ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

มหกรรมว่าวอีสานที่จังหวัดบุรีรัมย์


วิถีชีวิตชาวนาหลังเกี่ยวข้าว

มหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์
วิถีชีวิตชาวนาหลังเกี่ยวข้าว
ลอยเด่นบนฟ้าเป็นเพื่อนคลายเหงา

 


"ว่าว" เป็นการละเล่นที่มีมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์ โดยอาศัยกระแสลมส่งโครงรูปเบาที่มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันปิดด้วยกระดาษหรือผ้าให้ลอยขึ้นไปอยู่ในอวกาศ ผู้เล่นจะคอยสาว สายป่าน ดึงเข้ามาแล้วผ่อนออกไป เพื่อโต้ลมที่พัดเข้ามาปะทะมิให้สายป่านขึงตึงจนเกินไป
ปัจจุบันสภาพในเมืองหลวงหรือตัวเมืองในจังหวัดต่างๆ ที่มีผู้คนหนาแน่นเต็มไปด้วยสิ่งก่อ สร้าง ตึกรามบ้านช่องและสายไฟมากมายเป็นสิ่งกีดขวางในการเล่นว่าว หรือการแข่งขันและหา สถานที่ในการเล่นยาก เด็กๆ จึงไม่ค่อยได้เล่นว่าวเหมือนคนในสมัยก่อน อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจไม่ เอื้ออำนวย ทำให้คนต้องดิ้นรนทำมาหากินไม่มีจิตใจที่จะไปพบการละเล่นได้ดังก่อน

ว่าวตัวหนึ่งที่ชักติดลมบนบินฉวัดเฉวียนตามกระแสลม ที่ผู้เล่นจะคอยสาวสายป่านดึงเข้ามา แล้วผ่อนออกไปเพื่อให้ลมบนที่พัดเข้ามาปะทะ มิให้สายป่านขึงตึงเกินไป
คนเราเปรียบไปแล้วก็คล้ายกับว่าว ขืนประพฤติตัวเหลาะแหละทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันก็ เหมือนกับสายป่าน ที่ถูกผ่อนออกไปเกินความจำเป็น ว่าวอาจจะตกลงมาได้ ชีวิตคนนั้นก็คงจะไม่ ราบรื่นเป็นแน่หากทำตัวเถรตรงก็เหมือนว่าวที่ถูกดึงจนสายป่านตึง ชีวิตก็จะไม่สนุกเช่นกันจึงควร เลือกทำเอาแต่พอดี ทั้งในเรื่องการเล่นว่าว และเรื่องการปฏิบัติตัว

การเล่นว่าวทางภาคอีสานนั้น จะเป็นช่วงฤดูสั้นๆ ประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น ในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม เพราะช่วงนี้มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า "ลมบน"”และต้องเล่นว่าวในยามค่ำคืน ช่วงเวลา ตั้งแต่ 5 โมงเย็นเรื่อยไปจนถึง สว่างประมาณ ตี 5 หรือ 6 โมงเช้า ลมว่าวก็จะหมดลง ว่าวก็ตกลงมา
การเล่นว่าวของคนอีสาน โดยมากจะมีการเล่นที่แฝงไว้กับจุดมุ่งหมาย โดยเฉพาะเรื่อง การบวงสรวงหรือการเสี่ยงทาย จะเห็นว่าการเล่นว่าวของชาวอีสานมีความเชื่อมโยงกับเรื่อง ของความเชื่อกับการพยากรณ์ การเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร 

เชื่อว่าหากปีใดว่าวขึ้นสูง ติดลมบนได้ตลอดทั้งคืน จะพยากรณ์ว่าปีหน้าฟ้าฝนจะดี ข้าวปลา อาหารจะบริบูรณ์ ส่วนชาวถิ่นไทยเขมร จ.บุรีรัมย์ เชื่อกันว่าการชักว่าวขึ้นให้ติดลมและเสียง ของแอกที่โหยหวน มีความหมายว่าเป็นการสร้างกรรม ดังนั้นเมื่อเลิกเล่นจึงนิยมตัดว่าวทิ้ง ถือว่า เป็นการตัดเวรตัดกรรมออกไป เป็นการสะเดาะเคราะห์ โดยมีการผูกข้าวปลาอาหารให้ล่องลอย ไปกับตัวว่าว 

การเล่นว่าวของชาวอีสานจะดูเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากการเล่นว่าวของที่อื่น ว่าว แอกอีสานตามแบบโบราณจะทำด้วยไม้ไผ่สีสุกที่มีเนื้อหนาและแก่ปิดด้วยกระดาษที่ทำขึ้นในท้องถิ่นทำ จากเปลือกไม้ข่อย หม่อน ต้นปอ โดยใช้ยางมะตูมเป็นตัวประสานกระดาษ สายป่าน ใช้ปอแก้วหรือ ปอกระเจาส่วนตัวหางว่าวทำด้วยใบตาล

ว่าวแอกของภาคอีสาน จะมีปีก 2 ช่วง ปีกบนยาวและใหญ่กว่า เรียกว่า "แม่"”ปีกล่างเล็ก และสั้น เรียกว่า "ลูก" ระหว่างปีกทั้งสอง เรียกว่า "เอว" ส่วนที่ต่อเชื่อมลงมาจากปีกล่าง มี ลักษณะคล้ายกับหางนก เรียกว่า "หาง"”โดยจะใช้ใบตาล ทำเป็นหางว่าว เพื่อให้ว่าวทรงตัวและ มีความสวยงามเมื่อยามเล่นลม ขนาดสัดส่วนของห้องที่เรียกว่า เอว หรือว่าตัวลูก จะเท่ากับครึ่ง หนึ่งของตัวแม่ ส่วนหางจะมีขนาดความยาวเท่ากับความยาวของห้องตัวแม่ ส่วนประกอบของธนู หรือแอก ทำจากไม้ไผ่มีความยาวเหมาะกับตัวว่าว ใบธนูหรือแอกทำด้วยหวายหรือใบตาล ใบลาน สายธนูหรือเคราที่ใช้ผูกติดปลายคันธนู ทำจากเส้นไหม หรือคนรุ่นเก่าจะใช้เอ็นนกตะกรุม หรือ นกกระเรียนมาทำก็ได้”
จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มจัดงานมหกรรมว่าวอีสานขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2529 ในช่วงเดือนธันวาคมทุกปี ช่วงที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ข้าวในนากำลังออกรวงชาวนาจะออกจากบ้าน ไปทำลานนวดข้าว ซึ่งบรรยากาศในยามค่ำคืนที่เงียบสงบและห่างไกลจากหมู่บ้านดูจะเงียบเหงา และหวาดกลัวจึงคิดประดิษฐ์ทำว่าว สองห้องปล่อยติดลมบนไว้ตลอดคืนให้เสียงของแอกเป็นเพื่อน ไล่ความเหงา หรือตามความเชื่อของคนอีสาน ในเรื่องการเสี่ยงทายหรือการบวงสรวง โดยพยากรณ์การเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เชื่อกันว่าถ้าปีใดว่าวขึ้นสูง ติดลมอยู่ได้ตลอดคืนก็ทายว่า ปีหน้าฝนจะดีข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ไม่แห้งแล้ง

นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่าเป็นการสืบสานประ เพณีการละเล่นของพื้นบ้าน โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี งามของคนในท้องถิ่นอีสาน ให้คงอยู่สืบไป และยังเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การท่องเที่ยวของจังหวัด
สำหรับการจัดงานประเพณีมหกรรมว่าวอีสาน ปีนี้ได้กำหนดจัดงาน ณ สนามกีฬากลางอำเภอห้วยราช ด้านข้างมหาวิทยาลัยรามคำแหงวิทยบริการ เฉลิมพระเกียรติ อ.ห้วยราช ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ เพียง 10 กิโลเมตรเศษเท่านั้น และ เป็นลานกว้างสามารถวิ่งเล่นว่าวและแข่งขันว่าวแอกโดยไม่มีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางใด

"การเล่นว่าวของภูมิปัญญาพื้นบ้านชาวบุรีรัมย์มีความพิเศษจริงๆ เช่น การปล่อยให้ว่าว เล่นลมตลอดทั้งคืนได้ไม่ตก เรียกได้ว่าเล่นว่าวกันโต้รุ่ง ซึ่งเรื่องนี้จังหวัดบุรีรัมย์ได้ร่วมสืบสานและ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการเล่นว่าวแอกอีสานเอาไว้
ดังนั้นในปีต่อๆ ไปกัน จะประชาสัมพันธ์ให้คนในบุรีรัมย์รวมทั้งพี่น้องประชาชนในภาคอีสาน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ได้จัดขึ้นให้เพิ่มมากขึ้น โดยจะให้มีว่าวจากทุกอำเภอมาร่วมแข่งขัน รวมทั้งอาจพิจารณาเพิ่มเงินรางวัลว่าวแอกประเภทต่างๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ที่นิยมเล่นว่าวได้จัด ส่งว่าวมาเข้าร่วมประกวดและแข่งขันในงานมหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์" ผวจ.บุรีรัมย์ กล่าว

มหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์  มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันว่าวแอก โบราณ ซึ่งเป็นว่าวที่ใช้วัสดุทำตัวโครงว่าวจากไม้ไผ่ ใช้กระดาษปิดเป็นตัวว่าว หางว่าวทำจากใบ ตาล หรือใบลาน เท่านั้น มีขนาดของตัวปีก ตั้งแต่ 2.50-3 เมตร ส่วนว่าวแอกพัฒนา มีขนาด เช่นเดียวกันว่าวแอกโบราณ เพียงแต่วัสดุที่นำมาใช้ทำตัวว่าวจะทำจากวัสดุใดก็ได้และการแข่งขัน ว่าวแอกยักษ์จะมีความยาวของส่วนปีกไม่น้อยกว่า 5 เมตร จะใช้วัสดุอะไรในการสร้างว่าวก็ได้ แต่ต้องติดแอกในขณะแข่งขัน โดยว่าวที่แข่งขัน จะต้องปล่อยในช่วงเย็นและจะต้องลมติดลมตลอดทั้ง คืน จึงจะผ่านเกณฑ์การแข่งขัน
เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์การเล่นว่าวในหมู่เยาวชนคนรุ่นหลังได้จัดให้มีการแข่งขันว่าวประดิษฐ์เยาวชน ที่มีขนาดว่าวแอกไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร และให้เวลาประดิษฐ์และจัดทำว่าวไม่เกิน 2 ชั่วโมง นอกจากนั้นมีการแข่งขันแกว่งแอก ซึ่งมีลีลาและเป็นความสามารถเฉพาะตัวในการ แกว่งแอกให้มีเสียงไพเราะ นอกจากนั้น มีการจัดขบวนแห่และมีธิดาว่าวสาวงามจากทุกอำเภอทั้ง 21 อำเภอกับ 2 กิ่งอำเภอ ที่ได้จัดขบวนอย่างยิ่งใหญ่ ที่ส่วนในภาคกลางคืนชมมหรสพสมโภชน์ รวมทั้งชมการแสดงดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน พร้อมกับฟังเสียงแอกเมื่อต้องลมยามค่ำคืน ที่มี การปล่อยว่าวให้ติดลมบนตลอดคืน

ท้ายปีนี้  ไปสัมผัสลมหนาวกับลมบนกับการละเล่นพื้นบ้าน ของชาวอีสาน ในงานมหกรรมว่าวอีสาน ที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พาเด็กคนรุ่นหลังไปซึม ซับกลิ่นไอและร่วมดำรงวิถีชีวิตของชาวอีสาน ที่ยังคงดำรงอยู่ ชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านอีสาน และธรรมชาติท้องทุ่งที่ราบสูง
วัถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีสาน ฟังเสียงอันไพเราะของแอกยามต้องลม ชมความพลิ้ว ไหวของว่าวบนเวหาบุรีรัมย์ เราพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนด้วยมิตรไมตรีอันดียิ่ง
ขวัญชัย หาญประโคน

คำสำคัญ (Tags): #ว่าวอีสาน
หมายเลขบันทึก: 302691เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นี่น้องชาย ของเก่า หรือ ของใหม่ เอื้อย..งงจัง??

สวัสดีครับ พี่ครู ป1.

  • ประเพณีเก่าพี่ แต่คนรุ่นใหม่ นำมาทำขึ้นใหม่
  • จึงเป็นของใหม่ จากประเพณีเก่าๆ (หายงงหรือยังพี่)
  • มีความสุขนะพี่

ภาพไม่ชัดเลยครับท่านนักกลอน

  • ขอบคุณครับคุณPremium
  • ที่เข้ามาเยี่ยม มาทักทาย

ว่าว และสนูอีสานนี้ข้าพเจ้าเคยเฮ็ดมาแต่น้อยลองผิดลองถืกมาหลายเทือเดียวนี้อายุ๒๕มีสูตรหลายแนวอยู่ไผอยากฮู้โทรถามเอาเด้อ

085-644-1718

ปี 2552 แข่งเดือน ธันวาคม วันไหน ครับ

บอก ด้วย ครับ จาก ชาวว่าว

ขอคุณครับ..........

  • 16-18   พ.ย   52 นี้ครับ
  • ณ ที่ว่าการอำเภอห้วยราช
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท