บทความ Bus Way : รถเมล์อารยะที่อยากได้ ของคุณดนัย เทียนพุฒ


ผมสนใจเรื่อง รถเมล์ กาซ บริหาร โดยองค์กรปกครองท้องถิ่น  พบใครก็พยายามเสนอแนวคิด พบบทความของคุณดนัย เทียนพุฒ ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ จึงขอคัดลอกมาเผยแพร่ต่อ

ทำไมจึงควรเป็นท้องถิ่น เหตุผลคือ ส่วนหนึ่งของภาษีล้อเลื่อน กรมขนส่งทางบก จัดเก็บ แล้วจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ  ผมไม่ทราบตัวเลขประมาณแต่ละปี  แต่คิดว่า เงินภาษีจากการขนส่งส่วนบุคคลนี้ น่าจะนำไปจุดชะนวน สร้างระบบขนส่งมวลชน แล้ว ค่อยเก็บค่าโดยสาร  เลี้ยงตนเอง จัดการ ให้ระบบคงอยู่ต่อไป โดยไม่ต้องอุดหนุนมากนักจากภาษีล้อเลื่อนแล้วก็ได้(เพราะรายได้จากภาษีล้อเลื่อนอาจจะลดลงในระยะต่อไป  เมื่อคนลดการซื้อรถยนต์ หันมานั่งรถเมล์   จึงไม่ควรหวังการดำเนินการระยะยาว จากเงินส่วนใหญ่ของภาษีล้อเลื่อน มาอุดหนุน รถเมล์ )

ในระยะแรก ควรเริ่มจาก รถเมล์กาซ และ เน้นบริการ นร.  อย่าพลีพลามเริ่มทั้งระบบ ผู้มีรายได้จากรถรับจ้าง จะปรับตัวไม่ทัน    ควรเริ่มในระยะที่น้ำมันแพง  คนคัดค้านจะน้อย

สงขลา หาดใหญ่มีศักยภาพสูง เพราะประชากร และรถยนต์ การเดินทางมากพอ ที่สำคัญ ต่อไป จะมีปั๊มกาซ NGV หลายปั๊ม    มีแนวท่อกาซ ผ่านอำเภอหาดใหญ่  การขนส่งกาซNGV ต้นทุนต่ำ

มีวิทยาลัยเทคนิค หลายแห่งที่ผลิต นศ.ในการออกมาผลิตซ่อม เครื่องจักรกล

เมืองไทย มีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน การผลิตรถยนต์  สามารถประกอบรถยนต์ส่งออก หลายแสนคันต่อไป   ผมเชื่อว่าในระยะ 10 ปี ต่อไป เราก็สามารถประกอบ รถยนต์กาซ ใช้เอง และส่งออก 

ระยะต่อไป สงขลา หาดใหญ่ จัดการรถราง รถไฟฟ้า โดยไม่ต้องลอยฟ้า  คู่ไปกับระบบรถเมล์ได้

เรื่องอย่างนี้ อาจจะต้องผสมโรงกัน ระหว่างนโยบายชาติ ท้องถิ่น นักวิชาการ อุตสาหกรรมยานยนต์ นับว่าท้าทายสังคมไทยทีเดียวครับ

เชิญพบกับบทความ Bus Way : รถเมล์อารยะที่อยากได้ โดย ดนัย เทียนพุฒ กรรมการผู้จัดการ บ.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จก.

การเดินทางในแต่ละวันของผู้คนเพื่อไปประกอบอาชีพหรือกิจธุระคือ ระบบขนส่งมวลชนหรือที่เรียกกันว่า “Mass Transportation”  ซึ่งเรามักจะถูกทำให้เข้าใจผิดอยู่เสมอว่าสิ่งนี้คือ “รถไฟฟ้า”  ทั้งบนฟ้าและใต้ดิน เช่น “Sky Train” หรือ “Subway” โดยที่แต่ละประเทศอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน

ประการแรก  จะไปเมืองไหนก็สนใจเรื่องขนส่งมวลชน
 สมมติตัวอย่างง่ายๆ ถ้าท่านเป็นคนต่างชาติเดินทางจากต่างประเทศมาเมืองไทย  ท่านจะถามอะไรบ้าง  ผู้เขียนก็คงเดาได้ว่า สถานการณ์บ้านเมืองเราเป็นอย่างไร  การเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งจะเป็นอย่างไร เช่น จากสนามบินไปโรงแรมหรือจากโรงแรมไปยังจุดนัดหมาย  ค่าใช้จ่ายถูกแพงกว่าบ้านเขาหรือไม่

ช่วงที่ผู้เขียนอยู่ที่เมืองบริสเบน(Brisbane) รัฐควีนส์แลนด์ฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย  นายแพทย์ท่านหนึ่งจะเดินทางมาประชุมการแพทย์ที่พัทยา ครอบครัวโฮมสเตย์ที่นั่นได้จัดเลี้ยงอาหารกลางวันและเชิญนายแพทย์และผู้เขียนกับเพื่อนมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยและเมืองพัทยา

คำถามแรกที่เจอเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้นำของประเทศเราว่ามีปัญหาอะไร  คำตอบที่ง่ายตามที่รับทราบกันอยู่ “ถูกกฎหมายแต่ขาดจริยธรรม”

คำถามต่อมาคือ สถานการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้เป็นอย่างไร รุนแรงน่ากลัวหรือไม่  ผู้เขียนจึงบอกไปอย่างเห็นใจว่า ข่าวที่ออกมานั้นทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน  “3 จังหวัดภาคใต้” นี้ต้องเดินทางถึง 1 วันจากกรุงเทพฯ  ขณะที่ภูเก็ต (ซึ่งต่างชาติรู้จักดี) อยู่ไม่ห่างเท่าไรนักจาก 3 จังหวัดภาคใต้  ยังมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปกติแม้จะไม่มากเท่าก่อนมีคลื่นยักษ์ถล่ม

เมืองพัทยาเดินทางยากไหม  รถติดไหม  แสดงว่าบ้านเราขึ้นชื่อเรื่องนี้  ผู้เขียนบอกไปว่า ถ้าเข้ามอเตอร์เวย์ ประมาณ 2 ชั่วโมงหรือชั่วโมงกว่าก็ถึงพัทยาแล้วจากกรุงเทพฯ

สุดท้ายแหล่งชอปปิงราคาถูก เราคงรู้ๆ กันว่ามีที่ไหนบ้าง

ประการต่อมา  ระบบขนส่งมวลชนคือ หัวใจของการพัฒนาประเทศ

ผู้เขียนนิยามเอาเองว่า  ระบบขนส่งมวลชนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ  เพราะเมื่อผู้เขียนเดินทางไปต่างประเทศ  จะพบว่า  การเดินทางที่ประหยัดและสะดวก รวดเร็วของแต่ละประเทศคือ ระบบขนส่งมวลชน
 ตัวอย่างเช่น เมืองระดับโลกทั้งหลาย  ฮ่องกงจะมีรถไฟด่วนจากสนามบินถึงตัวเมือง  สิงคโปร์จากสนามบินถึงถนนออร์ชาด  ซิดนีย์ก็มีจากสนามบินถึงใจกลางเมืองซิดนีย์ ฯลฯ

ถามว่าบ้านเรามีไหมที่เดินทางมาถึงดอนเมืองแล้วมีรถไฟด่วนติดแอร์ถึงกลางเมือง (Downtown) ราคาถูกไม่มีครับ!!!  แล้วทำไมในต่างประเทศจึงมีบริการสาธารณะเหล่านี้

สิ่งแรก  ผู้บริหารประเทศของเขามีความเข้าใจถึงสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน
  -  ถ้าการเดินทางมีราคาถูก  ต้นทุนต่ำ จะเกิดผลตามมาอย่างมหาศาล เช่น  ครอบครัวจะมีเงินเหลือใช้มากขึ้น ชาติก็ประหยัดพลังงาน  สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชาติจะดีขึ้น
  -  การประหยัดงบประมาณในการลงทุนสร้าง-ซ่อมถนนที่นำไปสู่ความร่ำรวยของกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม  อากาศไม่เป็นพิษจากควันเสียของรถยนต์  เพราะคนจะไม่ใช้รถยนต์ในการเดินทางไปทำงานหรือกิจธุระส่วนตัว 

ดังนั้นผู้นำประเทศที่มีความคิดเพื่อคนในชาตินั้น  จริงๆ จะต้องทำสิ่งที่เป็นปัจจัย  พื้นฐานของชีวิตคนให้ดีขึ้น  สิ่งแรกสุดคือเรื่องการเดินทาง หรือระบบขนส่งมวลชน (แม้ว่าจริง ๆ จะเป็นการศึกษาก็ตาม)

สิ่งที่สอง  ทำไมต่างประเทศเขาถึงเน้นระบบขนส่งมวลชน

ระบบขนส่งมวลชนนี้ หมายถึง ทั้งรถเมล์ รถไฟ เรือโดยสาร ต้องเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สมบูรณ์แบบ
 ผู้เขียนเดินทางจากสนามบินชางฮี สิงคโปร์เข้าไปที่ถนนออร์ชาด เสียค่าโดยสารเพียง 1 เหรียญ 70 เซนต์ คิดง่ายๆ ไม่ถึง 50 บาท (1 เหรียญสิงคโปร์ประมาณ 24 บาท) ในการเดินทางกว่า 30 นาที  ถ้ารถแท็กซี่ประมาณ 15 เหรียญซึ่งต่างกันนับ 10 เท่า

หรืออย่างกรณีเดินทางจากสนามบินซิดนีย์ ไปเซ็นทรัลสเตชั่น (Central Station) กลางกรุงซิดนีย์ ประมาณ 50 เหรียญออสเตรเลีย (1 เหรียญออสเตรเลียประมาณ 28 บาท)  แต่ราคานี้จะเป็นตั๋วไป-กลับมายังสนามบินและขึ้นรถโดยสารปรับอากาศ รถไฟใต้ดินและเรือเฟอร์รี่ไปได้ฟรีตลอด 1 สัปดาห์โดยไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดเที่ยวในเมืองซิดนีย์

ดังนั้นช่วงที่ผู้เขียนอยู่ที่ซิดนีย์จึงสามารถไปชม “Darling Habor”  ซึ่งเป็นอ่าวซิดนีย์และล่องเรือดู “Sydney Opera House” “Sydney Bridge” โดยเรือเฟอร์รี่ฟรี (เพราะจ่ายไปแล้วตั้งแต่ซื้อตั๋ว 50 เหรียญครั้งแรก)

ประการสุดท้าย  Bus Way : รถเมล์อารยะ
 การเดินทางในแต่ละวันของผู้เขียนจากที่พักไปยังมหา’ลัยในเมืองบริสเบนจำเป็นต้องเตรียมการ เช่น
  -  จะต้องวางแผนตลอดเส้นทางเพราะผู้เขียนต้องเดินทาง ทั้งเดิน ขึ้นรถเมล์ (Bus Way) และเรือเฟอร์รี่ (City Cat) เพราะถ้าหากพลาดเพียง 1-2 นาทีจะพลาดรถเมล์แล้วก็จะพลาดเรือเฟอร์รี่
  -  การเดินทาง  ควรจะซื้อตั๋วไปเที่ยวเดียว(Single) วันเดียว (Daily) รายสัปดาห์ (Weekly) รายเดือน (Monthly) ฯลฯ  อีกทั้งยังมีราคาสำหรับนักเรียน คนพิการ คนทั่วไป คนสูงอายุ  เพราะราคาตั๋วจะแตกต่างกันอยู่ที่การวางแผนและรายได้ของแต่ละคน  แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ  ระบบส่วนใหญ่ตั๋วของเขาทำด้วยต้นทุนที่ต่ำ  เป็นกระดาษพริ้นต์จากเครื่อง  และเป็นการ์ดกระดาษผิวมัน มีแถบแม่เหล็ก โดยไม่มีการมัดจำค่าตั๋วแบบบ้านเรา

ที่เรียกว่า Bus Way ในเมืองบริสเบน จะหมายถึง การจัดทำช่องทางซูเปอร์ไฮเวย์ เพื่อให้รถเมล์วิ่งโดยเฉพาะ  รถอื่นเข้ามาวิ่งไม่ได้  มีระบบบริหารจัดการชั้นเยี่ยม
 รถเมล์จะเป็นรถโดยสารปรับอากาศและใหม่เสียส่วนใหญ่  บริหารโดยสภาเมืองบริสเบน  ซึ่งมีอู่รถของตนเองที่สร้างรถเมล์ใหม่ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คัน  โดยมีพนักงาน 44 คน ทำงาน 7 วันทำการเพื่อสร้างรถเมล์ที่ดีที่สุดและที่น่าสนใจคือ ใช้ก๊าซธรรมชาติทุกคัน

การเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดด้วยความสะดวก คนออสซี่สามารถเดินทางโดยรถเมล์ทาง Bus Way ซึ่งจะเร็วกว่าขับรถยนต์ ถูกกว่า หรือรถไฟก็ใช้ตั๋วใบเดียวกันนี้ได้เช่นกัน  ขณะเดียวกันจะไปต่อเรือโดยสารที่เรียกว่า City Cat เป็นเรือเฟอร์รี่  ล่องแม่น้ำบริสเบน  ซึ่งได้อีกบรรยากาศเพราะแม่น้ำเขาสะอาดมาก  2 ฝั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย ได้ความสดชื่นของสายน้ำและอากาศไปพร้อมๆ กัน  เรือ City Cat บางครั้งอาจจะเรียกว่า City Kitty เป็นที่นิยมกันมากของชาวออสซี่ในบริสเบน (เรือนี้ปลอดภัยและใหญ่กว่าเรือด่วนเจ้าพระยา 2-3 เท่าตัว)

ที่น่าสนใจมากๆ คือ แท็กซี่มีน้อยมากในบริสเบน  เพราะคนออสซี่นิยมระบบขนส่งมวลชนมากกว่าครับ!

สำหรับประเทศไทย  อย่ามัวแต่คิดจะสร้างรถไฟฟ้า-รถใต้ดินแค่นี้เลยครับ  ระบบขนส่งทางน้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา และรถเมล์  ถ้าปรับปรุงให้เป็น Bus Way ได้จะวิเศษสุดๆ ดีกว่า Bus Lane  ซึ่งไม่ได้มีอะไรมากนักและก็วิ่งไม่เป็นระบบถ้าสังคายนาได้  จัดระบบใหม่ทั้งหมดในเมืองหลักและบริหารโดยมืออาชีพที่เป็นระบบเดียวทั้งระบบบ้านเมืองคงพัฒนามากกว่านี้ 

และที่อยากเป็นเมืองหลวงของการท่องเที่ยวตามที่บอกว่า คิดมา 30 ปีแล้วก็ยังไม่เห็นเกิดสักที เพราะใครมากรุงเทพฯก็ด่าว่าจอร์จทั้งนั้นแล้วจะไม่มาอีก!!!

 

หมายเลขบันทึก: 29630เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณครับ
  • ผมสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยครับ
  • ดังนั้นรถที่นำมาใช้ควรจะเป็นรถไฟฟ้า
  • เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่รถต้อง charge batterry บ่อยๆ หรือต้องบรรทุก Batterry หนักๆ รถที่ชัจึงควรเป็น Tram Bus ครับ ครื่อมีสายไฟฟ้าอยู่เหนือหลังคารถ แล้วมี Pantograph ไปต่อเอาไฟฟ้านี้ลงมาที่รถ
  • สำหรับเมืองสาระขันที่คุณหมออยู่ ผมคิดว่าเส้นทาง Tram Bus นี่ควรเป็นช่องทางจราจรขวาสุดที่ชิดกับเกาะกลางครับ
  • เพื่อลดความวุ่นวายในการเดินสายไฟฟ้า ก็ปักเสาบนเกาะกลาง แล้วจ่ายไฟไปยัง ทิศทางขาเข้าและขาออกเมืองได้เลย ไม่เช่นนั้น ถ้าช่อง Tram Bus อยู่ช่องซ้ายสุด ก็ต้องปักเสาจายไฟฟ้าเพิ่มเป็น 2 เท่า
  • หรือถ้าเป็นรถที่ใช้ Battery จะอยุ่ช่องซ้ายสุดก็ได้ครับ โดยห้ามจอดรถริมถนนโดยเด็ดขาด
  • ทางขาวแดงตลอดถนนทุกสาย ส่วนตรงป้ายรถ Bus ทา ขาวเหลือง
  • ขอบคุณครับที่เอามาฝาก
  • ผมก็อยากได้ครับ

Trans Adelaide Busway (O' Bahn)

Adelaide has the longest guided busway in the world. Experience a ride on the world's fastest suburban bus, travelling at speeds of up to 100 kilometres per hour on a unique guided busway track. View the beauty of the River Torrens Linear Park as you are whisked along the 12 kilometre track that takes you to Modbury Interchange adjacent to Tea Tree Plaza, one of Adelaide's largest undercover shopping malls.

http://www.atn.com.au/sa/south/trans-g.htm

รถบัสที่ไม่ต้องใช้คนขับ (ก็ได้)

It's been billed as Brisbane's biggest transport project of a generation, a multi-billion dollar busway and road tunnel across Brisbane's north.

And, the State Government has moved it a step closer by releasing the plans.

But they show the massive project to link the airport to the
north-south bypass tunnel comes at a heavy cost for residents, with more than two hundred homes and businesses likely to be resumed.

http://www.abc.net.au/tv/australiawide/stories/s1591021.htm

Video : http://www.abc.net.au/tv/australiawide/video/default.htm?program=austwide&pres=20060314_1729&story=1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท