การใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของวิทยาเขต Arbana มหาวิทยาลัยอิลินอยด์


Surveying graudate and professional students’ perspectives on library services, facilities and collections at the university of Illinos at Urbana Champaign : does dubject displine continue to influence library use. Science and Technology Librarianship.

                เป็นการศึกษาเชิงสำรวจสภาพการใช้และความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและอาจารย์วิทยาเขต Arbana มหาวิทยาลัยอิลินอยด์  จำนวน 1,400 ชุด ในปี 2004  โดยสำรวจสภาพการใช้และความคิดเห็นต่อห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบสอบถามที่จัดส่งทาง E-mail และการตอบแบบสอบถามจากเว็บไซต์   จำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามตามสาขาวิชาเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  วิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาตร์  สาขาสังคมศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ผลการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  เป็นดังนี้ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 36.9 เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 34.8 เป็นนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ ร้อยละ 17.3 เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  ร้อยละ 10.3 เป็นนักศึกษาสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในการใช้บริการห้องสมุดพบว่า ส่วนใหญาของนักศึกษาสาขาศิลปศาสตร์และมนุษศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ใช้บริการเชื่อมโยงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน (ร้อยละ 67.6 และ 64.3 ตามลำดับ) ส่วนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้บริการห้องสมุดโดยการเชื่อมโยงผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน (ร้อยละ 73.1 และ 72.7 ตามลำดับ)

ในการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ที่มีความถี่ในการใช้มากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พบว่า สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพมีการใช้ฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุ (ร้อยละ 25.8) รองลงมาคือสาขาสังคมศาสตร์ (ร้อยละ 24.5) สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ร้อยละ 22.3) และสาขาสังคมศาสตร์ (ร้อยละ 11.1) ตามลำดับ  โดยจำแนกการใช้เป็นดังนี้ 

1)การสืบค้นฐานข้อมูลบทคัดย่อใช้และบรรณานุกรม นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ฐานข้อมูลนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ร้อยละ 71.4)  รองลงมาได้แก่ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ (ร้อยละ  61.9) สาขาสังคมศาสตร์ (ร้อยละ 60.9) และสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ร้อยละ 58.1) ตามลำดับ  

2)การสืบค้นฐานข้อมูลเต็มรูป พบว่า สาขาที่มีการใช้มากที่สุด คือ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ร้อยละ 80.2) รองลงมา ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ (ร้อยละ  68.9) สาขาสังคมศาสตร์ (ร้อยละ 63.9) และสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ร้อยละ 47.1) ตามลำดับ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของวารสารอิเล็กทรอนิกส์กับวารสารที่เป็นสิ่งพิมพ์ พบว่า ทุกกลุ่มสาขาเห็นว่า วารสารอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญมากกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวารสารประเภทฉบับพิมพ์  จำแนกเป็น

สาขา

ร้อยละของการให้ความสำคัญ

วารสารฉบับพิมพ์

วารสารอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

58.2

74.9

กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ

58.9

90.2

กลุ่มวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

51.2

85.7

 

สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อทิศทางการพัฒนาห้องสมุดใน 3 ปีข้างหน้า (2005-2007) ในด้านที่เกี่ยวกับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

 

 

ความคิดเห็น

สาขาวิชา

ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วิทยาศาสตร์

ชีวภาพ

วิทยาศาสตร์

กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์

สังคมศาสตร์

จัดหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเข้าถึงบทความวารสารที่เป็นปัจจุบัน

69.5%

82.4%

81.4 %

76.9%

จัดหาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเข้าถึงบทความวารสารฉบับเก่า

45.8%

77.4%

73.2%

68.2%

มีบริการจัดส่งเอกสารฉบับเต็ม (deliver full text) มายังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

51.1%

59.7%

59.1%

54.3%

ปรับปรุงงบประมาณจากการจัดหาวารสารฉบับพิพม์เพื่อเพิ่มงบในการการจัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น

28.2%

59.3%

57.2%

41.9%

 

จาก

Chrzastowski, Tina W. & Joseph, Lura.  2006. Surveying graudate and professional students’ perspectives on library services, facilities and collections at the university of Illinos at Urbana Champaign : does dubject displine continue to influence library use. Science and Technology Librarianship. Winter. retrive at 17 oct 2006 from  http://www.istl.org/06-winter/refencesed3.html

หมายเลขบันทึก: 309183เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท