บทเรียนเรื่องชุมชน จากค่า Pi


ค่าคงที่ของความเป็นชุมชนมนุษย์

อ่านบทความวิชาการทางสังคมจนมึน

ออกจากตึกเรียน ระหว่างขี่จักรยานกลับบ้านเกิด แวบขึ้นมาในห้วว่า

นักวิทยาศาสตร์สุขภาพ พยายามเข้าใจสังคม พวกเขาก็พยายามศึกษาสังคม หรือชุมชนที่พวกเขาสนใจ ด้วยวิธีคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ (Bio-medical science, Bio-mechanical paradigm)

ลองเทียบวิธีการทำความเข้าใจอะไรสักอย่างเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น การทำความเข้าใจคุณลักษณะของวงกลม

เราอยากรู้พื้นที่ เส้นรอบวง หรือลักษณะอื่นๆ ของวงกลม ศึกษากันจนแตกฉาน จนค้นพบค่าสัดส่วนของเส้นรอบวงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ว่าเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่ง เรียกมันว่าค่า Pi (สัญลักษณ์ Π)

เมื่อรู้จัก Pi เราก็สามารถเข้าใจวงกลมทุกวง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เพียงใดก็ตาม รัศมีของวงกลมอาจจะเปลี่ยนไปได้อย่างไม่รู้จบ แต่ไม่ว่ารัศมีจะมีค่าเท่าไหร่ การจะทำความเข้าใจวงกลมนั้น ต้องโยงกลับมาหาค่า Pi อยู่เสมอ

Pi จึงเปรียบเสมือน "ความเป็นวงกลม" อันคงที่ ซึ่งมีอยู่ในวงกลมทุกวง

ที่เปลี่ยนไปคือค่ารัศมี ที่คงที่ คือ ค่า Pi

ทันตสาธารณสุข พยายามศึกษา และทำความเข้าใจสุขภาพ/สุขภาพช่องปากของกลุ่มคนในชุมชน

ไม่รู้ว่าคิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า

การศึกษาด้านสาธารณสุขมีวิธีมองแบบนี้ เป็นพื้นฐาน...กล่าวคือ

แม้จะมีความ "แปรเปลี่ยน" ไม่เหมือนกัน ไม่คงที่ ของการศึกษา อายุ รายได้ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แต่ชุมชนของมนุษย์ มี "ค่าคงที่" ค่าหนึ่ง ค่าคงที่นี้ อาจกล่าวได้ว่ามันคือ "ความเป็นชุมชนของมนุษย์" เหมือนกับที่ค่า Pi เป็นค่าที่บอก "ความเป็นวงกลม"

ด้วยวิธีคิดแบบนี้รึเปล่าที่ทำให้เกิดมี "สมมติฐาน" คือการคาดเอาว่าความคงที่ คืออะไร ...แล้วก็มี "ตัวแปร" คือสิ่งที่ต่างกันออกไปในแต่ละคน เหมือนรัศมีที่ไม่เท่ากันของวงกลม จับตัวแปร มาคำนวณภายใต้สมมติฐาน ผลผลิตคือ "ความรู้ ?" แล้วก็มาตู่เอาว่า เราเข้าใกล้ "ความจริง" เกี่ยวกับมนุษย์มากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ วิธีคิดแบบนี้หรือเปล่า เราจึง "ศึกษา" ชุมชนได้โดยไม่ต้อง "เข้าใจ" ชุมชนในมิติอื่นๆ เลย นอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับ สมมติฐาน และ ความสัมพันธ์ของตัวแปร

"ค่าคงที่" สำหรับการศึกษาชุมชน, สังคมของมนุษย์ มีอยู่จริงหรือ

โครงการสุขภาพต่างๆ ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ เหตุหนึ่งเพราะการอิงกับวิธีคิดแบบนี้ ใช่หรือไม่

ตั้งคำถามแบบไม่มีคำตอบอีกแล้ว...อยากให้ลองเอาไปคิดกันดูนะครับ

ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะเอาคำถามนี้ไปออกข้อสอบดู อยากรู้จริงๆ ว่านักเรียนของเราจะมองประเด็นนี้ยังไง

หมายเลขบันทึก: 306353เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอคิดด้วยคนครับ...

  • คณิตศาสตร์หรือตรรกวิทยา ถูกเชื่อเสมอว่าไม่ผิด  แต่ลืมไปว่ามนุษย์เองสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์ยังไม่เชื่อใจตัวเองสักเท่าไหร่ และพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา
  • ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ทฤษฎีของฝรั่งบางอย่างเหมาะสมในยุคนั้น ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์
  • กระบวนการวิจัย (วิธีการทางวิทยาศาสตร์) จึงเป้นทางออกที่พอปลอบใจว่าคุณไม่หลงทางมาก แต่การจะเรียนรู้ "ชุมชน" นั้นต้องใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ การฝังตัวแบบกัลยาณมิตร มากกว่าการเก็บข้อมูลแบบนักวิจัยผู้คลั่งใคล้ตัวเลข (ที่สุดก็ make เสียเยอะ) และใช้ "ใจ" นำหน้าเทคโนโลยี
  • ไม่มีอะไรคงที่ในโลกนี้ ครับ

สวัสดีครับคุณ Khan

ขอบพระคุณที่กรุณาให้ความเห็นนะครับ

ประเด็นเรื่องวิจัยเชิงคุณภาพนั้นน่าสนใจมาก

ผมเชื่อว่า กระบวนการหาความรู้ ไม่ว่าจะเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ

ก็มีข้อจำกัดทั้งสิ้น

แต่เป็นหน้าที่ของนักวิจัย ที่จะต้องทำความเข้าใจข้อจำกัดนั้น

ทำความเข้าใจตัวเอง และวิธีที่ใช้ศึกษาหาความรู้

ก่อนที่จะเข้าใจความรู้ที่หามาได้ครับ

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • เป็นโอกาสดีที่ได้แสดงความคิดเห็น (ปกติ กลัวหมอครับ)
  • ว่างๆ บันทึกให้อ่านอีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท