เราเชื่อในมนุษย์แค่ไหน “ในการทำงานสร้างความรู้” ?


เราศรัทธาต่อธรรมชาติแค่ไหน เมื่อเราขับเคลื่อนเรื่องการสร้างความรู้ ?

แล้วเรารู้จัก “มนุษย์” มากน้อยแค่ไหน?

 

หรือเป็นเพียงแค่รู้ว่ามนุษย์เป็นผู้ต้องกิน – ขี้ – ปี้ – นอน ดำรงตำแหน่งทางครอบครัวและการงานเท่านั้น

มีอะไรที่มากไปกว่านั้น ลึกซึ้งมากกว่านี้ไหม ? ต่อความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เราสามารถมองเห็น “มนุษย์” ด้วยตาใน?

เรามองเห็นความดีงามที่มีอยู่ไหม 

ก่อนจะนำพาผู้คนอันได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์นี้ไปสู่การสร้างความรู้

เราต้องรู้และเข้าใจก่อนว่า “มนุษย์” นั้นเป็นผู้ไม่รู้ --> เป็นผู้โง่ไม่รู้และโง่เรื่องอะไรล่ะ ? ไม่รู้และโง่ในเรื่องที่เราปรารถนาอยากไปกระตุ้นให้เขาเกิดการสร้างความรู้ในเรื่องนั้นๆ น่ะสิ 

อย่าอายเลย ! หรืออย่ารังเกียจต่อคำว่า “โง่” เลย...

คำว่า “โง่” นั้นไม่ได้ เป็นดั่งความชั่วร้ายหรือน่ารังเกียจอะไรเลย

คำว่า “โง่” นี้ต่างหากที่เป็นดั่งประตูนำพาให้มนุษย์ได้รู้ตามและเคลื่อนไปสู่สภาวะโง่น้อยลงรู้แจ้งมากขึ้น ในเรื่องนั้นๆ ประเด็นนั้นๆ ...

ก็เพราะธรรมชาติมนุษย์นั้นเป็นผู้โง่อยู่ จึงต้องมีผู้นำพาเขาเหล่านั้น เคลื่อนไปสู่ความสว่างทางปัญญาอันเป็นสภาวะ “โง่” น้อยลงหากเปรียบแล้ว “ผู้นำพา” นั้นก็เป็นดั่ง Facilitator ที่บางครั้งอาจจะเป็นผู้นำพา นำก้าวเดินไป

 

แล้วเราจะเข้าใจในความเป็นมนุษย์ได้อย่างไรเล่า?

การที่เราไม่เข้าใจในความเป็นมนุษย์อันลึกซึ้งนั่นน่ะเป็นเพราะว่าเรานั้น คือ ผู้ที่ยังโง่อยู่ ดังนั้นเมื่อใครรู้ตัวว่าเป็นผู้โง่ ผู้นั้นน่ะมีโอกาสนำพาเคลื่อนตัวเองออกจาก “ความโง่” ได้

แต่...ถ้าหากว่าใครยังไม่ตื่น ยังไม่รู้ว่าตนเองนั้นโง่...หรืออาจยอมรับต่อตนเองไม่ได้ว่า “โง่” ก็อาจยากที่จะเคลื่อนไปสู่กระบวนการพัฒนาต่อตนเองอันเป็นหนทางนำพาตนออกมาจากความโง่ทั้งหลายได้

เมื่อย้อนกลับมาทำความรู้ความเข้าใจ ในความเป็นมนุษย์นั้นก็ให้น้อมกลับมาที่ตัวเราเอง อาศัยตัวเรานี่แหละเป็นเครื่องมือ (tools) ในการศึกษาค้นคว้าความโง่ของตัวเอง หาให้ได้หาให้เจอหาให้พบ พิจารณาเข้าไปทุกซอกทุกมุมอย่างถี่ถ้วน เราถึงจะเริ่มรู้ได้ว่าเรานั้นโง่ตรงไหน ... โง่อย่างไร ทำไมถึงยังโง่อยู่ และเราจะก้าวออกจากความโง่นั้นอย่างไรดี

 

รู้ในตัว...

หากใครยังไม่รู้ในตัวเอง...ก็ยากที่จะนำพาผู้คนเคลื่อนไปสู่จากอาการหายโง่ เพราะแม้แต่ความโง่ของตัวเองก็ยังไม่อาจรู้ได้ แล้วจะไปมี “ปัญญารู้แจ้ง” อันใดเล่า ที่จะนำผู้คนออกมาจากความโง่

 

เมื่อก้าวออกมาจากความโง่ได้แล้วนั้น...จะเกิดอะไรขึ้น?

ก็จะเกิด “ความแจ้ง – ความสว่าง” ในตนเอง ในปัญญา ในห้วงแห่งอันล้ำลึกลึกซึ้ง

 

เริ่มเขียนตอนตีห้า

๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 302203เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ครับ...คุณกะปุ๋ม

นำพาตัวเราเองออกมาจาก "ความโง่" ให้ได้ก่อนนะครับ...

แล้วจึงจะสามารถนำพาคนอื่น ๆ ออกจากความโง่นั้นได้นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

เราเองเชื่อมั่นในมนุษย์ทุกผู้ ทุกคนในการสร้าง "ความรู้..."

แต่เราเองไม่เชื่อมั่นใน "มนุษย์ปุถุชน" ในการสร้าง "ปัญญา..."

ปุถุชนที่ยังไม่มีความมั่นคงใน "ศีล" ศีลซึ่งเป็นฐานแห่ง "สมาธิ" ซึ่งทั้งสองเป็นสิ่งลิขิตซึ่ง "ปัญญา"

มนุษย์ทุกผู้ ทุกคนมีความรู้และสร้างความรู้ได้

แต่ไม่ใช่มนุย์ทุกผู้ ทุกคนจะมี "ปัญญา" ได้

ยุคสมัยนี้คนเรามีความรู้เยอะแต่มี "ปัญญา" น้อย

ปัญญานั้นวัดได้ "ปัญหาสังคม" ที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิด เกิดขึ้นจากการ "ทุศีล" การไม่ซื่อตรง ซื่อสัตย์ในศีลอันพึงมีของความเป็น "มนุษย์"

มนุษย์จึงรู้แต่ที่จะ "ขี้โกง" เอารัด เอาเปรียบ ฉ้อฉลของผู้อื่นและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ตนเอง"

คนเรายิ่งรู้มากยิ่ง "ฉลาด" ในการหลบเลี่ยงมาก

แต่นั่นก็เถอะ วันใดที่เขาต้องทิ้งร่างกายจากโลกนี้ไป เมื่อนั้นเขาจะไปพบกับ "ยมภบาล" ที่ "ตรง" อย่างแท้จริง

ความรู้ ความฉลาดที่สะสมไว้บนโลกนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในโลกหน้าได้เลย

บุญ และอกุศลกรรมอันใดที่เคยทำไว้จะปรากฎอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศาลในโลกนี้ มิใช่ตัดสินความตาม "ใบเสร็จ" เหมือนกับศาลใน "ยมโลก"

"กรรม" คือความจริงนั้นเองจะปรากฏ

บุคคลใดทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ ไม่เหลียวหลังดูแล กรรมที่แท้จะตามทัน

ใครคดโกง คอรัปชั่น ความโศรกสันต์ย่อมถามหา

ความรู้แบบโลก ๆ มากเพียงใด ไร้คุณค่า

บุญและกรรมเท่านั้นหนา เป็นที่พึ่ง นำพาของ "จิตใจ..."

  • ได้ไปเต็มๆ ทั้งบันทึกตอนตีห้า กับเม้นของสุญญตา
  • ขอบพระคุณจริงๆ

สนทนาธรรมตอนตี 5 ..ดีค่ะ เงียบสงบ

สวัสดีค่ะ

        ปุถุชน ที่ยังโง่และขลาดเขลา แม้ไม่ลุ่มหลงในดำรงตำแหน่งทางครอบครัวและการงาน ก็ยังยากในการหลุดจากวงจร เพราะพี่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ขลาดเขลานี้ สภาวะที่ต้องดำรงอยู่เพื่อการส่งทางให้ ลูกๆ ต้องยืนให้ได้ด้วยตัวเขาเอง สภาวะที่ต้องดำรงความเป็นปกติ สถานภาพในครอบครัว แม้หน่ายนัก ก็มิอาจพักวางภาระ และสถานะตรงนี้ได้ นี่แหละตัวอย่างหนึ่งชีวิตทีรู้ตนว่าโง่แต่ยังขาดความกล้าหาญ ต้นทุนบุญของทุกคนไม่เท่ากันจริงๆ ทำให้กำลังในการออกเดินของคนเรามีความเร็วและความเร่งต่างกัน ตามต้นทุนปัญญาของแต่ละบุคคล เชื่อโดยสนิทใจค่ะว่า บุญและกรรมเท่านั้นหนา เป็นที่พึ่ง นำพาของ "จิตใจ..."

กิเลส โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายแหล่

เหล่านี้ เป็นตัวบดบังจิตใจ ไม่ให้เห็นความจริง

ไม่ยอมรับว่า ตนเองเป็น ผู้โง่

จึงไม่อาจจลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ตนเองในด้านดีได้

 

แต่เมื่อใด มีสติ รู้ตัว ก็จะยอมรับความโง่และสามารถ

พัฒนาใจ ให้พาร่างกายไปทำกรรมดี เสียสละภายนอก

เพื่อสั่งสอนภายใน เพื่อให้พ้อนทุกข์ไป จากกิเลสทั้งมวล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท