Nina
นางสาวอภิญญา อุดมพรเกิดผล

การวัดแววความสามารถทางด้านภาษาของนักเรียนที่เราสอน


การวัดแววความสามารถเด็กทางด้านภาษาทำให้เราสามารเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางด้านภาษาของเด็กที่เราสอนและพัฒนาการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของเด็กแต่ละคน

ประสบการณ์จากการอ่านหนังสือคู่มือพัฒนาการเรียนรู้ของสมองตามหลักพหุปัญญา

เชื่อเถอะ!ว่าหนูฉลาดกว่าที่คิด

เขียนโดย :Thomas  Armstrong PH.D.

แปลโดย: พีรณา  ริกุลสุรกาน

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดิฉันได้รับเป็นของขวัญวันเกิด  หนังสือเล่มนี้หนา

เหมือนกันแต่จะสรุปใจความสั้นให้อ่านง่ายๆนะค่ะ     ซึ่งจะช่วยให้ครูทุกคนสามารถ

สำรวจแววฉลาดของเด็กๆและรู้จักปัญญาทั้ง 8 ด้าน

1.Word   Smart   ปัญญาด้านภาษา

   เราสามารถวัดแววเด็กที่มีความสามารถทางด้านภาษาได้โดยสร้างแบบทดสอบให้กับเด็กนักเรียนของตนเองได้ดังนี้

แบบทดสอบ

        เด็กๆ ลองถามตัวเองซิว่า  มีคุณสมบัติต่อไปนี้หรือเปล่า

-         ชอบอ่านหนังสือ

-         ชอบเล่าเรื่อง

-         ชอบเขียนเรื่องหรือแต่งกลอน

-         ชอบเรียนภาษาต่างประเทศ

-         รู้คำศัพท์มากมาย

-         สะกดคำเก่ง

-         ชอบเขียนจดหมายหรืออีเมล

-         ชอบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

-         จำชื่อหรือข้อเท็จจริงต่างๆได้แม่นยำ

-         ชอบเล่นเกมคำศัพท์

-         ชอบค้นคว้าและอ่านเรื่องที่ตนเองสนใจ

-         ชอบเล่นคำ เช่น คำผวน คำแผลง หรือคำคล้องจอง

ถ้าเด็กๆมีข้อใดข้อหนึ่งล่ะก็    ถือว่าเด็กๆเป็นผู้ที่ปัญญาด้านภาษา  แล้วล่ะ

 

 

 

ปัญญาด้านภาษาคืออะไร

หากเด็กๆ ชอบภาษา ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน เขียน หรือพูด สามารถจับวิธีการออกเสียง

จับความหมาย และวิธีการใช้ภาษาได้ดี ชอบเล่นคำหรือคิดค้นเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ขึ้นเอง นั่นแสดงว่าเด็กๆมีปัญญาด้านภาษา ความสามารถพิเศษนี้ สามารถแสดงออกได้ด้วยการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สะกดคำได้คล่อง เป็นหนอนหนังสือตัวยง เป็นนักเล่านิทานฝีปากเอก เป็นนักโต้วาทีฝีปากกล้า หรือเป็นนักเรียนภาษาคนเก่ง

ปัญญาด้านภาษามีประโยชน์อย่างไร

-         ช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยการพูดและการเขียน

-         ช่วยให้เด็กสามารถเรียนหนังสือได้ดี เพราะกิจกรรมที่โรงเรียนล้วนต้องใช้

ปัญญาด้านภาษาทั้งสิ้น เช่น อ่าน เขียน สะกดคำ ท่องจำบทเรียน

รายงานหน้าชั้น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในชั้นเรียน

-         ช่วยให้เด็กๆสามารถท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆพบปะผู้คนและค้นพบสิ่งแปลกใหม่

ได้ด้วยการอ่านหนังสือ

ภาษาพูด

                ผู้มีปัญญาด้านภาษาคือผู้ที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี เด็กทุกคนต้องใช้ทักษะ

ทางภาษาทุกวัน   แม้เด็กบางคนจะอ่านหรือเขียนหนังสือไม่คล่อง ก็ยังต้องใช้ภาษาพูด

                รู้หรือไม่ว่า

                แม้ว่าเด็กๆ อาจพูดตะกุกตะกักแต่ยังสามารถเป็นนักพูด นักเล่านิทาน หรือนักแสดงที่ดีได้ เช่นคนดังอย่าง  วินส์ตัน     เชอร์ชิลล์ (Winston  Churchill)  ผู้นำของประเทศอังกฤษ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ถ้าเด็กกลัวการแสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนหมู่มากล่ะก็…..

-         ฟังว่าคนอื่นพูดอะไรบ้าง

-         หาโอกาสฝึกพูดบ่อยๆพยายามฝึกพูดต่อหน้าเพื่อนทุกๆวัน เด็กๆไม่ต้องทำได้ภายในครั้งเดียวหรอก

-         ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรขณะที่เด็กๆกำลังพูด

 

 

ถ้าเด็กๆ กลัวการสอบปากเปล่า หรือการออกไปพูดหน้าชั้น  ล่ะก็..........

-         หายใจเข้าลึกๆ

-         พูดให้ช้าและชัด

-         ซ้อมพูดต่อหน้าเพื่อนสนิทหรือคุณพ่อคุณแม่

-         ขีดเส้นเน้นข้อความสำคัญในโพย หรือฝึกฝนจนไม่ต้องดูโพยก็ได้

ภาษาเขียน

ลองคิดดูสิค่ะว่าการอ่านเป็นสิ่งมหัศจรรย์แค่ไหน ตัวหนังสือ ก็เป็นเพียงน้ำ

หมึกที่หยดลงบนกระดาษเท่านั้น แต่ทำไมเราถึงเข้าใจหยดหมึกเหล่านี้ได้ อย่างคำว่า แมวเป็นเพียงน้ำหมึก 3 หยดที่มีรูปร่างต่างกัน แต่เด็กๆ กลับอ่านออกแถมยังอาจทำให้นึกถึงแมว

ที่บ้านหรือแมวตัวอื่นๆที่เคยเห็นได้ด้วย

ความสามารถในการอ่านเป็นประตูเปิดสู่โลกแห่งการเรียนรู้และจินตนาการ

ไม่ว่าเด็กๆ จะนอนอยู่บนโซฟา หรือนั่งอยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือ เด็กๆก็สามารถเดินทางเข้า

สู่โลกอียิปต์โบราณ ขี่จรวดออกไปสำรวจอวกาศ

                                หนังสือที่เด็กชอบอ่านที่สุด คงจะเป็นของ เจ เคโรลลิ่ง โรอัล ดาห์ล(หรือนักเขียนไทยอย่าง ปราบดา หยุ่น ประภัสสร เสวิกุล)

                                การอ่านแบบเรียนที่ครูแจกให้ หรืออ่านหนังสือนอกเวลา สนุกบ้าง ไม่สนุกบ้างนั้น เด็กจะรีบอ่านให้จบเร็วๆเพื่อให้ได้ข้อมูล ซึ่งเราเรียกว่า  การอ่านจับใจความนั่นเอง

                                การอ่านสำรวจ(Inspectional Reading) เป็นการอ่านเพื่อดึงคำสำคัญๆหรือประโยคใจความของเรื่อง (ซึ่งส่วนมากจะเป็นประโยคแรกของย่อหน้า)

                รู้หรือไม่ว่า

                                การอ่านเพื่อความเพลิดเพลินหรือการอ่านเล่นนั้น ในภาษาอังกฤษใช้ คำว่า

                “ Ludic  reading ” ludic อ่านว่า ลู-ดิก มาจากคำว่า ludere ในภาษาลาติน

         แปลว่า เล่น

                   สรุปแล้วถ้าเราต้องการพัฒนาเด็กทางด้านการอ่านนั้นควรให้เด็กเล่านิทานและเลียนเสียงของตัวละครในนิทาน และเล่นบทบาทตามจินตนาการของเด็กๆ

          การใช้ถ้อยคำในการเขียน

                   การสร้างจินตนาการในการเขียน

          1.ให้เด็กเขียนอะไรก็ได้ติดต่อกันซัก  5  นาที (โดยไม่ต้องกังวลถึงหลักไวยากรณ์ การสะกดคำ เพราะสามารกลับมาอ่านและแก้ไขได้)

                    2. วางมือจากงานทุกอย่าง แล้วใช้เวลาคิดสัก 2-3 นาที ไม่จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องใด คิดเรื่องอะไรก็ได้   พอครบ 2-3 นาทีให้หยุดคิด แล้วมาพิจารณาความคิดที่ก้องอยู่ในหัว นึกดูว่าเสียงนั้นมาจากตัวเองหรือมาจากผู้อื่น   แล้วเด็กๆ   สามารถจินตนาการเห็นภาพ หรือรู้สึกอย่างไรบ้างหรือเปล่า จากนั้นลงมือเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ยิน ภาพในจินตนาการ หรือความรู้สึกนั้น

                   การเป็นนักเขียนก็เหมือนนักแสดงที่ต้องการความคิดจากคนรอบข้าง การเป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยพัฒนาความคิดและปรับปรุงงานเขียนๆให้ดีขึ้น

                   ความสามารถอย่างอื่นที่บ่งบอกถึงปัญญาด้านภาษา

                   แค่เด็กๆสนุกกับถ้อยคำสั้นๆก็ถือว่าเป็นผู้มีปัญญาด้านภาษาแล้ว ถ้าเด็กชอบสะสมคำพูดเก๋ๆ ชอบค้นคว้าหาคำแปลกใหม่ที่ไม่เคยรู้ หรือชอบทำให้ผู้อื่นประทับใจด้วยสำนวนต่างๆ น่าจะลองเล่นเกม เกมค้นคำ (Word Archeology)

                   เกมค้นคำ เป็นเกมที่สนุกและเด็กๆ จะได้เล่นสนุก ไปกับเสียงของคำด้วย โดยอาจลองเล่นคำผวน เล่นทายคำหรือเล่นคำพ้องเสียง ลองอ่านกลอนตลกๆออกมาดังๆหรือทำท่าทางประกอบจากเรื่องที่เขียนขึ้นเอง หรือคิดท่าทางที่เป็นรหัสลับของหมู่ขึ้นมา

ก็ได้

                   รู้หรือไม่ว่า

                   นักเขียนนวนิยายแนวสืบสวนชื่อดังอากาธา คริสตี้ (Agatha Christie)

ก็มีปัญหาเรื่องการใช้ไวยากรณ์    แต่ปัจจุบันงานเขียนของเธอกว่า 5 ร้อยล้านเล่มแพร่หลายทั่วโลก

                   รู้หรือไม่ว่า

                   คำที่ยาวที่สุดในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ คือคำว่าอะไร ในพจนานุกรมเล่มหนึ่งบอกว่า คำนั้น คือ

supercalifragilisticexpialidocious

เป็นคำศัพท์จากวรรณกรรมเด็กเรื่อง แมรี่  ป๊อปปินส์ เรื่องราวของพี่เลี้ยงเด็ก

ที่ลงมาจากสวรรค์ และมีเวทมนตร์ แต่งโดย พี แอล ทราเวอร์ส (P.L.Travers)

ส่วนพจนานุกรทางการแพทย์บอกว่า ชื่อโรค

pneunomoultramicroscopicsilicovolcanoconiosis

เป็นคำที่ยาวที่สุด

 

 

ชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุด คือLlanfairpwllgwyngyllgogerychwyrndrobwllllantysiliogogogoch

เป็นชื่อหมู่บ้านในแคว้นเวลส์ ประเทศอังกฤษ

พัฒนาปัญญาได้ด้วยวิธีสนุกๆ

1.คิดอะไรได้ รีบจดลงสมุดทันที  พกสมุดโน้ตหรือเครื่องบันทึกเสียงเล็กๆไว้

บันทึกความคิดที่ผุดขึ้นระหว่างวัน

2.ให้เด็กอ่านเรื่องที่เด็กๆสนใจ จะเป็นเรื่องอะไรก็มีประโยชน์ทั้งนั้น

3.เขียนบันทึกประจำวัน

4.เข้าห้องสมุด

5.ค้นหาคำศัพท์ใหม่ๆในพจนานุกรม แล้วจดเอาไว้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

   แล้วเด็กๆ จะรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว

6. กำหนดช่วงเวลาเล่านิทานภายในบ้าน  จะเล่านิทานอะไรก็ได้

 

หมายเลขบันทึก: 290793เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 07:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท