วิถี...ความเชื่อ


บางครั้งบางทีความเชื่อก็ยากที่อธิบายด้วยเหตุและผลทางวิทยาศาตร์

       สืบเนื่องจากเรื่อง "ไม่พูดไม่เล่าไม่ได้หรอก...งานบั้งไฟยโสธร"...ซึ่งเดิมทีดิฉันคิดว่าจะนำมาเล่าเมื่อเดินทางกลับไปถึงบ้าน...เพราะด้วยส่วนตัวก็ไม่ทราบในข้อมูลที่ลงรายละเอียดที่เป็นความรู้ฝังลึกของชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่อง "ภูมิปัญญา" ในการทำบั้งไฟนั้นเขาทำอย่างไร แต่หากเมื่อได้เข้าไปเรียนรู้ ก็คิดว่าจะได้ทราบในส่วนต่างๆ แต่ที่เป็นเกร็ดจริงๆ คงต้องร่อนเอาตามภูมิปัญญาและประสบการณ์เดิมของตนเท่าที่มี เป็นที่น่าเสียดายหากว่าจะไม่มีการบันทึกเก็บไว้ เพราะปัจจุบันสภาพเมืองก็เปลี่ยนไป คนก็เปลี่ยนไป คนเก่าๆที่รู้เรื่องเหล่านี้ดีที่เป็นคนท้องถิ่นจริงๆ ก็เหลือเพียงไม่กี่ท่าน...

       หากว่าไปแล้วประเพณีบุญบั้งไฟนี้ ก็เป็นประเพณีที่มาจากความคิดความเชื่อของคนในท้องถิ่นในเรื่อง การขอฝน เมื่อฤดูแล้งผ่านไป เพราะสภาพเมื่อก่อนอิสานแล้งนั้น คือ แล้งจริงๆ แล้งไม่มีน้ำ น้ำในบ่อในบึงก็ไม่มี แห้งขอด สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดังนั้นเมื่อเริ่มจะเข้าสู่หน้าฝน (ฤดูฝน) ชาวบ้านก็เริ่มตระเตรียมวิถีชีวิตเพื่อต้อนรับฝนที่กำลังมาถึง  จากฐานความเชื่อเหล่านี้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นชุมชน จนเแปรเปลี่ยนเป็นประเพณีวัฒนธรรม...ที่มีการสืบทอดต่อกันมา จนเราคนเมืองยศ(ชื่อเดิมของจังหวัดยโสธร)ถือว่าเป็นงานบุญที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วประเพณีนี้มีทำอยู่แทบทุกพื้นที่จังหวัดในภาคอิสาน หากแต่เพียง จ.ยโสธร ประกาศนำเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเรื่องบุญบั้งไฟ ตอนนี้แม้แต่จังหวัดอุดรธานีเองก็เริ่มจัดเป็นงานใหญ่พอๆ กับจังหวัดยโสธร และตามพื้นที่ท้องถิ่นของจังหวัดต่างๆ ในภาคอิสาน ก็ยังคงมีการละเล่นประเพณีนี้อยู่ดังเดิม...

       เมื่อถึงงานบุญเดือนหกนี้ คนทุกเพศทุกวัยจะร่วมการละเล่นประเพณีกัน หากใครมาช่วงเทศกาลนี้จะเห็นว่า แม้ในตลาดก็จะเงียบๆ เพราะพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นคนพื้นเพจริงๆ เขาจะไม่ค้าขาย จะหยุดงานและมาร่วมสนุกสนาน สิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้พบเจอในบริบทบ้านตนเอง คือ คนยโสธรค่อนข้างเป็นสนุกสนาน ไม่ค่อยซีเรียสกับชีวิตว่าจะต้องร่ำรวยรีบเร่งหาเงิน เมื่อมีงานบุญ ก็มีจริงๆ ไม่ได้คิดเลยว่าตนเองจะขาดรายได้อะไร แต่ถ้าหากไม่เข้าร่วมด้วนนี่สิ เขาจะรู้สึกผิด...ต่อความรู้สึกที่มีต่อท้องถิ่น (แต่รุ่นหลังๆ ก็เริ่มเปลี่ยนมุมมองไปตามยุคสมัยไปมากแล้ว) ในครอบครัวหนึ่งที่มีการอยู่รวมกันพ่อแม่ลูก ปู่-ย่า ตา-ยาย ต่างๆ นี้เขาจะมาร่วมงานกันหมด วันที่เขาเหล่านี้สนุกสนานกันมาก คือ เป็นวันเซิ้ง กับวันจุด(บั้งไฟขึ้นสูง) มีการเซิ้ง...ฟ้อน..ไปตามบ้านต่างๆ และในวันจุดนั้น บั้งไฟขึ้นสูงคนจะทึ่งว่ามีกลเม็ดเทคนิคอย่างไร ถึงทำได้ดีขนาดนั้น แต่หากว่าบั้งไฟใครไม่ขึ้นหรือแตกก่อน เจ้าของบั้งไฟคณะนั้นก็ถูกโยนลงตม(ขี้โคลน) เป็นที่สนุกสนาน ภาพเหล่านี้ในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็น หากวันจุดคนทำบั้งไฟใครไม่เปลื้อนโคลนเขาก็ถือว่าไม่ได้มางานจริง

       ที่จังหวัดยโสธร ที่จุดบั้งไฟจะอยู่นอกเมือง(ชานเมือง) เป็นสวนสาธารณะพญาแถน เป็นที่จุดบั้งไฟที่เดิมๆ จะมีทุ่งนาล้อมรอบ และเป็นที่ปลอดภัย หากบั้งไฟตก หรือแตกจะไม่เกิดอันตรายมาก...แต่เมื่อสังคมเจริญขึ้น..จังหวัดมีความเป็นสภาพสังคมเมืองที่เจริญขึ้นทางด้ายกายภาพ บ้านเมืองขยายออก ตึกรามบ้านช่องมีมาก คนเริ่มอยู่หนาแน่นขึ้น ที่สวนพญาแถนเอง..จากรายล้อมด้วยทุ่งนา ก็เริ่มจะลดลง อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ก็ย่อมเสี่ยงมากขึ้น...ครั้งหนึ่งเคยมีกระแสว่าจะย้ายที่จุดบั้งไฟไปที่ใหม่ คน"บั้งไฟ-เมืองยศ"ต่างก็ไม่เห็นด้วยเพราะเคยทำที่นี่มาหลายชั่วปีแล้ว...ความเชื่อของเขาเหล่านี้เชื่อว่า หากไปทำที่อื่นต้องผิดต่อประเพณีแน่ เหมือนเช่นปีนี้หลายคนก็มีความกังวลและคอยดูว่า "วันเซิ้ง" เดิมที คือ วันแรกของงาน ต้องงดไปเพราะตรงกับวันวิสาขบูชาโลก ทางจังหวัดจึงไม่อยากให้มีการรื่นเริงมาก จึงรวบมาเป็นวันเดียวกับวันแห่ คนพื้นที่ก็กังวลว่าจะมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นหรือไม่เหมือนเคยเกิดครั้งก่อนเมื่อหลายปีแล้ว... อะไรก็ตามที่ทำผิดไปจากเดิม"ความเชื่อ"คนท้องถิ่นก็มักจะกังวลไปตามความเชื่อนั้น...เพราะบางครั้งบางทีความเชื่อก็ยากที่อธิบายด้วยเหตุและผลทางวิทยาศาตร์ แต่บางความเชื่อก็อธิบายได้ไม่แปลก แต่จะแปลกมากหากเราสามารถไปปรับเปลี่ยนความเชื่อของคนในท้องถิ่นได้ในเวลาอันน้อยนิด เพราะจริงๆ แล้วยากเหลือเกิน เพราะความเชื่อเหล่านี้สั่งสมมานานหลายสิบๆปีแล้ว...

 

หมายเลขบันทึก: 28989เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ปีนี้เหงาไปจริงๆครับ

    แล้วเมื่อไหร่ จะกลับอีสานบ้านเกิดคะ....มาเบิ่งบุญบั้งไฟด้วยกันเด้อคะเด้อ.....

...โอ้หะโอ..หะโอหะโอ.....วิ้ววววว.....

อาจารย์"วรชัย"

ความเสื่อมถอยแห่ง"วัฒนธรรม"...เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งนะคะ

คุณ"thaibannok"

เลือดไทย...ใจ(หญิง)อิสานจังเลยคะ..โหฮิ้ว...

กิ้วๆ ถึงอิสานแล้ว...จะรีบติดต่อนะคะ

Dr.Thaibannok...สอบสัมภาษณ์นักศึกษเสร็จก็พักผ่อนบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท