ความรู้เบื้องต้น : สัญญาฟาร์มประกัน : CONTRACT FARMING


ความรู้เบื้องต้น : สัญญาฟาร์มประกัน : CONTRACT FARMING[1]

 

สัญญาฟาร์มประกัน : CONTRACT FARMING: คืออะไร

Contract farming  แปลตรงตัวว่า การทำฟาร์มสัญญา ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงปศุสัตว์หรือเพาะปลูกพืชที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันโดยส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาผลผลิตไว้ตายตัว ซึ่งเรียกว่า ฟาร์มประกันราคา หรือ ฟาร์มประกันในการทำสัญญาฟาร์มประกันมีคู่สัญญา  2 ฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายฟาร์มเรียกว่า ฟาร์มประกันซึ่งก็คือฝ่ายเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม ส่วนฝ่ายที่สองเป็นคู่สัญญาที่สัญญาจะซื้อผลผลิตกลับคืนในราคาประกันเรียกว่า ผู้รับประกันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปบริษัท เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเบทาโกร บริษัทแหลมทองสหการ เป็นต้น[2]

ในการจัดทำ Contract farming ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการไม่น้อยกว่า 30 ปีเป็นการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่

ผลดี : มีปริมาณผลผลิตที่ป้อนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ผู้ส่งออกสามารถวางแผนการตลาด ล่วงหน้าได้                             

ผลเสีย : จะต้องมีวิธีการวางแผน การดำเนินการที่ดีและมีคู่สัญญาฟาร์มประกันราคาจำนวนมาก เพียงพอ จึงจะได้กำไรและประสบความสำเร็จ

 

สัญญาฟาร์มประกัน(CONTRACT FARMING)กับประเทศเพื่อนบ้าน

CONTRACT FARMING เป็นนโยบายร่วมในการส่งเสริม  การผลิต  การค้า  และการลงทุนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ( Ayeyawady –Chao Phraya –Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS ) ที่มุ่งเน้นการช่วยตัวเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา  เพื่อเพิ่มขีด  ความสามารถทางการแข่งขัน สร้างฐานการผลิตชายแดนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ด้านการเกษตร/ อุตสาหกรรม และการบริการ  สร้างงานและลดช่องว่างรายได้ของชาวไทยและประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานผิดกฎหมาย ลดปัญหายาเสพติด สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ  4  ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนของไทย มีส่วนร่วมเข้าไปส่งเสริมการผลิตและรับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านในระบบ Contract Farming  และส่งออกมายังไทยภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร AISP สำหรับสินค้าเกษตร 8 รายการ  ประกอบด้วย  ถั่วเหลือง  ข้าว  มันฝรั่ง  โพดเลี้ยงสัตว์  ข้าวโพดหวาน  ละหุ่ง  เมล็ดมะม่วงหิมพานต์  ถั่วลิสง  ยูคาลิปตัส  สำหรับลาวได้สิทธิพิเศษ เพิ่มในการส่งออกสินค้าเกษตรอีก  1  รายการคือ  ลูกเดือย[3]

 

แนวทางการลงทุน Contract Farming ในพื้นที่เป้าหมาย ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

องค์ประกอบการลงทุน Contract Farming

- พื้นที่ พื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ ตลอดจนพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความพร้อม                  

- พืชเป้าหมาย สนับสนุนการลงทุนในพืชเป้าหมาย 8 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่งลิสง ละหุ่ง ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง มะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยูคาลิปตั ส เนื่องจากมีความเหมาะสมในการย้ายฐานการลงทุน ต้องใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวจํานวนมากและ เป็นพืชที่ต้องนําเข้าจากประเทศที่ 3 โดยรัฐบาลจะยกเว้นภาษีนําเข้า (ภาษี0 %) ภายใต้กรอบ AISP ตลอดจนอํานวยความสะดวกการนําเข้า ให้เกิดผลทางปฏิบัติ                  

- นักลงทุน ทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ชายแดนเป้าหมาย

รูปแบบ/แผนการลงทุน

นักลงทุนเป็นผู้กําหนดแผนการลงทุน โดยจะต้องระบุพื้นที่พืช และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย กระบวนการตั้งแต่การผลิตจนถึงการนําผลผลิต เข้าสู่ตลาด ตลอดจนความพร้อมในการสนับสนุนแบบครบวงจรทั้งเมล็ดพันธุ์ เงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต โดยการกําหนดรูปแบบการทํา Contract Farming ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องสอดคล้องกับความพร้อมของนักลงทุนไทยตลอดจนศักยภาพการรองรับใน ประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้

รูปแบบ 1 Contract Farming ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยบริเวณชายแดนกับเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้าน สามารถดําเนินการได้ทันที โดยขยายผลจากการดําเนินการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้สามารถพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ พื้นที่ที่พร้อมจะพัฒนานําร่อง เช่น จ.ตาก-เมียวดี (ไทย-พม่า) จ.จันทบุรี-พระตะบอง (ไทย-กัมพูชา) จ.เลย-แขวงไชยบุรี (ไทย-สปป.ลาว)

รูปแบบ 2 Contract Farming ระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่กับเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้าน การลงทุนรูปแบบนี้มีมูลค่าการลงทุนสูง เน้นการนําเข้าผลผลิตที่ได้มาตรฐานจํานวนมากซึ่งการสนับสนุนให้มีการเข้าลงทุนเพิ่มเติม ของเอกชนรายใหม่นอกเหนือจากเอกชนรายใหญ่ที่เข้าลงทุนอยู่แล้วในปัจจุบัน ภาครัฐจะต้องให้มีความชัดเจนทั้งด้านศักยภาพพื้นที่ คุณภาพ ผลผลิตและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและลดความเสี่ยงนักลงทุนในระยะแรก รัฐบาลไทยจะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้านให้ครอบคลุมเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงขยายผลในการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในพื้นที่ที่เหมาะสม ต่อไป

แนวทางการดําเนินการ

ระยะสั้น : ส่งเสริมการพัฒนา Contract Farming บริเวณชายแดนให้เป็นระบบและสร้างโอกาสในการขยายฐานการลงทุนในพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้าน

(1) การยกเว้นภาษี (ภาษี 0 % ) ภายใต้กรอบ AISP ให้เกิดผลทางปฏิบัติ พิจารณายกเว้นภาษีเพิ่มเติมกรณีพืชนําเข้าไม่ได้อยู่ในกลุ่มพืชเป้าหมาย ตลอดจนปรับแก้ กฎ ระเบียบ เพื่อให้จังหวัดดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(2) จัดตั้งคณะทํางานระดับจังหวัด สนับสนุนการดําเนินการทั้งระบบตั้งแต่จัดทําแผนการลงทุน คัดเลือก/รับสมัครผู้ประกอบการ ควบคุมการรับซื้อ รวบรวมผลผลิต และประสานงานหน่วยงานดําเนินการ อํานวยความสะดวกผ่านแดน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการสนับสนุนปัจจัยการ ผลิตในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดผลทางปฏิบัติ

(3) การเจรจาทําความตกลงพื้นที่เป้าหมาย โดยดําเนินการควบคู่ทั้งในระดับจังหวัดและระดับรัฐบาล (G-to-G) เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนา พื้นที่เพื่อรองรับการลงทุน โดยไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน

(4) จัดทําสัญญา Contract Farming ระหว่างเอกชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้การเห็นชอบของรัฐบาล 2 ประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ ประสานจังหวัดและนําเอกชนเข้าทําสัญญา Contract Farming ระหว่างเอกชนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการคุ้มครองการลงทุน การอํานวยความสะดวกผ่านแดน และการสนับสนุนแรงงาน

(5) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการยกระดับคุณภาพการผลิต เร่งดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการภายใต้โครงการพัฒนา ระบบผลิตพืชไร่โดยจัดทําแปลงสาธิตและฝึกอบรมเกษตรกรภายใน 2 ปี และขยายการสํารวจ/วิเคราะห์พื้นที่ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่รัฐบาลประเทศ เพื่อนบ้านเสนอให้พิจารณา

ระยะยาว: ขยายการลงทุนธุรกิจภาคเกษตรเชื่อมโยงระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และ ลดการนําเข้าพืชเป้าหมายจากประเทศที่สาม สนับสนุนภาคเอกชนรายใหญ่ลงทุน Contract Farming ในพื้นที่ตอนในประเทศเพื่อนบ้าน และขยายผลการเข้าลงทุนธุรกิจต่อเนื่องทางการเกษตรในประเทศ เพื่อนบ้าน

..................................................



[1] อาจารย์วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุลและอาจารย์สิทธิพร ภู่นริศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

[2]  สำนักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ,การเพิ่มมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนภายใต้ Contract Farming,พฤษภาคม 2548,[Online]http://www.dtn.moc.go.th/web/8/55/628/629/Contract%20Farming.asp?G_id=629&f_id=4728และนายสัตวแพทย์ ธวัชชัย สันติกุล, Contract Farming วิธีทำธุรกิจปศุสัตว์แบบประกันราคา,[Online] http://www.ismed.or.th/knowledge/showcontent.php?id=2036

[3] อ้างแล้ว.

หมายเลขบันทึก: 291182เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เกรียงไกร ขาวปลอด

อ่านง่าย เข้าใจง่าย ชอบมากครับ ขอบคุณทีแบ่งปันความรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท