรียมการเรียนการสอน  การสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์  การเพิ่มคุณภาพของการเรียน เมื่อพิจารณาในด้านการเรียนนั้น พบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้มากที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งมีการนำมาใช้ในการเพิ่มองค์ความรู้ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยเป็นเครื่องมือในการสร้างวัสดุอุปกรณ์ และสื่อประกอบการเรียนการสอนได้ การค้นคว้าสารสนเทศทำได้กว้างขวางมากขึ้น สะดวกมากขึ้น และมีโปรแกรมต่างๆ ที่สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบดั้งเดิมให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

 

Uibu, Krista ; Kikas, Eve. 2008.  The Role of a Primary School Teacher in the Information Society.  Scandinavian Journal of Educational Research. 52(5) : 459-480.

 

Thobega (2007) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมในการนิเทศการศึกษาของครูทางด้านการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ในศึกษาถึงความร่วมมือระหว่างครูผู้สอนและการรูปแบบการนิเทศ ผลการศึกษาพบว่า ครูเกษตรส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการนิเทศ ดังนี้ แบบ Clinical, Contexual และ Conceptual  โดยปกติแล้วครูเกษตรมีการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการนิเทศการศึกษาบางครั้งมีการประยุกต์ใช้รูปแบบการนิเทศทั้ง 3 แบบ โดยมีรูปแบบหลัก แต่ไม่ได้ยึดกับโครงสร้างของรูปแบบการนิเทศใดรูปแบบหนึ่งเพียงรูปแบบเดียว ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการประสานงานทางด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 

Thobega, Moreetsi, Miller, Greg.  Supervisory Behaviors of Cooperative Agricultural Education Teachers.  Journal of Agricultural Education. 48(1) : 64-74.

 

Olaisen (1984) ได้ศึกษาพฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศของนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ในประเทศนอร์เวย์ โดยใช้แบบสอบถามและการสำรวจภาคสนาม ซึ่งใช้วิธีการสังเกตและการมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า สารสนเทศที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการใช้มากที่สุด คือวารสาร โดยใช้วารสารสาระสังเขป (Index&Abstract) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นมากที่สุด  เครื่องมือที่ใช้น้อย ได้แก่ รายการบรรณานุกรม บัตรรายการ และบรรณารักษ์  แหล่งสารสนเทศที่นิยมใช้ได้แก่แหล่งสารสนเทศที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ห้องสมุดประชาชน  นอกจากนี้ยังพบว่า สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการค้นคว้าสารนิเทศ คือ การแนะนำส่วนบุคคลให้รู้แหล่งสารนิเทศ และการติดต่ออย่างเป็นทางการ

 

Olaisen, Johan leif.  1984.  Towward a Theory of Information Seeking Behavior among Scientist and Scholars. Dissertation Abstracts International. 46(4A) : 824.

หมายเลขบันทึก: 309202เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท