ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>บทบาทของครูศูนย์การเรียนชุมชน(ครูศรช.)ที่ควรรู้...


บทบาท หน้าที่

บทบาทภารกิจของครูศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.)

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       กล่าวว่าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น อันเป็นการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งทางการศึกษานอกโรงเรียนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดการศึกษานอกโรงเรียนในชุมชนขึ้นในรูปแบบศูนย์การเรียนชุมชน   โดยจัดกิจกรรมการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษา การศึกษาสายอาชีพ การศึกษาตามอัธยาศัย การบริการข่าวสารข้อมูล และเป็นแหล่งรวบรวมสื่อการศึกษาทุกรูปแบบ เช่น สื่ออิเล็คทรอนิกส์ สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้ตลอดเวลา
       โดยมีบุคลากรประจำศูนย์การเรียนชุมชน คือ ครูศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะแนว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทุกประเภท พร้อมทั้งให้บริการสื่อการเรียนการสอนแก่นักศึกษาและประชาชน โดยปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงติดต่อกัน และสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า5 วัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นการปฏิบัติงานเต็มวัน เพื่อตอบสนองความแตกต่างของนักศึกษาที่มีเวลาว่างไม่ตรงกันจะมาพบกลุ่มหรือศึกษาค้นคว้าได้ตามสะดวก ไม่ต้องจำกัดเวลา ให้ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนในอัตราตามวุฒิการศึกษาแต่ไม่เกินวุฒิปริญญาตรี โดยศูนย์การเรียนชุมชนจะต้องเข้าเกณฑ์ขั้นต่ำด้วย ดังนี้(ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค. 0526.7/31309 ลง.16 ต.ค.2541)

ด้านการบริหารจัดการ

1. อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
    มีสถานที่ตั้งสำหรับใช้ในการดำเนินงานของศรช.ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าเหมาะสม,มีเครื่องเล่นวีดิทัศน์และเครื่องรับโทรทัศน์อย่างน้อย 1 ชุด, มีวิทยุเทปอย่างน้อย1 เครื่อง, มีสื่อแบบเรียน ชุดวิชา แถบบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ทางการศึกษาอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับกิจกรรมหรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ,มีครุภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางสื่อการเรียน ตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น

2. การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
      มีการจัดเตรียม ควบคุม ดูแล
และใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน,มีการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน และดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอ,สื่อการเรียนให้มีการจัดระบบหมวดหมู่และประเภทของสื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้บริการ,เผยแพร่สื่อและเอกสารประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมารับบริการจากศูนย์การเรียนชุมชนอย่างต่อเนื่อง, ประสานงานกับชุมชนองค์กรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานองค์กรและประชาชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชน, จัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้บริการข้อมูล ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในรูปแบบการจัดนิทรรศการ แผนภูมิ ป้ายนิเทศการแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการพัฒนาอาชีพ

ด้านกิจกรรมการเรียนรู้

1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่    การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา และ/หรือ
2. ส่งเสริม สนับสนุน เอื้ออำนวยความสะดวก และ/หรือประสานงานเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐเอกชนชุมชน สถานประกอบการ และประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตดังต่อไปนี้ กิจกรรมนันทนาการเป็นการพัฒนาทางด้านสุขภาพ อนามัยและจิตใจ เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การวาดรูป
การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ ของชุมชน, กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยเฉพาะการจัดการศึกษาสายอาชีพ/จัดกลุ่มสนใจ เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรต่างๆ เช่น สตรี แม่บ้าน ผู้สูงอายุเด็ก คนพิการ ฯลฯ, กิจกรรมส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ สืบทอด และเผยแพร่,กิจกรรมพัฒนาชุมชนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการรวมกลุ่ม  เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน เช่น การส่งเสริมประชาธิปไตย การปลูกป่าการเป็นอาสาสมัครเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เอดส์ ฯลฯ
      นอกจากนี้ ได้มีการกำหนด บทบาทภารกิจครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน(ศรช.)
ตามคู่มือการปฏิบัติงานครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนพ.ศ.2546 ให้ถือปฏิบัติโดยสรุปดังนี้
      ภารกิจของครูศรช.ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้คือ
       1.การประชาสัมพันธ์/การแนะแนว, การปฐมนิเทศ, การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น,
        2.การวางแผนการจัดการเรียนรู้,
    3.การจัดกระบวนการเรียนรู้(การพบกลุ่ม,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง,การทำโครงงาน,การสอนเสริม,กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต), การวัดและประเมินผลการเรียนรู้(แบบทดสอบย่อย)

     ภารกิจของครูศรช.ในด้านการบริหารจัดการ มีดังนี้ คือ สำรวจความต้องของประชาชน ชุมชนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในศรช. และเก็บรวบรวมหลักฐาน ข้อมูล
ความต้องการการจัดกิจกรรมกศน.และกิจกรรมอื่น ๆ ของประชาชน,ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศรช.,จัดทำข้อมูลชุมชนและจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมที่จะให้บริการ,จัดทำแผนงานและโครงการเพื่อเสนอเข้าแผนพัฒนาตำบล-อบต., ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ งานกศน., ให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในศรช. เพื่อใช้ศึกษาด้วยตนเองของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต,จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น (ได้แก่การส่งเสริมการรู้หนังสือให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมชุมชนปลอดยาเสพติด การจัดการแข่งขันกีฬาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยการประสานงานอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในชุมชน นักศึกษากศน. เป็นผู้ช่วยดำเนินการ),เก็บรวบรวมหลักฐานที่เป็นกิจกรรมการศึกษาของนักศึกษากศน. ของประชาชนในชุมชนจัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดจัดทำสรุปผลการดำเนินงานของศรช. รายงานต่อ ศบอ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ,ดำเนินงานธุรการในศรช. (เช่น การรับสมัครนักศึกษา แนะนำให้คำปรึกษาตรวจสอบหลักฐานการขึ้นทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน จัดทำแผนการเรียนการสอนการสอนเสริมและการพบกลุ่ม), สรุปและรายงานผลการปฏิบัติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,ให้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชน(โดยประสานเครือข่ายชุมชนให้มีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสถาบันศาสนา/สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น)

      ภารกิจของครู ศรช.ในด้านการส่งเสริมสนับสนุน มีดังนี้ คือการประชาสัมพันธ์(จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ กระดานข่าว ป้ายนิเทศ เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ใช้สื่อบุคคล เช่น นักศึกษา ประชาชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานเครือข่ายหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น), การแนะแนว(การให้คำปรึกษาและแนะแนวก่อนเรียน – ระหว่างเรียน และหลังจบการศึกษา), การกระจายและการหมุนเวียนสื่อ, การปฏิบัติงานธุรการ,การนิเทศการติดตามผลและรายงานผล

     โดยสรุปดังที่กล่าวมานี้ ศูนย์การเรียนชุมชนที่มีอยู่ทุกตำบลโดยหลักการ ล้วนเป็นการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างกศน.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น ว่ากันมาตั้งแต่เรื่องการจัดตั้งศูนย์ฯ การคัดเลือกครู การดูแลสนับสนุนงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย การดูแลให้ครูอยู่ทำงานตามบทบาทภารกิจอยู่ที่ ศรช.สัปดาห์ละ 5 วันที่เน้นให้ครูนั้นจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษา ทำงานที่ศรช.เต็มเวลา จัดกิจกรรมการศึกษาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเต็มที่ จัดศรช.ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน บทบาทภารกิจดังกล่าวข้างต้น คนเป็นครูศรช.ทำได้ครบถ้วนหรือไม่ ครูศรช. มาช่วยกันวิพากษ์เคาะสนิมกันดีไหม อย่างน้อย ๆ ก็จะได้ไม่ลืมบทบาทภารกิจของตน คนทำผิดก็จะได้กลับตัวกลับตนเริ่มต้นเสียใหม่ ทำงานศรช.ให้เป็นไปตามหลักการและอุดมการณ์ที่วางไว้ ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สังคม แหล่งเรียนรู้ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสืบไปค่ะ

 


 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ควรทราบ
หมายเลขบันทึก: 308585เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีครับ

ได้คิดและคิดได้

ต่อไปต้องคิดเป็น แต่ไม่คิดมาก

ขอบคุณอีกครั้ง

อยากทำงานเพื่อช่วยสังคมแบบ ครู ศรช.บ้างจัง

แต่ความรู้ส่งคืนครูตั้งแต่เรียนจบ

เราต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด  เพื่อสังคม

สู้ต่อไป

ให้กำลังใจเเด่ครูทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท